ข่าว

'ประพันธุ์ คูณมี' ปฏิเสธให้ข่าวสื่อญี่ปุ่น สว.ไม่มีหน้าที่ฟังเสียงประชาชน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

'ประพันธุ์ คูณมี' โต้สื่อโซเชียล ยืนยันไม่เคยให้ข่าวกับ The Japan Times สื่อญี่ปุ่นว่า 'สว.ไม่มีหน้าที่ฟังเสียงประชาชน' แจงรายละเอียดคำให้สัมภาษณ์กับบลูมเบิร์กถึงเหตุผลที่ไม่เลือก 'พิธา ลิ้มเจริญรัตน์' หัวหน้าพรรคก้าวไกล และแคนดิเดตนายกฯ เพราะหมิ่นเหม่เรื่องสถาบัน

 

นายประพันธุ์ คูณมี สมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ประพันธุ์ คูณมี ชี้แจงกรณีสื่อออนไลน์แห่งหนึ่ง (https://www.thaich8.com/news_detail/126346) รายงานข่าวโดยอ้างว่า นายประพันธุ์ได้ให้สัมภาษณ์กับ The Japan Times สื่อจากญี่ปุ่นว่า 'ส.ว.ไม่มีหน้าที่ฟังเสียงประชาชน แม้นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคก้าวไกลจะได้คะแนนถึง 100 ล้านเสียงก็จะไม่โหวตให้ เพราะไม่ชอบ"

 

ประพันธุ์ คูณมี สมาชิกวุฒิสภา ภาพเฟซบุ๊ก ประพันธุ์ คูณมี

 

เนื้อหาที่นายประพันธุ์ คูณมี โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุรายละเอียดว่า "ข่าวดังกล่าว เป็นข่าวปลอมครับ ผมไม่เคยพูดตามข้อความดังกล่าว และไม่เคยให้สัมภาษณ์สำนักข่าวนี้แต่อย่างใด เป็นวิธีสกปรกของพวกด้อมส้ม" 

 

ประพันธุ์ คูณมี โพสต์เฟซบุ๊ก

 

 

นอกจากนั้น คำแปลภาษาไทยเกี่ยวกับเนื้อข่าวที่ Bloomberg รายงานแปลได้ความเป็น ดังนี้.... มิใช่ข้อความตามที่พวกด้อมส้มเอามาเผยแพร่ข้อมูล โดยตัดต่อ และบิดเบือนในโลกโซเชียลให้คนเข้าใจผิดตามที่ปรากฎแต่อย่างใด

 

 

สำหรับเนื้อหาคำแปลภาษาไทยจาก Bloomberg นายประพันธุ์ คูณมี ระบุว่า 

 

"เรื่องที่ท้าทาย พิธา เวลานี้มากที่สุด คือ กรณี 250 วุฒิสมาชิกซึ่งเป็นคณะบุคคลที่ตั้งโดยกลุ่มทหารผู้มีความจงรักภักดีภายหลังการก่อรัฐประหารในปี 2014 (พ.ศ. 2557) คนเหล่านี้จำนวนมากไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของ 'พิธา' ที่ให้มีการลดหย่อนผ่อนโทษ ผู้ที่กระทำความผิดในการวิพากษ์วิจารณ์พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ และดูเหมือนว่าคนเหล่านี้ ไม่ได้ใยดีเลยสักนิดเดียวว่าเขา (พิธา) คือ ผู้ชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงมากที่สุด

 

ประพันธุ์ คูณมี โพสต์เฟซบุ๊ก

 

"มันไม่ใช่หน้าที่ของเราที่จะต้องไปรับฟังเสียงของใครต่อใคร” (คนแปลภาษาไทยแปลเพี้ยนไปครับ เพราะเวลาเรา generalization ว่าเป็น 'คนกลุ่มใหญ่ หรือคนทั่วๆ ไป' เราจะไม่ใช้ the people การใช้คำว่า the people ตามหลักไวยากรณ์หมายถึง เฉพาะคนกลุ่มที่ผู้พูดต้องการจะพูดถึงเท่านั้น)  

 

 

"ร้อยละ 90 ของ สว.ได้ตัดสินใจเรียบร้อยแล้ว ต่อให้คุณมี 100 ล้านเสียง ผมก็จะไม่เลือกคุณ หากเป็นคนที่ผมไม่ชอบ หรือมีคุณสมบัติไม่เหมาะสม" 

 

ประพันธุ์ คูณมี โพสต์เฟซบุ๊ก

 

นอกจากนั้นระบุว่า ความไม่ชัดเจนตรงนี้ส่งผลกระทบไปยังตลาดธุรกิจการค้าของประเทศไทยและนักลงทุนต่างชาติ ดัชนีหุ้นตลาดหลักทรัพย์ของประเทศระส่ำระสายอย่างหนักในปีนี้ ร่วงไปแล้วกว่าร้อยละ 12 และมีทีท่าจะดำดิ่งลงสู่ระดับต่ำสุดนับแต่ปี 2021 (พ.ศ. 2563)

 

(กรุณาอ่านเพิ่มเติม :  การพูดคุยหาข้อตกลงที่ลากยาวจะส่งผลอย่างไรต่อการช่วงชิงกันเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย)

 

 

"พิธาเองลดกระแสความไม่แน่นอนและแสวงหาทางสร้างความมั่นใจให้กับผู้ให้การสนับสนุนว่า อย่างไรแล้วเขาจะต้องได้เป็นผู้นำรัฐบาลในครั้งนี้อย่างแน่นอน การส่งสัญญาณดังกล่าวเห็นได้จากการจัดประชุมหลายครั้งกับนักธุรกิจกลุ่มต่างๆ โดยเขากล่าวถึงระยะเปลี่ยนผ่านของอำนาจรัฐมายังตัวเขา และเรื่องว่าด้วย 'หนึ่งร้อยวันแรกของการทำหน้าที่นายกรัฐมนตรี'

 

 

"พวกเรากำลังทำงานอย่างหนักในการทำลายกำแพง และมีความขมักเขม้นแข็งขันในการทำความเข้าใจกับสองสภา พิธา ได้กล่าวประโยคนี้ที่รัฐสภาฯ เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา 'มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง'

 

 

"เขามั่นใจว่าจะมีเสียงสนับสนุนเพียงพอ เวลานี้เขายังต้องการอีก 64 เสียง เพื่อสนับสนุนให้เขาเป็นนายกรัฐมนตรี

 

 

ดูเหมือนว่า พิธา กำลังสร้างแรงกระเพื่อมและสะท้อนให้เห็นว่า ไม่มีทางที่จะสกัดกั้นไม่ให้เขาเป็นนายกรัฐมนตรีได้ ด้วยความหวังอย่างยิ่งว่า จะเป็นแรงกดดันไปยงบรรดาวุฒิสมาชิกให้หันมาสนับสนุนเขา (เป็นคำกล่าวของ ปีเตอร์ มัฟฟอร์ด จากกลุ่มงานเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และหัวหน้าคณะที่ปรึกษาของ 'ยูเรเซียกรุ๊ป' แต่ดูเหมือนว่ายุทธศาสตร์ที่ใช้ยังห่างไกลความเป็นจริงอีกมาก"

 

 

การอยู่ในฐานะ "ว่าที่นายกรัฐมนตรี" ในขณะนี้ของพิธามีส่วนช่วยกระตุ้นและแรงเสริมให้กับผู้ให้การสนับสนุนพรรคก้าวไกล ซึ่งใช้การกดดันบรรดาวุฒิสมาชิก ผ่านการรณรงค์ออนไลน์ การอภิปรายสาธารณะ และการเดินประท้วงตามท้องถนนเพื่อยืนยันการให้การสนับสนุนของพวกเขาต่อตัว "พิธา" แต่ดูเหมือน "เสียงเรียกร้องเหล่านี้จะไม่ได้ผลเพราะบรรดา สว.ส่วนใหญ่ค่อนข้างเก็บตัวเงียบและไม่ได้ออกมาแสดงความเห็นใดๆ ในที่สาธารณะว่าพวกเขาจะให้การสนับสนุนพิธาหรือไม่อย่างไร

 

 

วุฒิสมาชิกหลายท่านยังคงต่อต้านการเข้ามามีอำนาจของ 'พิธา' ด้วยความเห็นที่ส่วนใหญ่มองไปที่แนวทางจุดยืนของพรรคก้าวไกลที่ต้องการแก้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ในการลดโทษต่อผู้กล่าวหาจาบจ้วงพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์

 

 

บรรดา สว.ไม่เห็นด้วยกับความไม่เคารพสถาบันฯ รวมทั้งแผนการที่จะมีการปฎิรูปและถอนรากถอนโคนปัญหาต่างๆ ในสังคมไทย ทั้งนี้ วุฒิสมาชิก ประพันธ์ (วัย 69 ปี) กล่าวว่า "มันเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้" พิธา ได้ปฎิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว "เขาบอกว่าเขาเพียงพยายามจะปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์และราชวงศ์กับประชาชน"

 

 

ความเห็นของพิธาดังกล่าว ขีดเส้นใต้ให้เห็นถึงความประหลาดพิลึกกึกกือที่ถาโถมเข้าใส่พิธา และเหล่าพรรคร่วมฝ่ายสนับสนุนประชาธิปไตยว่ามีมากแค่ไหน ยิ่งกว่านั้น เมื่อพรรคก้าวไกลได้กล่าวกับพันธมิตรของตัวเองที่อยู่ฝ่ายอนุรักษ์นิยมว่า มีทางเดียวเท่านั้นที่จะชนะได้อย่างเด็ดขาดคือการได้เสียงสนับสนุนจากบรรดา สว. ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

 

 

เรื่องลับๆ ที่ไม่ได้เปิดเผยเป็นการทั่วไป คือ พรรคก้าวไกลได้ส่งบรรดาแกนนำพรรคคนสำคัญให้ติดต่อเข้าหาบรรดาวุฒิสมาชิกโดยตรงเป็นรายบุคคล อีกทั้งยังอาศัยสายสัมพันธ์ในเชิงมิตรภาพส่วนบุคคล ความเป็นเครือญาติ ความใกล้ชิดของบรรดาผู้เกี่ยวข้องให้ช่วยทำให้แนวทางของก้าวไกลประสบความสำเร็จ

 

 

นายพริษฐ์  วัชรสินธุ์ ในฐานะผู้จัดการฝ่ายการรณรงค์ฯ พรรคก้าวไกล ได้กล่าวว่า "เวลานี้เราใช้ทุกวิถีทางที่มีในการติดต่อสื่อสารกับบรรดาวุฒิสมาชิกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ตัวพริษฐ์ฯ เองเป็นอีกคนหนึ่งที่เป็นหนึ่งในคณะเจรจากับบรรดาวุฒิสมาชิก"

 

logoline