“เช็กเงินไร่ละ 1,000 ปี 66/67 ล่าสุด” เงินเยียวยาเกษตรกร ภายหลังรัฐบาลเริ่มโอนเงินตามโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการ และพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2566/67 ไปยังชาวนาทั่วประเทศกว่า 4.68 ล้านครัวเรือน วงเงินกว่า 54,000 ล้านบาท ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 20 ไร่ โดย ธ.ก.ส. เป็นผู้ดำเนินการ
โดย “เงินเยียวยาไร่ละ 1,000” แบ่งการโอนเงินเป็น 5 รอบ ประเดิมงวดแรกโอนเข้าบัญชีเกษตรกรในพื้นที่ทั่วประเทศ วงเงินรวม 7,989 ล้านบาท มีเกษตรกรได้รับประโยชน์กว่า 6.2 แสนครัวเรือน พร้อมหนุนมาตรการคู่ขนานในการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือกและเสริมสภาพคล่องชาวนา ผ่านสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2566/67 และสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าว และสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2566/67
เช็กสิทธิเงินไร่ละ 1,000
- งวดที่ 1 จ่ายวันที่ 28 พ.ย. 2566 จำนวน 21 จังหวัด
หนองบัวลำภู, เลย, นครสวรรค์, พิจิตร, พิษณุโลก, เพชรบูรณ์, สุโขทัย, กำแพงเพชร, อุตรดิตถ์, อุทัยธานี, ตาก, เชียงราย, พะเยา, ลำปาง, แพร่, เชียงใหม่, น่าน, ลำพูน, แม่ฮ่องสอน, ลพบุรี และ กรุงเทพฯ
- งวดที่ 2 จ่ายวันที่ 29 พ.ย. 2566 จำนวน 8 จังหวัด
ร้อยเอ็ด, มหาสารคาม, สกลนคร, อุดรธานี, นครพนม, หนองคาย, มุกดาหาร และ บึงกาฬ
- งวดที่ 3 จ่ายวันที่ 30 พ.ย. 2566 จำนวน 5 จังหวัด
นครราชสีมา, สุรินทร์, บุรีรัมย์, ชัยภูมิ และ ยโสธร
- งวดที่ 4 จ่ายวันที่ 1 ธ.ค. 2566 จำนวน 5 จังหวัด
อุบลราชธานี, ศรีสะเกษ, อำนาจเจริญ, ขอนแก่น และ กาฬสินธุ์
- งวดที่ 5 จ่ายวันที่ 2 ธ.ค. 2566 จำนวน 38 จังหวัด
พระนครศรีอยุธยา, ชัยนาท, สิงห์บุรี, ปทุมธานี, สระบุรี, อ่างทอง, นนทบุรี, สระแก้ว, ฉะเชิงเทรา, ปราจีนบุรี, นครนายก, ชลบุรี, ระยอง, สมุทรปราการ, จันทบุรี, ตราด, สุพรรณบุรี, นครปฐม, กาญจนบุรี, ราชบุรี, เพชรบุรี, สมุทรสาคร, ประจวบคีรีขันธ์, สมุทรสงคราม, นครศรีธรรมราช, สงขลา, พัทลุง, ตรัง, สตูล, ปัตตานี, ยะลา, นราธิวาส, สุราษฎร์ธานี, ชุมพร, ภูเก็ต, กระบี่, ระนอง และ พังงา
เช็กสิทธิเงินเยียวยาเกษตรกร 66/67
ตรวจสอบสถานะความเป็นเกษตรกร จากการขึ้นทะเบียนกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2566 ที่เว็บไซต์ farmer.doae.go.th คลิกที่นี่
เช็กเงินไร่ละ 1,000 ปี 66/67 ล่าสุด
- เข้าไปที่เว็บไซต์ chongkho.inbaac.com คลิกที่นี่
- กรอก เลขบัตรประจำตัวประชาชน
- กด ค้นหา
- ระบบจะแจ้งข้อมูลทั้งหมด
นอกจากนี้ ในการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว รัฐบาลได้มอบนโยบายในการจัดทำมาตรการคู่ขนาน เพื่อดูแลและรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือกแบบครบวงจร ได้แก่
- สินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2566/67 วงเงินรวม 34,000 ล้านบาท เพื่อเสริมสภาพคล่องในการใช้จ่ายให้เกษตรกรมีเงินทุนหมุนเวียนระหว่างชะลอการขายข้าว โดยไม่ต้องเร่งขายข้าวเปลือกในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดจ านวนมากและราคาตกต่ำ โดยรัฐบาลรับภาระในการชำระดอกเบี้ยแทนเกษตรกร และ ธ.ก.ส. ยังพร้อมสนับสนุนค่าฝากเก็บ และรักษาคุณภาพข้าวเปลือกให้เกษตรกรอีก 1,500 บาทต่อตัน กรณีเกษตรกรเก็บข้าวเอง ได้รับ 1,500 บาทต่อตัน กรณีเกษตรกรฝากข้าวกับสถาบันเกษตรกร เกษตรกรจะได้รับ 500 บาทต่อตัน และสถาบันฯ จะได้รับ 1,000 บาทต่อตัน สำหรับเกษตรกรที่เข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้ลูกค้ารายย่อย สามารถแจ้งความประสงค์เข้าร่วมสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีได้ (เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด)
- สินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2566/67 วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท โดยสหกรณ์การเกษตร ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชนที่ประกอบธุรกิจรวบรวมข้าวจากเกษตรกรสมาชิก และเกษตรกรทั่วไป โดยสถาบันฯ ชำระดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 1 ต่อปี ส่วนที่เหลือ รัฐบาลรับภาระชำระแทน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง