ข่าว

"จตุพร"จับตาศึกซักฟอก เผยฝ่ายค้านเปลี่ยนยุทธวิธีนำคนพูดจบมาเปิดหัวม้วน เพิ่มตื่นเต้น ปชช.เชื่อ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"จตุพร"จับตาศึกซักฟอก เผยฝ่ายค้านเปลี่ยนยุทธวิธีนำคนพูดจบมาเปิดหัวม้วน เพิ่มตื่นเต้น หวังอภิปรายฯเข้าประเด็น ปชช.ฟังแล้วเชื่อ จนก่อสะเทือนให้บ้านเมืองเปลี่ยนแปลง หวังกลุ่มราษฎรพบอัยการฟังสั่งฟ้อง12 ขอได้ประกันตัว มีเสรีภาพกลับคืนคาดอภิปรายฯถึงชุมนุม 20กพ.

เมื่อวันที่ 16 ก.พ. 2564 นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เฟชบุ๊คไลฟ์ peace talk กล่าวถึงสถานการณ์ประเทศนับแต่การอภิปรายไม่ไว้วางใจ โดยเชื่อว่า มองมุมไหนก็มีแต่เรื่อง จึงควรเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด 

ส่วนการอภิปรายฯของฝ่ายค้านเริ่มขึ้นในวันที่ 16 ก.พ. เป็นวันแรก แล้วพูดต่อเนื่องจนยุติลง 19 ก.พ. ก่อนเที่ยงคืน เพื่อลงมติช่วงเช้า 20 ก.พ. นั้น นายจตุพร กล่าวว่า ครั้งนี้ฝ่ายค้านปรับยุทธวิธีอภิปรายฯใหม่ให้นายสุทิน คลังแสง ประธานวิปฝ่ายค้าน ขึ้นพูดเป็นคนแรก โดยเมื่อครั้งที่แล้วนายสุทิน เป็นผู้กล่าวสรุปปิดการอภิปรายฯ ได้อย่างดี ดังนั้นสิ่งน่าสนใจครั้งนี้ ส่วนหนึ่งจึงอยู่ที่คนพูดสรุปปิดญัตติอภิปรายฯ เพราะผู้พูดจะเรียงเรื่องการกล่าวหาได้ตรงประเด็น ตรงเนื้อหาการกล่าวโทษ และจะส่งผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้มากน้อยแค่ไหน 

อย่างไรก็ตาม ตนหวังว่า การอภิปรายฯครั้งนี้จะไม่จบลงแบบเดิม คือ แบบการอภิปรายฯครั้งแรก และถ้าเป็นเช่นนั้นแล้วฝ่ายค้านก็คงจบอนาคตการเมืองเช่นกัน ดังนั้น ฝ่ายค้านต้องอภิปรายฯเปิดแผลความผิดรัฐบาลให้ชัดเจน ฟันธงให้ตรงประเด็น เพื่อประชาชนฟังแล้วเข้าใจ เพราะสาระการอภิปรายฯอยู่ตรงที่ทั้งสองฝ่ายนั้น ใครจะทำให้ประชาชนเชื่อได้มากกว่ากัน

 อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
'จตุพร' ติวเข้มฝ่ายค้านอภิปรายไม่ไว้วางใจ ' 3ป.' ขยี้ปมโกงอย่างเป็นระบบ

ส่วนฝ่ายรัฐบาล ดูเหมือนยังมีความพยายามจะยื่นญัตติด่วนต่อศาล รธน.เพื่อให้วินิจฉัยการอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้านพาดพิงสถาบันกษัตริย์ฝ่าฝืน รธน.และข้อบังคับการประชุม แม้จะเสนอหลังการอภิปรายฯจบสิ้น แต่ตนย้ำมาหลายครั้งว่า การใช้สถาบันกษัตริย์มาปกป้องรัฐบาล แล้วไปทำร้ายคนอื่นเป็นสิ่งการกระทำที่ไม่เหมาะสม โดยที่ผ่านมาฝ่ายรัฐบาลมักนำสถาบันไปทำร้ายบุคคลอื่นต่อเนื่อง เพราะไม่มีความดีเป็นของตัวเอง จึงต้องนำสถาบันกษัตริย์มาเป็นเกราะป้องกันตัวเอง 

ผมอยากให้บ้านเมืองปกครองด้วยประชาธิปไตย จึงไม่เห็นด้วยกับการเอาสถาบันกษัตริย์ มาปกป้่องรัฐบาล เพราะจะทำให้สถาบันเสียหาย และเป็นการไม่สมควรกับการเอาสถาบันมาปกป้องนักการเมืองทุจริต และบริหารประเทศล้มเหลว” 

ส่วนวันที่ 17 ก.พ. นี้ สน.ชนะสงครามจะนำตัวผู้ต้องหาไปให้อัยการมีคำสั่งฟ้องนั้น นายจตุพร กล่าวว่า ถ้าอัยการมีคำสั่งฟ้องคงต้องลุ่้นกันว่า จะมีการประกันตัวหรือไม่ เพราะถ้ายึดมาตรฐานที่แกนนำราษฎร 4 คนไม่ได้ประกันแล้ว ย่อมบอกถึงโอกาสไม่ได้ประกันสูงมากเช่นกัน จึงควรติดตามและหวังว่าจะได้รับสิทธิเสรีภาพจากอัยการ 

“วันพรุ่งนี้ (17 ก.พ.) จะมีความหมายมากต่อแกนนำที่ต้องไปพบอัยการทั้ง 19 คนหรือ 24 คน หรือจะกี่คนก็ตาม เพราะสิ่งสำคัญในคดี ม. 112 นั้นจะเริ่มต้นโทษที่ 3 ปี อย่างไรก็ตาม ผมหวังว่า ผู้ต้องหาควรมีสิทธิ์ประกันตัวได้ เพราะเป็นเสรีภาพ ส่วนการยื่นขอประกันตัวนั้น กระทำได้ในศาลชั้นต้น อุทธรณ์ ถ้าไม่อนุญาตแล้ว ก็ยื่นถึงศาลฎีกา แต่ปกติมักยื่นแค่ศาลอุทธรณ์” 

นายจตุพร กล่าวว่า ตนดูรายชื่อแล้ว แกนนำที่มีบทบาทจะเหลือไม่กี่คน และการนัดชุมนุม 20 ก.พ.นี้ คงต้องติดตาม เมื่อจุดแข็งสันติวิธีถูกทำลายลงแล้ว จึงเป็นเรื่องยากลำบากกับการควบคุมผู้ชุมนุม รวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดโรคแทรกแซงจากฝ่ายไม่หวังดีได้อีก  

“ถ้าคุมการชุมนุมไม่ได้ จะเป็นชนวนให้สถานการณ์ลุกลาม บานปลาย แล้วคาดการณ์ถึงการนองเลือด ซึ่งสถานการณ์บ้านเมืองจะขยายไปอีกขั้นหนึ่ง ไม่รู้จะถึงขั้นไหน ถัดไปอีกไม่กี่วัน คือ ในวันที่ 24 ก.พ. คดี กปปส. ของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ กับพวก ศาลได้นัดอ่านคำพิพากษา ซึ่งจะเห็นจุดเปลี่ยน โดยมีจุดหักเหมาจากเหตุการณ์วันที่ 20 ก.พ. ซึ่งผมประเมินแบบดักทางเอาไว้ก่อน” 

อีกอย่าง ตนพยายามอธิบายว่า ถ้าในช่วงปลายไม่สามารถควบคุมการชุมนุมได้แล้ว จะหลายเป็นช่องว่างให้เกิดโรคแทรกแซงได้มาก ดังนั้น การชุมนุมวันที่ 20 ก.พ. จึงน่าสนใจและควรติดตาม พร้อมทั้งประเมินการอภิปรายฯครั้งนี้ ฝ่ายค้ายจะก่อผลสะเทือนถึงจุดเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่ด้วย 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ