ควันหลงการประชุมรัฐสภา เพื่ออภิปรายร่างพระราชบัญญัติการศึกษาชาติ เมื่อศุกร์ที่17 กันยายน 2564 เป็นปมร้อนทางการเมือง เมื่อปรากฏว่าสภาล่ม หลังสมาชิกรัฐสภาอภิปรายฯเสร็จสิ้น แต่ไม่มีการโหวตหรือลงประมติ รับร่างพ.ร.บ.การศึกษา พ.ศ. ตามที่คมชัดลึกออนไลน์ได้ นำเสนอไปบางส่วนนั้น
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- หมอชลน่าน โวย "สภาล่ม" โหวตกฎหมายปฏิรูปไม่ได้ ใครต้องรับผิดชอบ
- หมอชลน่าน ชี้ซักฟอกขยายแผล"ทุจริต" เชื่อส่งผล รมต. หลุดตำแหน่งได้
- ใครเสียค่าโง่ “ประวิตร” ปลุกพลังประชารัฐ สู้พรรคทักษิณ
- พี่น้อง 3 ป.ป่วน “ทักษิณ” สบช่อง 2 ใบทวงคืนอำนาจ
- สงครามยังไม่จบ “ป.ประยุทธ์” อย่าเพิ่งนับศพ 2 รมช.
ล่าสุด ศ.ดร.กนก วงษ์ตระหง่าน รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ สมาชิกรัฐสภา ที่เข้าร่วมประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการศึกษาชาติ ที่ห้องประชุมรัฐสภา เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2564 เปิดเบื้องหลังการไม่ลงมติหรือไม่มีการโหวตเพื่อรับ ร่างพ.ร.บ.การศึกษา ในวาระที่1 ว่า วันนั้นเป็นวันศุกร์มีการประชุมรัฐสภา และมีสมาชิกรัฐสภาอภิปรายฯเป็นจำนวนมากถึง 70 คน แต่ละคน มีเวลา 7 นาทีใช้เวลาประมาณอภิปรายฯนานถึง 10 ชั่วโมง
"ตอนนั้นกลุ่มพวกส.ส. เขาอยากกลับพื้นที่่พบชาวบ้าน เพราะต่างเชื่อมั่นว่าการเลือกตั้งใหม่จะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้"รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว
ทำไมการเลือกตั้งใหม่จะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ ไม่ว่ามองจากมิติไหนก็ตาม เพราะรัฐบาลเหลือวาระปีกว่า แต่หากเกิดอุบัติเหตุทางการเมืองยุบสภา การเลือกตั้งใหม่เกิดขึ้นแน่ ซึ่งทำให้ ส.ส.เขตไม่มีเวลาหาเสียงมากนัก
“เวลาประมาณ 17.00 น. มีข้อมูลทำนองว่าท่านประธานรัฐสภา ได้มีการหารือกับวิปฝ่ายค้าน และวิปฝ่ายรัฐบาลแล้วว่าในการพิจารณาร่างพ.ร.บ.การศึกษา จะไม่มีการลงมติ หรือโหวต
เมื่อมีข่าวออกมาแบบนี้ ทั้งกลุ่ม ส.ส.และกลุ่มส.ว.ก็มีการเช็คข้อมูลกันวุ่นวายไปหมด เมื่อไม่มีการยืนยันจากฝ่ายไหนเลย ส.ส.เขตอยากกลับบ้านกันอยู่แล้ว ก็เดินออกจากห้องประชุมรัฐสภา ส่วนส.ว. ก็กลับบ้านด้วย
เมื่อทั้งส.ส. และส.ว. ต่างพูดกันว่าไม่มีการโหวตกลับไปดูทีวีหรือฟังวิทยุที่บ้านดีกว่าเพราะไม่ต่างกัน แต่นาทีนั้นไม่มีใครรู้ความจริงคืออะไร” ศ.ดร.กนก ระบุ
ต่อมาเมื่อเวลา 19.00 น. สมาชิกรัฐสภาจากพรรคฝ่ายค้าน ลุกขึ้นอภิปรายฯเรียกร้องให้ประธานรัฐสภาขานชื่อสมาชิกลงมติร่าง พ.ร.บ.การศึกษา พ.ศ. เข้าใจเจตนาว่าต้องการให้รัฐสภาตรวจสอบว่า ช่วงเวลานั้นจะมีสมาชิกรัฐสภาท่านไหนยังอยู่ในห้องประชุมหรือไม่
ศ.ดร.กนก กล่าวอีกว่า แต่ประธานรัฐสภา นายชวน หลีกภัย ไม่ได้เล่นไปตามเกมของนักการเมือง เมื่อมารับหน้าที่ต่อจากประธานพรเพชร วิชิตชลชัย จึงสั่งปิดการประชุมแบบไม่ลงมติรับร่างพ.ร.บ.การศึกษา
“ผมเข้าใจท่านชวน หลีกภัย ว่าท่านรักษาภาพลักษณ์ที่ดีของสภาอันทรงเกียรติ ให้เป็นที่พึ่งของสังคมไทยได้ อีกทั้งไม่อยากประจานสมาชิกรัฐสภา แต่ไม่ได้ประนีประนอนเสียทุกครั้ง เพราะก่อนการประชุมรัฐสภาก็ย้ำกับสมาชิกให้รับผิดชอบต่อประชาชน ตามที่ได้รับความไว้วางใจเลือกตั้งเข้ามาเป็นส.ส.”
ศ.ดร.กนก กล่าวอีกว่า เมื่อเปิดสภาฯ วันที่ 1 พฤศจิกายน นี้ ร่างพ.ร.บ.การศึกษา จะต้องกลับมาลงมติเห็นชอบในวาระที่1 จากนั้นก็เป็นขั้นตอนของกรรมาธิการ ต้องไปปรับปรุงแก้ไขตามข้อท้วงติงของสมาชิกรัฐสภา
ซึ่งประเด็นที่มีข้อถกเถียงกันมากแยกเป็น 2 เรื่องใหญ่ คือเรื่องแรก บทบาทของครูควรให้ความสำคัญ รวมถึงโครงสร้างไม่เห็นด้วยที่อำนาจการศึกษาอยู่ที่ผู้ว่าราชการจังหวัด ที่งานล้นมือประชุมปีละครั้งไม่ทันความเปลี่ยนแปลง และมีการเสนอควรจะกลับมาที่เขตพื้นที่การศึกษา
เรื่องที่สอง สมาชิกมีการพูดถึงคุณภาพการศึกษาจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ ไม่ได้อยู่ที่ร่างพ.ร.บ.การศึกษา สิ่งสำคัญคือฝ่ายปฏิบัติหมายถึงกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) จะสามารถนำไปปฏิบัติได้ตรงตามกฏหมายหมายแม่บททางการศึกษานี้หรือไม่ เพราะเจตนากฏหมายแทบทุกฉบับดีอยู่แล้ว อยู่ที่ผู้ใช้จะทำได้หรือไม่
ข่าวที่เกี่ยวข้อง