ข่าว

กางไทม์ไลน์ 'โครงการรถไฟฟ้าล่าสุด' ปี 2572 คนกรุง ได้ใช้ 33 สาย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เปิดไทม์ไลน์ 'โครงการรถไฟฟ้าล่าสุด' ปี 2572 คนกรุง ได้ใช้ 'รถไฟฟ้า' สารพัดสี 33 สาย ลุ้น 'รถไฟฟ้าสายสีเขียว' ส่วนต่อขยาย กทม. ดันสร้าง ปี 2568

โครงข่าย “รถไฟฟ้า” ที่ช่วยให้คนกรุง ย่นระยะเวลาการเดินทางให้สั้นลง ซึ่ง “โครงการรถไฟฟ้าล่าสุด” มีความคืบหน้าไปแค่ไหน ตามแผนแม่บท ระบบขนส่งทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (M-MAP) ระยะ 20 ปี (ปี 2553-2572) เปิดบริการแล้ว 11 สายทาง ระยะทางรวม 211.94 กิโลเมตร อยู่ระหว่างก่อสร้าง 6 โครงการ 135.80 กิโลเมตร กำลังประกวดราคา 1 โครงการ 13.40 กิโลเมตร ดำเนินการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) 6 โครงการ 71.49 กิโลเมตร และเตรียมความพร้อม 9 โครงการ 120.78 กิโลเมตร คาดหวังว่า ปี 2572 เราจะได้ใช้รถไฟฟ้า 33 สาย

รถไฟฟ้า

กางไทม์ไลน์ โครงการรถไฟฟ้าล่าสุด

 

 

- ปี 2566 ระยะทาง 64.90 กิโลเมตร

 

  • รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี
  • รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง

 

- ปี 2568 จะเปิดบริการ 2 โครงการ 25.50 กิโลเมตร

 

  • รถไฟฟ้าสายสีชมพู ส่วนต่อขยาย ช่วงศรีรัช-เมืองทองธานี ระยะทาง 3 กิโลเมตร
  • รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี 22.50 กิโลเมตร

 

- ปี 2569 เปิดบริการ 3 โครงการ รวมระยะทาง 29.34 กิโลเมตร  

 

  • รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา 14.80 กิโลเมตร
  • รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต 8.84 กิโลเมตร
  • รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช 5.70 กิโลเมตร

 

 

- ปี 2570 เปิดบริการ 2 โครงการ รวมระยะทาง 45.40 กิโลเมตร

 

  • รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ช่วงพญาไท-ดอนเมือง 21.80 กิโลเมตร
  • รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ 23.60 กิโลเมตร

รถไฟฟ้าสายสีแดง

 

 

เปิด 'เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม ล่าสุด' มีสถานีไหนบ้าง ปี 2568 หวัง คนกรุง ได้ใช้

กางเส้นทางรถไฟฟ้า 'M-MAP 2' ครอบคลุม 33 เส้นทาง ผ่านบ้านใครบ้างเช็กที่นี่

- ปี 2571 เปิดบริการ 4 โครงการ รวมระยะทาง 61.40 กิโลเมตร  

 

  • รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง 5.76 กิโลเมตร 
  • รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-มักกะสัน-หัวหมาก 20.14 กิเลเมตร
  • รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ 13.40 กิโลเมตร
  • รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี 22.10 กิโลเมตร

 

 

- ภายในปี 2572 เปิดบริการ 9 โครงการ รวมระยะทาง 114.93 กิโลเมตร  

 

  • รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงสมุทรปราการ-บางปู 9.50 กิโลเมตร 
  • รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงลำลูกกา-คูคต 6.50 กิโลเมตร
  • รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางแค-พุทธมณฑล สาย 4 ระยะทาง 8 กิโลเมตร 
  • รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงหัวลำโพง-มหาชัย 38 กิโลเมตร
  • รถไฟฟ้าสายสีทอง ช่วงคลองสาน-ประชาธิปก 0.92 กิโลเมตร
  • รถไฟฟ้าสายสีเทา ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ 16.25กิโลเมตร
  • รถไฟฟ้าสายสีฟ้า ช่วงดินแดง-สาทร 9.50 กม.
  • รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ส่วนต่อขยาย ช่วงแยกรัชดา-แยกรัชโยธิน 2.60 กิโลเมตร

 

 

เมื่อทุกโครงการเปิดให้บริการตามแผนที่วางไว้ จะทำให้โครงข่ายรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพิ่มขึ้นเป็น 33 สาย รวมระยะทาง 553.41 กิโลเมตร

แผนที่เส้นทางรถไฟฟ้า

 

รถไฟฟ้าส่วนต่อขยายค้างท่อ

 

 

โครงการรถไฟฟ้าล่าสุด แม้จะดูไปไกล แต่ในส่วนต่อขยาย ในแผนแม่บท ยังค้างท่ออยู่อีกหลายสาย และคงจะชะลอไม่มีกำหนด โดยเฉพาะเฟสสุดท้ายในแผนแม่บท ไม่ว่าจะเป็น

 

  • รถไฟฟ้าสายสีเขียว สมุทรปราการ-บางปู
  • รถไฟฟ้าสายสีเขียว คูคต-ลำลูกกา
  • รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน บางแค-พุทธมณฑลสาย 4
  • รถไฟฟ้าสายสีแดง หัวลำโพง-มหาชัย
  • รถไฟฟ้าสายสีทอง คลองสาน-ประชาธิปก
  • รถไฟฟ้าสายสีเทา วัชรพล-ทองหล่อ และ พระโขนง-ท่าพระ
  • รถไฟฟ้าสายสีฟ้า ดินแดง-สาทร
  • รถไฟฟ้าสายสีเหลือง แยกรัชดา-รัชโยธิน

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง

 

กทม.ดับฝัน รถไฟฟ้า 3 สาย

 

 

นอกจากนั้น ในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2567 ยังมีมติเห็นชอบ โอนภารกิจโครงการรถไฟฟ้า ที่จะต้องลงทุนก่อสร้างใหม่ ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร (กทม.) กลับคืนไปให้กระทรวงคมนาคม จำนวน 3 โครงการ 

 

 

  1. รถไฟฟ้าสายสีเงิน มีเส้นทางระหว่างบางนา เชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ รวมระยะทาง 19.7 กิโลเมตร จำนวน 14 สถานี จะเชื่อมต่อกับสายสีเขียว ที่สถานีบางนา และสายสีเหลือง ที่สถานีศรีเอี่ยม โดยพบว่า เส้นทางส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ของกรมทางหลวง สังกัดกระทรวงคมนาคม และเส้นทางเกินครึ่งอยู่ในพื้นที่ จ.สมุทรปราการ
  2. รถไฟฟ้าสายสีเทา ระยะที่ 1 ช่วงวัชรพล เชื่อมทองหล่อ รวมระยะทาง 16.3 กิโลเมตร จำนวน 15 สถานี จะมีสถานีใหม่ที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าถึง 5 สาย ทั้งสายสีชมพู, สายสีน้ำตาล, สายสีเหลือง, สายสีส้ม และสายสีเขียว ที่สถานีทองหล่อ แต่เส้นทางส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย สังกัดกระทรวงคมนาคม
  3. รถไฟฟ้าสายสีฟ้า เส้นทางดินแดง เชื่อมสาทร รวมระยะทาง 9.5 กิโลเมตร มีจำนวน 9 สถานี ตามแผนจะเชื่อมต่อกับสายสีน้ำเงิน ที่สถานีเพลินจิต ศาลาแดง

 

 

ซึ่ง กทม. ให้เหตุผลว่า ไม่มีงบประมาณเพียงพอหากดำเนินการเอง เพราะมีโครงการอื่นที่จำเป็นมากกว่า รวมถึงประชาชนจะได้ประโยชน์มากกว่า หากรัฐบาลดำเนินการระบบตั๋วร่วมที่ต้องเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆ ที่มีเกือบ 10 สายทางในปัจจุบัน และโครงการที่จะเกิดในอนาคต 

 

 

ส่วน รถไฟฟ้าที่ กทม. ตั้งใจเดินหน้าทำเองคือ รถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายช่วงบางหว้า เชื่อมตลิ่งชัน ระยะทาง 7.5 กิโลเมตร มูลค่า 7,000 ล้านบาท

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ