ข่าว

จี้เอาผิดตร.ทุกคนคดีลุงเปี๊ยก ด้าน 'บิ๊กโจ๊ก' รื้อ 5 คดี 5 ทรชนเคยก่อเหตุ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กมธ.ตร.-กมธ.สวัสดิการ จี้ดำเนินคดีตำรวจเอี่ยวคดี 'ลุงเปี๊ยก' เผย 'บิ๊กโจ๊ก' สั่งเอาผิดดาบตร.คลุมถุงดำ บังคับสารภาพ พร้อมแจ้งความย้อนหลัก 5 ทรชน 5 คดี ขณะที่หารือแก้ กม.ลงโทษเยาวชน ยังไม่คืบ

นายชัยชนะ เดชเดโช ประธานคณะกรรมาธิการการตำรวจสภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วย นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ประธานคณะกรรมาธิการสวัสดิการสังคม ร่วมแถลงข่าวกรณีนางบัวผัน ตันสุ หรือ ป้ากบ ถูกกลุ่มเด็กเยาวชนก่อเหตุทำร้ายร่างกายจนเสียชีวิต

 

นายชัยชนะ เปิดเผยว่า ข้อมูลล่าสุดเมื่อคืนที่ผ่านมาว่า ลุงเปี๊ยกโดนกระทำทรมานบังคับให้รับสารภาพ จากตำรวจยศ ดาบตำรวจมีบุคลิกขาเป๋ ซึ่งเป็นตำรวจอยู่ที่ สภ.อรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ซึ่งการกระทำของตำรวจที่คลุมถุงดำ ได้กระทำความผิดตามมาตรา 5 พ.ร.บ.อุ้มหาย โทษจำคุกตั้งแต่ 5-15 ปี และปรับ 1-3 แสนบาท 

ขณะนี้พล.ต.อ.สุรเชษฐ หักพาล รอง ผบ.ตร. ได้สั่งผู้บังคับบัญชาแจ้งความดำเนินคดีกับดาบตำรวจนายนี้แล้ว รวมถึงดำเนินคดีกับรองผู้กำกับสืบสวนในฐานะรับทราบในการกระทำดังกล่าวด้วย แต่ไม่ห้าม มีความผิดตามมาตรา 157 ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

 

นอกจากนี้ยังได้สั่งดำเนินคดีย้อนหลังกับ 5 เยาวชน ตอนนี้มี 5 คดีที่กระทำความผิดก่อนหน้านี้

 

นายชัยชนะ กล่าวว่า วันนี้ไม่ได้ไปพบลุงเปี๊ยก เนื่องจากลุงเปี๊ยกต้องเข้ารักษาที่สถาบันธัญญารักษ์ เพราะมีอาการแอลกอฮอล์ลิซึ่ม หลังจากนั้นหากอาการดีขึ้น ก็จะเข้าไปพบและถามว่าพอใจในกระทำการของตำรวจแล้วหรือยัง และหลังจากนี้ต้องการเรียกร้องและอยากได้รับการเยียยาอย่างไรบ้าง ซึ่งเป็นหน้าที่ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมันคงของมนุษย์ หรือ พม. เข้าไปดูแลเรื่องนี้

นายชัยชนะ กล่าวว่า เยาวชนที่ก่อเหตุได้รับสารภาพก่อนที่จะกระทำความผิดได้ดื่มน้ำมึนเมา ซึ่งเป็นปัญหาหลัก จึงอยากให้รัฐบาลปราบปรามยาเสพติดอย่างเด็ดขาด เพราะปัญหาสังคมปัจจุบันมาจากยาเสพติด และพนันออนไลน์เป็นหลัก

 

พร้อมฝากถึงตำรวจบ้านในการทำคดีต้องดูให้เรียบร้อยอย่าเร่งรีบอย่านำคนไม่ได้กระทำความผิดมาลงโทษ ซึ่งไม่เกิดความเป็นธรรมในสังคม รวมให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ขอให้ดำเนินคดีให้ถึงที่สุดกับตำรวจทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งหากลุงเปี๊ยกได้รับการบำบัดเรียบร้อยแล้ว และมีตัวที่ร่วมคลุมถุงดำเพิ่มเติม ทางรอง ผบ.ตร.ก็ยืนยันว่าพร้อมจะรับฟัง

 

ส่วนการแก้บทลงโทษเด็กและเยาวชน มองว่า หากจะมีการแก้กฎหมายในอนาคตต้องกำหนดว่าการกระทำความผิดร้านแรงแบบไหน เช่น ฆ่าผู้อื่นโดยการไตร่ตรองไว้ก่อน เมื่อคุมขังที่สถานพินิจครบอายุ 18 ปีแล้ว ต้องไปรับโทษต่อที่เรือนจำ เพราะอนาคตคนที่คิดจะฆ่าผู้อื่นก็จะเยาวชนเป็นเครื่องมือได้

 

อย่างไรก็ตาม มั่นใจในพยานหลักฐานที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติลงมาหาข้อเท็จจริง เชื่อว่าจะสามารถดำเนินคดีกับตำรวจที่กระทำผิดได้ เพราะว่ามีหลักฐานคลิปเสียงคำรับสารภาพของตำรวจที่คลุมถุงดำชัดเจน รวมถึงลุงเปี๊ยกยังชี้ตัวผู้กระทำผิดได้ถูกต้อง 

 

ด้านนายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ประธานคณะกรรมธิการสวัสดิการสังคม เปิดเผยว่า วันนี้มีข้อร้องเรียนจากสังคมจำนวนมากถึงข้อกฎหมายการคุ้มครองและบทลงโทษกับเด็กและเยาวชน เพราะมีเยาวชนทำผิด ความรุนแรงทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ชีวิต ซึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 73,74,75 ระบุว่า เด็กที่ไม่เกิน 12 ปีต้องระวางโทษ ไม่ต้องรับโทษแต่ให้ผู้พิพากาษสั่งการอย่างใดอย่างหนึ่งได้ ตาม (1),(2),(3) หนึ่งในนั้นคือการส่งไปยังสถานพินิจ แต่อยู่ในสถานพินิจได้ไม่เกินอายุ 18 ปี 

 

สังคมมองว่าเป็นการลงโทษที่เบามาก ไม่สมควรแก่เหตุ ในเรื่องนี้ กมธ.สวัสดิการได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นักสิทธิเด็กต่างๆ มาหารืออีกครั้งเมื่องานนี้ ได้พุดคุยเรื่องบทโทษ ซึ่งข้อสรุปยังไปไม่ถึงการแก้กฎหมาย เพราะกฎหมายฉบับนี้มีเจตนารมณ์ต้องการให้โอกาสเด็กที่พลาดพลั้งกระทำความผิด 

 

แต่กรณีที่ผ่านมามีหลายครั้งที่การกระทำความผิดรุนแรงและซ้ำซาก คุ้นชินต่อการกระทำความผิด และทุกครั้งที่กระทำผิดไม่เคยได้รับโทษหรือมีการใช้กลไกบางอย่างช่วยเหลือ หรือครอบครัวส่งเสริมให้กระทำผิด ต้องมีการพูดคุยกันอย่างจริงจังต่อไปและบทลงโทษของเด็กเพิ่งมีการเปลี่ยนเมื่อปี 2565 จากอายุ 10 ปีเป็น 12 ปี ดังนั้นในคณะกรรมาธิการ จึงยังไม่เห็นด้วยหากจะเปลี่ยนกลับไปกลับมาเพื่อกรณีใดกรณีหนึ่ง แต่ยืนยันว่าจะยังเดินหน้าต่อในเรื่องนี้ โดยในสัปดาห์หน้าจะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมหารือ สุดท้ายหากเกิดเหตุรุนแรงเกิดขึ้นจะดำเนินอย่างไร

 

ส่วนวิกฤตศรัทธาต่อกระบวนการยุติธรรมที่สังคมตั้งคำถาม ยังมีอีกกี่ครั้งที่ผู้กระทำความผิดไม่ได้รับโทษ และมีเจ้าหน้าที่เข้าไปช่วยเหลือ โยนความผิดให้คนที่ไม่สามารถต่อสู้คดีได้ เช่น คนเร่ร่อน คนโรคจิต คนยากจน หากไม่มีวัตถุพยาน เช่น กล้องวงจรปิด ก็อาจทำให้ผู้ที่ไม่ได้กระทำผิดจริง อย่างเช่น ลุงเปี๊ยกถูกดำเนินคดีมองว่า เรื่องนี้เป็นกรณีตัวอย่างที่สะท้อนวิกฤตความศรัทธาของตำรวจ จึงได้หารือกับ กมธ.ตำรวจว่าควรจะหารือเรื่องนี้อย่างจริงจัง

 

ส่วนเรื่องการแก้ปัญหาคนเร่ร่อน คนไร้บ้าน เมื่อวานนี้ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและมูลนิธิต่างๆ มาพูดคุย พบว่าคนกลุ่มนี้ถูกกระทำจากกลุ่มผู้มีอิทธิพล ถูกกลั่นแกล้ง ที่อยู่บริเวณต่างๆ ซึ่งเป็นพฤติกรรมเลียนแบบและสร้สงความรุนแรง เมื่อคนเล่าหนี้ตอบโต้กลายเป็นเขาผิด ซึ่ง พม.ยอมรับว่า ศูนย์พักพิงทั่วประเทศมีทั้งหมด 11 แห่ง มีคนอยู่ในการดูแลเพียง 5,000 คน ซึ่งยังมีอีกหลายพันคนและหลายหมื่นคนที่อยู่ตามจุดต่างๆ และเป็นกรณีที่คล้ายกับกรณีของป้ากบ ซึ่งตั้งคำถามยังมีอีกกี่เคสที่ถูกทำร้ายต้องทรมาณและอาจซ้ำรอยป้ากบ ซึ่งกมธ.สวัสดิการ ยืนยันว่า ไม่นิ่งนอนใจ ได่เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหารือถึงแนงทางการบริหารจัดการกลุ่มคนไร้บ้านว่าจะดำเนินการอย่างไรให้มีความปลอดภัย

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ