ข่าว

"บุณยฤทธิ์" เผย งบฟื้นฟูเกษตรกร 900 ล้านบาท พร้อมเตรียมแก้ระเบียบกระทรวงที่เกี่ยวข้องพักเงินต้น - ดอกเบี้ย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"บุณยฤทธิ์" ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เผย งบฟื้นฟูเกษตรกร 900 ล้านบาท พร้อมเตรียมแก้ระเบียบกระทรวงที่เกี่ยวข้องพักเงินต้น - ดอกเบี้ย เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมาย

          นายบุญฤทธิ์ กัลยณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่ารัฐบาลมีมาตรการเยียวยาเกษตรกรทั่วประเทศรายละ 5,000 บาทต่อเดือน ซึ่งจะเริ่มต้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคมซึ่งเป็นการช่วยเป็นการทั่วไป แต่เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ที่ผ่านมา การประชุมกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร มีมติร่วมกันในหลักการจัดให้มีการพักชําระหนี้เกษตรกร ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย มีผลต่อเกษตรกรที่เป็นลูกหนี้กองทุนฟื้นฟูและองค์กรเกษตรกรที่เป็นลูกหนี้กองทุนฟื้นฟูวงเงิน 900 ล้านบาท โดยขณะนี้มี กองทุนฟื้นฟูองค์กรเกษตรกร ที่จะต้องมีการแก้ไขระเบียบที่เกี่ยวข้องทั้งเรื่องการขยายเวลาของการชำระหนี้เนื่องจากในระบบที่มีอยู่ไม่ได้มีการพูดถึงเรื่องการพักชำระหนี้ โดยจะนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการให้เร็วที่สุด เพื่อระเบียบดังกล่าวจะได้สอดคล้องกับกฎหมายที่มีอยู่

         ส่วนโครงการประกันรายได้เกษตรกร ซึ่งโครงการดังกล่าวไม่ใช่การประกันราคา และไม่ใช่เป็นการสั่งให้ราคาสินค้าเกษตรขึ้นหรือลงเท่าใด แต่เป็นวิธีคิดของรัฐบาลที่คิดให้เกษตรกรต้องขายผลผลิตในราคาเท่าใด จึงให้เพียงพอต่อการดำรงชีพ ซึ่งผลผลิตเก็บเกี่ยวยังคงเป็นของเกษตรกรอยู่ และดำเนินการไปแล้วในสินค้าอยู่ 5 ชนิด ประกอบด้วยข้าว ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และยางพารา  และสินค้าทั้ง 5 ชนิดมีราคาที่ปรับตัวดีขึ้นทั้งหมดเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงปลายปีที่ผ่านมา ส่วนสาเหตุที่ราคาปั๊มน้ำมันนั้นปรับราคาลงน่าจะเดินกุมภาพันธ์เป็นต้นมาเป็นช่วงที่ปั๊มน้ำมันออกสู่ท้องตลาดเป็นจำนวนมาก ผนวกกับการจำกัดการเดินทางซึ่งทำให้การใช้ปาล์มน้ำมัน ในส่วนของพลังงานนั้นลดน้อยลง แต่ก็มีสัญญาณที่ดีว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตจะมีการซื้อน้ำมันปาล์มมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าเพื่อช่วยการรักษาเสถียรภาพราคาของปั๊มน้ำมันซึ่งยังเหลืออีกอยู่ในการดำเนินการอีก 30,000 ตัน พร้อมกับคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิต สามารถรับซื้อผลปาล์มได้อีก 100,000 ตัน

         ทั้งนี้ยังมีการร่วมมือขายสินค้าทางการเกษตรผ่านแพลทฟอร์มออนไลน์ขนาดใหญ่ โดยบริษัทไปรษณีย์ไทย จะเข้าไปรับสินค้าจากเกษตรกรถึงหน้าสวน นอกจากนั้นยังมีการจัดพื้นที่ภายในสนามบินรวทถึงปั๊มจ้ำมัน เพื่อให้เกษตรกรได้จำหน่ายตามฤดูกาล เนื่องจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด -19 ทำให้สินค้าเกษตรไม่สามารถส่งออกต่างประเทศได้ แต่หากมีการทำการบินได้ตามปกติก็จะสามารถระบายสินค้าทางการเกษตรได้เพิ่มมากขึ้น 

 

         ส่วนโครงการแลกเปลี่ยนสินค้าเกษตร เป็นแนวคิดที่ผ่านกลไกพาณิชย์จังหวัด ทำหน้าที่เป็นเซลล์แมน เพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าการเกษตรในต่างพื้นที่ ซึ่งจะทำให้เกิดมูลค่าทางการค้ามากขึ้น มากกว่าการค้าปกติ ผ่านการใช้หลักการประมาณการของราคาสินค้า โดยมูลค่าเพิ่มขึ้นกว่า 900 ล้านบาท

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ