ข่าว

"ชุมสาย" ชี้ การสรรหา ป.ป.ช. และ กสม. ต้องใช้เกณท์เดียวกัน ไม่ใช่ตามอำเภอใจ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"ชุมสาย" ชี้ การสรรหา ป.ป.ช. และ กสม. ต้องใช้เกณท์เดียวกัน กฎหมายต้องมีความมั่นคงไม่ใช่ตีความได้หลายนัย ตามอำเภอใจ      

          5 มิ.ย.2563 นายชุมสาย ศรียาภัย รองโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า กรณี ที่วุฒิสภามีมติเห็นชอบ แต่งตั้งนายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข ที่พ้นตำแหน่ง สนช.มาไม่เกิน 10 ปี เป็นกรรมการ ปปช. ซึ่งอาจจะขัดต่อกฎหมาย ป.ป.ช พ.ศ.2561 มาตรา 11(18)  ในขณะที่คณะกรรมการสรรหาบุคคลเป็นกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติหรือ กสม.มีมติตัดสิทธิ พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก และ น.ส.จินตนันท์ ริญาต์รศุภมิตร ผู้เข้ารับการสรรหาเนื่องจากขาดคุณสมบัติเพราะพ้น ตำแหน่ง สนช.มาไม่เกิน 10 ปีเช่นกันตาม พรป.กสม.พ.ศ.2560 มาตรา10(18) นั้นตนเห็นว่า ทั้งสองกรณี คือคณะกรรมการสรรหา ป.ป.ช.และ กสม. ไปจนถึง ส.ว.ต้องใช้เกณฑ์เดียวกันในการพิจารณาวินิจฉัยคุณสมบัติของผู้เข้ารับการสรรหา ไม่น่าจะตีความได้หลายนัย
     

          "ความใน พรป. ป.ป.ช. พ.ศ.2561 มาตรา 11 (18) เหมือนกันทุกประการกับความใน พรป. กสม. พ.ศ.2560 มาตรา 10(18 ) ข้อเท็จจริงเดียวกัน ข้อกฎหมายเดียวกัน ต่างกันเพียง คนละองค์กร จึงไม่มีหตุใดที่คณะกรรมการสรรหา จะต้องวินิจฉัยต่างกันไม่ว่าจะมาจากหน่วยงานใด กฎหมายต้องมีความมั่นคงแน่นอน ไม่ใช่ยอมให้ตีความตามอำเภอใจ และต้องคำนึงถึงเจตนารมณ์ ความมุ่งหมายและความสุจริตเป็นหลัก กฎหมายมิใช่เป็นเพียงเครื่องมือ ที่จะใช้เป็นคุณกับพวกตน และใช้เป็นโทษกับฝ่ายตรงข้าม ซึ่งเป็นปัญหาของรัฐธรรมนูญฉบับสืบทอดอำนาจในส่วนขององค์กรอิสระ ที่ต้องแก้ไข "

          นายชุมสาย  กล่าวเพิ่มเติมว่า รัฐธรรมนูญ 2560  มาตรา 263  บัญญัติให้ สนช.ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่เป็น ส.ส.หรือ ส.ว. จึงถือว่า สนช.เป็นและทำหน้าที่เช่นเดียวกับ ส.ส.และ ส.ว.เหตุที่ไม่เรียก ส.ส.หรือ ส.ว.เพราะถูกแต่งตั้งมาจากหัวหน้าคณะปฏิวัติไม่ใช่เลือกตั้งมาโดยประชาชน จึงถือเป็นสาระสำคัญว่า สนช.มีอำนาจและปฏิบัติหน้าเช่นเดียวกับ ส.ส.และ ส.ว.  สนช.เข้าสู่อำนาจโดยวิธิพิเศษช่วงที่ไม่มีสภา แต่ไม่สามารถใช้อำนาจพิเศษเกินกว่า ส.ส.หรือ ส.ว. ในระบบรัฐสภาปรกติ การตีความว่า สนช.ไม่ใช่ ส.ส.และ ส.ว.ที่ต้องห้ามเป็นกรรมการองค์กรอิสระและไม่ขัดต่อ พรป. ป.ป.ช. มาตรา 11 (18) น่าจะเป็นการเกินกว่าเจตนารมณ์ของ รัฐธรรมนูญและกฎหมาย เป็นการขยายอำนาจ สนช.มากไป  แต่หากจะพิจารณาว่า สนช.ไม่ใช่ ส.ส.หรือ ส.ว. และยึดบรรทัดฐานที่วุฒิสภามีมติ ควรต้องคืนความเป็นธรรมให้ผู้ที่เสียสิทธิเข้ารับการสรรหา ซึ่งควรมีเพียงมาตรฐานเดียว และต้องรอฟังคำชี้ขาดของศาลที่มีอำนาจต่อไป

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ