ข่าว

เพิ่มประชากรไทยเพิ่มกำลังพัฒนาประเทศ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

แนะไทยเพิ่มจำนวนประชากร เพิ่มกำลังหลักพัฒนาประเทศ

นายสามารถ เจนชัยจิตรวนิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงยุติธรรม มองการเพิ่มศักยภาพกำลังหลักในการพัฒนาประเทศในอนาคต จากประชากรซึ่งถือเป็นทรัพย์ยาการหลักของประเทศ โดยยกเหตุผลความน่าจะเป็นจากสถิติที่เกิดขึ้นจากอดีตสู่ปัจจุบัน

เกี่ยวกับเรื่องนี้ นายสามารถ บอกว่า วันนี้ขอพูดถึงเรื่องอาเซียนหน่อย เดี๋ยวจะตก trend แต่ถ้าจะพูดคงต้องพูดถึงประชากร เพราะถือเป็นกำลังหลักหรือทรัพยากรหลักของประเทศในแต่ละประเทศ ในการพัฒนาประเทศของตนเองให้ก้าวไกล 

เพิ่มประชากรไทยเพิ่มกำลังพัฒนาประเทศ

ถ้าเรามาพิจารณาจากตัวเลขสถิติจำนวนประชากรไทยล่าสุดของ Worldometers พบว่า จำนวนประชากรไทยขณะนี้อยู่ที่ 69,310,827* คน ซึ่งคิดเป็น 0.9% ของจำนวนประชากรโลก นับตั้งแต่ช่วงต้นปี 2019 ที่ผ่านมา จำนวนประชากรไทยเพิ่มขึ้นเพียง 0.18% น้อยที่สุดในอาเซียน ปัจจุบันไทยรั้งอันดับที่ 20 ประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลก และครองอันดับที่ 4 ในแถบอาเซียน 

 

 โดยมีการคาดการณ์ว่า ประชากรไทยจะเพิ่มขึ้นสูงสุดเกือบ 70 ล้านคน (69,685,486 คน) ในปี คศ. 2025 ก่อนที่จะมีแนวโน้มลดลงเหลือ 65,372,345 คน ในปี คศ. 2050 หล่นไปอยู่อันดับที่ 31 ของโลก 

 

 โดยปัจจุบันอินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในอาเซียน (ราว 269 ล้านคน) ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ (ราว 108 ล้านคน) และเวียดนาม (ราว 97 ล้านคน) ในขณะที่ลาว (ราว 7 ล้านคน) สิงคโปร์ (ราว 5.8 ล้านคน) และบรูไน (ราว 439,500 คน) ถือเป็น 3 ประเทศที่มีประชากรน้อยที่สุดในย่านนี้

 

 รายงานจากหน่วยงานสหประชาชาติเมื่อกลางเดือนที่ผ่านมาระบุ จำนวนประชากรโลกจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 9.7 พันล้านคนภายในปี 2050 คาดราวปี 2027 อินเดียเตรียมแซงหน้าจีนขึ้นครองบัลลังก์แชมป์ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก

 

 หมายเหตุ: เป็นจำนวนตัวเลขล่าสุดเมื่อ 15 กรกฎาคม 2019 เวลา 09.00 น.

 

 อ้างอิง:

 

www.worldometers.info/world-population/thailand-population/

 

www.un.org/development/desa/en/news/population/world-population-prospects-2019.html

 

ดังนั้นผมขอยกเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีตที่จะเคยเพิ่มประชากรแล้ว และทำสำเร็จมาแล้ว

เพิ่มประชากรไทยเพิ่มกำลังพัฒนาประเทศ

ประเทศไทยเราเคยมีองค์การระดับชาติองค์การหนึ่ง สำหรับทำหน้าที่ส่งเสริมประชาชนให้แต่งงานกันมากขึ้น มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “องค์การส่งเสริมการสมรส” จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2485 หรือเมื่อ 74 ปีที่แล้ว ในยุคที่ จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี เหตุผลของ จอมพล ป. ก็คือประเทศไทยของเรามีประชากรน้อยเกินไป คือมีเพียง 18 ล้านคน ใน พ.ศ. ดังกล่าวจึงไม่มีศักยภาพพอที่จะเป็นประเทศมหาอำนาจได้ เพราะการจะเป็นประเทศมหาอำนาจได้นั้นจะต้องมีประชากร (สมัยโน้นใช้คำว่าพลเมือง) 30-40 ล้านคน ขึ้นไปเป็นอย่างน้อย จอมพล ป. ซึ่งมีความประสงค์อย่างยิ่งยวดที่จะเห็นประเทศไทยเป็นประเทศมหาอำนาจจึงสั่งการให้มีการจัดตั้งองค์การนี้ขึ้น เพื่อชักชวนประชาชนให้แต่งงานกันมากขึ้น อันจะเป็นหนทางหนึ่งที่จะเพิ่มจำนวนพลเมืองไทยให้ก้าวไปสู่หลัก 30-40 ล้านได้อย่างรวดเร็ว

 

องค์การส่งเสริมการสมรส มีปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน อธิบดีกรมสาธารณสุขเป็นรองประธาน อธิบดีกรมการแพทย์ อธิบดีกรม ประชาสงเคราะห์ ฯลฯ เป็นกรรมการ ในการประชุมครั้งแรก ที่ประชุมมีความเห็นว่าในการเพิ่มพลเมืองนั้นจะต้องให้มีคนเกิดมาก แต่ตายน้อยและการที่จะให้คนเกิดมากก็ต้อง ส่งเสริมให้คนแต่งงานกันมากขึ้น เช่น

 

ที่ประชุมพบว่าอุปสรรคของการแต่งงานที่สำคัญก็คือ การเรียกสินสอดทองหมั้น ฉะนั้นควรหาทางแนะให้เลิกประเพณีนี้เสีย

 

อีกประการหนึ่งการแต่งงานต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง ควรจัดรวมกัน หลายๆ คู่เพื่อการประหยัด เช่น การสมรสหมู่ เป็นต้น

 

นอกนั้นยังพบอีกว่าชายหญิงในยุค พ.ศ.2485 ยังขาดการสมาคมระหว่างเพศ ควรจัดให้หนุ่มสาวพบปะสมาคมกัน

ที่ประชุมมีมติให้ส่งเสริมการจัดงานให้เห็นประโยชน์ของการแต่งงาน ด้วยการโฆษณาทางวิทยุ หนังสือพิมพ์ เพลง ละครและโปสเตอร์ ทำแบบเดียวกับแผนประชาสัมพันธ์เรื่องใดเรื่องหนึ่งในยุคนี้เป๊ะเลย

 

นพ.พูน ไวทยการ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานองค์การได้เขียนบทความออกเผยแพร่ชักชวนประชาชนให้ทำการสมรสยาวเหยียดมีการอ้างอิงตัวเลข อ้างอิงหลักวิชาการ คล้ายๆ กับบทความทางวิชาการในยุคปัจจุบันเลยทีเดียว กลุ่มเป้าหมายที่องค์การส่งเสริมการสมรสจะส่งเสริมชักชวน ได้แก่ คนโสดทั่วราชอาณาจักรทั้ง 2 เพศที่มีถึง 1,895,675 คน จากการสำรวจ สำมะโนครัวเมื่อ พ.ศ.2480

 

ท่านประธานองค์การระบุด้วยว่า เมื่อทำการสมรสหรือมีเรือนแล้ว แต่ละคู่ควรมีลูก 4 คน เพื่อให้ดำรงชาติแทนคนโสด แทนคนเป็นหมันหรือคนมีบุตรคนเดียวและแทนผู้มีอายุสั้น ฯลฯ ท่านระบุไว้ในบทความด้วยว่า “ผู้ที่มีลัทธิเห็นแก่ตัวโดยมีบุตรคนเดียว หรือ 2 คนนั้น ชาวเราไม่ควรรับพิจารณาและยึดถือ”

 

นอกจากบทความที่ว่าแล้ว องค์การยังทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งโดยการจัดตั้งสำนักงานสื่อสมรส ขึ้นตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าสำนักงาน จากนั้นก็เชิญผู้ลงทะเบียนมาพบกันในงานที่จังหวัดจัดขึ้น เพื่อนำไปสู่การสมัครรักใคร่และสมรสกันต่อไป ดังเช่นในกรุงเทพฯ มีการจัดงาน “ตักบาตรข้าวสาร” ที่วัดสุทัศนเทพวราราม ในวันที่ 19 ธันวาคม 2486 เพื่อให้หนุ่มสาวได้มีโอกาสพบกันตามวัตถุประสงค์นี้

 

องค์การของจอมพล ป. ประสบความสำเร็จอย่างใหญ่หลวง ประเทศไทยก้าวสู่ยุค “เบบี้บูม” มีประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนเกิดความวิตกว่าจะเร็วเกินไปแล้ว ต้องมาวางแผนครอบครัวเพื่อลดอัตราเพิ่มประชากรกันอย่างขนานใหญ่ เมื่อประมาณ พ.ศ. 2514 หรือ 30 ปีให้หลัง (ปลายแผนพัฒนาฉบับที่ 2) เป็นต้นมา

 

 

ในอดีตเราเคยทำแล้วผมคิดว่าถ้าเราไม่เพิ่มจำนวนประชากรจะทำให้ชนชั้นแรงงานของประเทศขาดหายเพราะตอนนี้อัตราการเกิด กับ อัตราการตายเท่ากัน แปลว่าในอนาคตเราจะขาดเด็กที่จะเติบโตมาทำงาน มาเป็นกำลังหลักในการพัฒนาประเทศ ดังนั้นผมคิดว่าเรื่องนี้ เป็นเรื่องเร่งด่วนอีกเรื่อง ที่รัฐบาลท่านนายกรัฐมนตรีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องมาพิจารณาเรื่องนี้กันอย่างจริงจังเสียที

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ