ข่าว

ตรวจสอบมาตรการ "มหกรรมร่วมใจแก้หนี้" เช็คเงื่อนไขแบ่งเบาภาระทุก ธนาคาร

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

วางแผนก่อนไปงาน "มหกรรมร่วมใจแก้หนี้" เช็คเงื่อนไข มาตรการ แบ่งเบาภาระหนี้ แก่ลูกหนี้ของทุกธนาคารที่นี่ อยากปลดหนี้ เสริมสภาพคล่องห้ามพลาด

นายอาคม  เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า ในวันที่ 4-6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 จะมีการจัดงาน "มหกรรมร่วมใจแก้หนี้"  มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน ครั้งที่ 1 ณ Hall 5 อิมแพค เมืองทองธานี ตั้งแต่เวลา 10.00 - 18.00 น.. โดยงานมหกรรม "มหกรรมร่วมใจแก้หนี้"  เป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย และสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ เพื่อแก้ปัญหา หนี้ครัวเรือน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่กำหนดให้ปี 2565 เป็นปีแห่งการแก้หนี้ครัวเรือน

เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ได้ส่งผลกระทบทำให้ประชาชนและผู้ประกอบธุรกิจขาดรายได้และศักยภาพ ในการชำระหนี้ต่ำลง ถึงแม้ว่าในปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดได้คลี่คลายลงแล้วและสถานการณ์เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น แต่ปัญหาภาระหนี้ของประชาชนยังคงอยู่ ดังนั้น กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ และหน่วยงานพันธมิตรอื่น ๆ รวมทั้งสิ้น 18 หน่วยงาน จึงได้ร่วมมือกันจัด "มหกรรมร่วมใจแก้หนี้" มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน ขึ้น โดยในงานจะมีกิจกรรมประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่

1.การแก้ไขปัญหาหนี้สินที่มีอยู่เดิม ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขหนี้ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ หรือการปรับเงื่อนไขการชำระนี้ เพื่อช่วยผ่อนปรนภาระหนี้ของประชาชนและผู้ประกอบการให้สอดคล้องกับรายได้ที่ลดลง เช่น

 

• การปรับเงื่อนไขการผ่อนชำระ โดยลดภาระค่างวดและแบ่งตัดเงินต้นสูงสุดร้อยละ 20 หรือ
หากเป็นลูกหนี้สถานะ NPL และสามารถชำระหนี้ปิดบัญชีได้จะได้รับการลดดอกเบี้ยค้างทั้งหมด โดยธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย

 

• มาตรการแก้หนี้สินเชื่อบ้าน สำหรับลูกหนี้สถานะ NPL จะได้รับการลดเงินงวดผ่อนชำระ 
พร้อมกับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้พิเศษ ระยะเวลานาน 2 ปี โดยเดือนที่ 1 - 10 ผ่อนชำระเพียงงวดละ 1,000 บาท อัตราดอกเบี้ยเท่ากับร้อยละ 0 ต่อปี เดือนที่ 11 - 21 อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.99 - 2.00 ต่อปี และเดือนที่ 22-24 อัตราดอกเบี้ยร้อยละ MRR-2.00 ต่อปี โดยธนาคารอาคารสงเคราะห์

 

• มาตรการชำระดีมีคืนไม่เกิน 2,000 บาท สำหรับลูกหนี้ปกติ และลดดอกเบี้ยร้อยละ 50 สำหรับลูกหนี้ NPLs และส่วนลดค่าธรรมเนียมต่าง ๆ โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

 

• มาตรการเอ็กซิมสนับสนุนมหกรรมร่วมใจแก้หนี้ ยืดหนี้สูงสุด 12 เดือน ผ่อนดีมีคืนดอกเบี้ยร้อยละ 2 โดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย

 

2.การสร้างรายได้ผ่านการสร้างอาชีพหรืออาชีพเสริม เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนและผู้ประกอบการ ให้เพียงพอต่อการชำระหนี้ ซึ่งจะสามารถลดปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือนได้ในระยะยาว และสามารถขอรับสินเชื่อเพิ่มเติมเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนหรือเป็นแหล่งทุนเพื่อสร้างรายได้เพิ่ม เช่น

 

• สินเชื่อแก้หนี้เพิ่มทุน สำหรับผู้มีรายได้ประจำ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ผู้ประกอบการรายย่อย พ่อค้าแม่ค้า หาบเร่แผงลอย ให้กู้ไม่เกินรายละ 20,000 บาท ดอกเบี้ยต่ำแบบคงที่ร้อยละ 0.35 ต่อเดือน ไม่ต้องมีหลักประกัน ปลอดชำระเงินต้น 6 เดือน ผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 2 ปี โดยธนาคารออมสิน

 

• สินเชื่อเพื่อ SMEs ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน วงเงินกู้สูงสุด 5 ล้านบาท ดอกเบี้ยเริ่มต้น ร้อยละ 5.5 ต่อปี  ผ่อนนานสูงสุด 12 ปี ปลอดชำระเงินต้นสูงสุด 24 เดือน โดยธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย


• สินเชื่อ Krungthai SME Smart Shop วงเงินกู้สูงสุด 3 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น MRR  ต่อปี โดยธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)


• สินเชื่อเพื่อผู้ส่งออกป้ายแดง เพื่อช่วยเหลือ Start Up ให้ส่งออก วงเงินสูงสุด 1 ล้านบาท ใช้บุคคลค้ำประกัน และสินเชื่อเอ็กซิมสร้างธุรกิจเพื่อบุคคลธรรมดา วงเงินสูงสุด 2 ล้านบาทต่อราย ใช้หนังสือค้ำประกันของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม โดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย


• สินเชื่อที่อยู่อาศัยอัตรากำไรพิเศษร้อยละ 1.99 ต่อปี ระยะเวลา 6 เดือนแรก โดยธนาคารอิสลาม
แห่งประเทศไทย


• โครงการค้ำประกันสินเชื่อรายสถาบันการเงินระยะที่ 7 วงเงินค้ำประกันสินเชื่อ สูงสุดไม่เกิน 100  ล้านบาทต่อราย ระยะเวลาค้ำประกันสินเชื่อสูงสุด 10 ปี ยกเว้นค่าดำเนินการค้ำประกัน โดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม

 

3.การสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ประชาชนด้วยการส่งเสริมทักษะในการประกอบอาชีพ เพื่อให้ประชาชนสามารถมีรายได้ที่เพียงพอและมั่นคง และการเสริมสร้างความรู้ทางการเงิน เพื่อสร้างความตระหนักถึงการวางแผนทางการเงินและส่งเสริมการบริหารจัดการด้านการเงินอย่างถูกต้อง ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนเข้าใจถึงการเป็นหนี้และ
มีการวางแผนทางการเงิน ซึ่งจะสามารถแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนได้อย่างยั่งยืน เช่น

• การส่งเสริมการออมผ่านเงินฝากเผื่อเรียกพิเศษเพื่อการเกษียณ 10 ปี ดอกเบี้ยแบบ Step up สูงสุดร้อยละ 9 ต่อปี ในปีที่ 10 คิดเป็นดอกเบี้ยเฉลี่ยร้อยละ 3.45 ต่อปี โดยธนาคารออมสิน


• การให้คำปรึกษาทางออกให้ธุรกิจโดยโค้ชมืออาชีพ โดยธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย การให้บริการคำปรึกษาทางการเงินผ่าน บสย. F.A. Center การให้คำปรึกษาผ่านโครงการหมอหนี้เพื่อประชาชนโดยธนาคารแห่งประเทศไทย การให้ข้อเสนอแนะในการประกอบธุรกิจโดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม


• การให้ความรู้ทางการเงินโดยกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา กองทุนการออมแห่งชาติ 
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

 

​นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมอื่น ๆ ที่น่าสนใจตลอดงาน เช่น การตรวจข้อมูลเครดิตโดยบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด การขายสินทรัพย์ NPA ของสถาบันการเงิน บริษัท บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด บริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด และบริษัท บริหารสินทรัพย์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย จำกัด รวมทั้งกิจกรรมเสวนาให้ความรู้เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจโดยผู้ทรงคุณวุฒิตลอดงาน
 

นอกจากงาน "มหกรรมร่วมใจแก้หนี้"  ครั้งนี้แล้ว ยังมีกำหนดจัดมหกรรมในลักษณะเดียวกันอีก 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานผ่านช่องทางเดียวกัน ได้แก่

-​ครั้งที่ 2 จังหวัดขอนแก่น วันที่ 18 - 20 พฤศจิกายน 2565 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติขอนแก่น

-​ครั้งที่ 3 จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 16 – 18 ธันวาคม 2565 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเชียงใหม่
-​ครั้งที่ 4 จังหวัดชลบุรี วันที่ 20 – 22 มกราคม 2566 ณ ศาลาประชาคมเทศบาลเมืองบ้านสวน
-​ครั้งที่ 5 จังหวัดสงขลา วันที่ 27 – 29 มกราคม 2566 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
 


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
1. สมาคมสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ โทร. 02 202 1868 หรือ 02 202 1961
2. ธนาคารออมสิน โทร. 02 299 8000 หรือสายด่วน 1115
3. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 02 111 1111
4. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โทร. 02 555 0555
5. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ โทร. 02 645 9000
6. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย โทร. 02 265 3000 หรือสายด่วน 1357
7. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย โทร. 02 271 3700 หรือสายด่วน 02 037 6099
8. ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย โทร. 02 264 3345 หรือสายด่วน 1302
9. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม โทร. 02 890 9999


 

ติดตาม คมชัดลึก ที่นี่
Facebook : https://www.facebook.com/komchadluek/
YouTube : https://www.youtube.com/channel/UCnniqWGq9lOqYd5sGWxVi7

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ