ข่าว

"ศรีสุวรรณ" จ่อร้อง ผู้ตรวจการแผ่นดินจับพิรุธมาตรการรัฐแก้ไขโควิด-19 เอื้อนายทุนหรือไม่

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"ศรีสุวรรณ" จ่อร้อง ผู้ตรวจการแผ่นดินจับพิรุธมาตรการรัฐแก้ไขโควิด-19 เอื้อนายทุนหรือไม่

เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2564 นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เปิดเผยว่า สมาคมฯได้เฝ้าติดตามการทำงานแก้ไขปัญหาการแพร่เชื้อไวรัสโควิด-19 มาอย่างต่อเนื่อง พบว่า มีข้อพิรุธเป็นที่ผิดสังเกต ที่ก่อให้เกิดความคลางแคลงใจและเกิดความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านเป็นอย่างมาก จำเป็นที่จะต้องกระชากหน้ากากความจริงของรัฐบาลผ่านการตรวจสอบของผู้ตรวจการแผ่นดิน คือ

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
"ศรีสุวรรณ" บุก "ก.แรงงาน" แนะใช้ ม.14 พรก.บริหารคนต่างด้าวจัดการโควิด-19

1)กรณีการปิดตลาดนัด เป็นมาตรการป้องกันการระบาด โดยรัฐเริ่มต้นด้วยการเลือกปิดตลาดนัด ปิดร้านอาหาร พ่อค้าแม่ค้าเดือดร้อนเพราะไม่มีแหล่งขายสินค้า เพื่อหารายได้ รัฐประกาศปิดตลาดนัดเพราะกลัวประชาชนจะไปแออัดกันซื้อสินค้าตลาดตลาดนัด แต่รัฐไม่ปิดห้างสรรพสินค้าที่มีระบบแอร์ตลอดเวลาและเป็นสถานที่ปิด เป็นความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 มากกว่า แต่เมื่อถูกวิพากษ์วิจารณ์กันมากจึงผ่อนคลายให้ การดำเนินนโยบายป้องกันดังกล่าวของรัฐ เป็นการเอื้อกลุ่มทุนแต่ทุบผู้ประกอบการรายย่อย เป็นการเลือกปฏิบัติหรือไม่

2)กรณีเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ได้ก่อสร้างโรงงานผลิตหน้ากากอนามัย เพื่อแจกฟรีให้กับบุคลากรทางการแพทย์และคนไทยทั่วไป ใช้ป้องกันไวรัสโควิด-19 โดยมีกำลังการผลิตของโรงงานอยู่ที่ 100,000 ชิ้นต่อวัน หรือ 3 ล้านชิ้นต่อเดือน โดยเริ่มผลิตและส่งมอบให้กับทางราชการมาตั้งแต่กลางเดือนเมษายน 2563 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันก็น่าจะเกือบ 30 ล้านชิ้นแล้ว หน้ากากดังกล่าว หายไปไหน ทำไมคนไทยยังต้องวิ่งซื้อหามาใช้อย่างยากลำบากอีกเมื่อมีการระบาดระลอกใหม่ มีหน่วยงานใดยักยอกไว้ใช้โดยไม่นำมาแจกจ่ายให้ประชาชนหรือไม่ หรือว่าโรงงานไม่ได้ผลิตตามที่โฆษณาไว้จริง หรือมีการลักลอบนำเอาหน้ากากไปซื้อขายกันในตลาดมืด

3)กรณีการนำวัคซีนป้องกันโควิด-19 มาฉีดให้คนไทยอย่างล่าช้า ทั้งๆที่ประเทศอื่นๆในภูมิภาคนำมาใช้ฉีดให้กับพลเมืองของตนนานแล้ว เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย และล่าสุดประเทศที่เล็กและด้อยกว่าไทยก็ยังนำวัคซีนมาใช้แล้ว คือ ลาว แต่สำหรับประเทศไทยโฆษณาชวนเชื่อมานานแล้วว่าจะซื้อวัคซีนจาก บ.แอสตราเซเนกา(ไทย-อังกฤษ) ซึ่งใช้สูตรยาและเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดร่วมกับ บ.แอสตราเซเนกา ซึ่ง บ.สยามไบโอไซเอนซ์จะเป็นผู้ผลิต และจะเริ่มนำมาใช้ประมาณ พ.ค.-มิ.ย.64นี้เป็นต้นไปจนครบ 26 ล้านโดสซึ่งถือว่าล่าช้ามาก กระทั่งถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก ต่อมาไปจัดซื้อวัคซีนบางส่วนที่พัฒนาโดยบริษัท ซิโนแวค ไบโอเทค บริษัทเภสัชภัณฑ์ของจีน จำนวน 2 ล้านโดส โดยชุดแรก 2 แสนโดส จะขนส่งมาถึงไทยช่วงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ และชุดที่สอง 800,000 โดส จะมาถึงช่วงสิ้นเดือนมีนาคม และอีก 1 ล้านโดส จะมาถึงช่วงสิ้นเดือนเมษายน ทั้งนี้การที่รัฐบาลไปจัดหาวัคซีนจากจีน มีความเกี่ยวข้องกับการที่มีบริษัทเจ้าสัวจากเมืองไทยไปเข้าถือหุ้น 15% ใน“ซิโนแวค” บ.ผลิตวัคซีนโควิด-19 ของจีน เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กันและกันใช่หรือไม่ด้วย และทำไม อย.จึงไม่รีบรับรองวัคซีนของบริษัทต่างๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ รพ.เอกชนสามารถจัดซื้อจัดหามาใช้ได้อย่างรวดเร็วได้ รัฐบาลมีอะไรซ่อนเร้นอยู่เบื้องหลัง

นอกจากนั้น การที่มีการปิดบังไทม์ไลน์ของผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไปใช้บริการร้านสะดวกซื้อ แต่ไม่มีการเปิดเผยให้ประชาชนทราบ และไม่มีการสั่งปิด แต่กลับมาสั่งปิดสถานที่อื่นๆแทนนั้นเป็นการเอื้อกลุ่มทุนแต่ทุบผู้ประกอบการรายย่อย เป็นการเลือกปฏิบัติหรือไม่ด้วย โดยสมาคมฯจะไปยื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินในวันจันทร์ที่ 11 ม.ค.64 เวลา 10.00 น.ณ ศูนย์ราชการ อาคาร B ห้อง 903 นายศรีสุวรรณ กล่าวในที่สุด

บอกลาอาการคิดหนัก บอกลาซาด้า ช้อปเลย...

"ศรีสุวรรณ" จ่อร้อง ผู้ตรวจการแผ่นดินจับพิรุธมาตรการรัฐแก้ไขโควิด-19 เอื้อนายทุนหรือไม่

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ