ข่าว

'เช็กสิทธิเงินเยียวยาเกษตรกร 66/67' ประกันภัยนาข้าว เงินเข้าหรือไม่

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

'เช็กสิทธิเงินเยียวยาเกษตรกร 66/67' ประกันภัยนาข้าว 'เงินประกันข้าว 66/67' เงินเข้าหรือไม่ เช็กอัปเดตล่าสุด

“เช็กสิทธิเงินเยียวยาเกษตรกร 66/67” สำหรับโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2565/66 “เงินประกันรายได้ข้าว” ซึ่ง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ดำเนินการจ่ายเงินส่วนต่างให้เกษตรกร มาถึงงวดที่ 33 ซึ่งเป็นสุดท้ายแล้ว ซึ่งในงวดที่ 1 - 32 มีเกษตรกรได้รับเงินส่วนต่างประกันรายได้ กว่า 2.636 ล้านครัวเรือน วงเงิน 7,867.02 ล้านบาท

 

 

 

 

 

ส่วน “เงินประกันข้าว 66/67” ประกันรายได้ข้าว โดยเฉพาะ “ประกันภัยนาข้าว” เงินเยียวยาเกษตรกร ชาวนา มีความหวังแค่ไหน หลังการจัดตั้งรัฐบาล ยังยืดเยื้อ ซึ่งล่าสุด กระทรวงการคลัง แจ้งข่าวว่า ปี 2566 ไม่มีโครงการประกันภัยนาข้าว เนื่องจากเสนอไม่ทัน ก่อนรัฐบาลประกาศยุบสภา

 

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ในปีนี้รัฐบาลไม่มีการดำเนินโครงการ “ประกันภัยนาข้าว” เนื่องจากไม่สามารถเสนอโครงการได้ทัน ก่อนรัฐบาลประกาศยุบสภา แต่รัฐบาลยังคงมีแนวทางดูแลเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ที่ได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติธรรมชาติอยู่ โดยสามารถรับเงินทดรองราชการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ตามระเบียบของกระทรวงการคลัง ในกรณีได้รับการประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติ

 

 

 

 

“การประกันภัยนาข้าวที่ไม่ได้ทำปีนี้ ไม่ได้เกี่ยวข้อง หรือมีปัญหาเกี่ยวกับงบประมาณ เพราะเงินที่กระทรวงการคลังยังมีเพียงพอที่จะทำได้อยู่ แต่ติดปัญหาไม่สามารถเสนอโครงการได้ทันเพราะเป็นรัฐบาลรักษาการ ทำให้ไม่สามารถดำเนินโครงการต่อได้ แม้จะผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) แต่ก็ไม่ได้เสนอเข้า ครม.”

 

สำหรับโครงการประกันภัยนาข้าว 2566 ที่ผ่าน นบข. มีอัตราค่าเบี้ยประกันแยกเป็น tier 1 แบ่งเป็น 4 อัตรา 

 

 

  1. เกษตรกรลูกค้าสินเชื่อเพื่อการเพาะปลูกข้าวนาปีของ ธ.ก.ส. 115 บาทต่อไร่ เท่ากันในทุกพื้นที่
  2. เกษตรกรทั่วไปในพื้นที่นำร่อง 70 บาทต่อไร่
  3. เกษตรกรทั่วไปในพื้นที่เสี่ยงปานกลาง 199 บาทต่อไร่
  4. เกษตรกรทั่วไปในพื้นที่เสี่ยงสูง 218 บาทต่อไร่

 

 

 

ส่วน tier 2 แบ่งเป็น 3 อัตรา (เกษตรกรจ่ายเอง)

 

  1. พื้นที่เสี่ยงต่ำ 27 บาทต่อไร่
  2. พื้นที่เสี่ยงปานกลาง 60 บาทต่อไร่
  3. พื้นที่เสี่ยงสูง 110 บาทต่อไร่

 

 

วงเงินคุ้มครอง

 

 

  • วงเงินคุ้มครองภัยธรรมชาติทั้งหมด 7 ภัย สำหรับ tier 1 มีวงเงินความคุ้มครอง 1,190 บาทต่อไร่ และ tier 2 มีวงเงินความคุ้มครอง 240 บาทต่อไร่ รวมวงเงินความคุ้มครองจำนวน 1,430 บาทต่อไร่
  • วงเงินคุ้มครองภัยศัตรูพืชและโรคระบาด tier 1 มีวงเงินความคุ้มครอง 595 บาทต่อไร่ และ tier 2 มีวงเงินความคุ้มครอง 120 บาทต่อไร่ รวมวงเงินความคุ้มครองจำนวน 715 บาทต่อไร่

 

 

ขณะที่การอุดหนุนค่าเบี้ยประกันของรัฐบาล ธ.ก.ส. จะอุดหนุนค่าเบี้ย 46 บาทต่อไร่ สำหรับเกษตรกรลูกค้าสินเชื่อที่ขึ้นทะเบียนเพาะปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2566 จำกัดพื้นที่สูงสุดไม่เกิน 30 ไร่ต่อราย และรัฐบาลอุดหนุน 78.12 บาทต่อไร่

 

 

 

ส่วนเกษตรกรทั่วไปในพื้นที่นำร่อง ค่าเบี้ย 70 บาทต่อไร่ เกษตรกรจ่าย 5 บาทต่อไร่ รัฐบาลอุดหนุน 70.97 บาทต่อไร่ และเกษตรกรทั่วไปในพื้นที่เสี่ยงปานกลาง ค่าเบี้ย 199 บาทต่อไร่ เกษตรกรจ่าย 130 บาทต่อไร่ รัฐบาลอุดหนุน 84 บาทต่อไร่ และเกษตรกรทั่วไปในพื้นที่เสี่ยงสูง ค่าเบี้ย 218 บาทต่อไร่ เกษตรกรจ่าย 149 บาทต่อไร่ รัฐบาลอุดหนุน 85.33 บาทต่อไร่

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ