ข่าว

'รังสิมันต์ โรม' แย้ม อดีตตำรวจใหญ่ ส.เสือ แทรกแซง ถอนหมายจับ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

'รังสิมันต์ โรม' ชี้ ตำรวจมีผลงาน โดนด่า ไม่แจ้ง ออกหมายจับ 'สว.ทรงเอ' ระบุ อดีตตำรวจระดับสูง ชื่อย่อ ส.เสือ วิ่งเต้นช่วย ด้าน นักวิชากการนิติศาสตร์ ระบุ ไม่ควรแทรกแซงผู้พิพากษา

การถอนหมายจับ สว.ทรงเอ กลายเป็นเรื่องใหญ่ รับต้นสัปดาห์นี้ รายการ คมชัดลึก เนชั่นทีวี พูดคุยเรื่องนี้ในประเด็น เบื้องหลัง “ศาล” ถอนหมายจับ 

นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล
นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวว่า หลังการอภิปรายไปแล้วไม่เห็นความเคลื่อนไหวและมีความพยายามที่จะทำให้มันเงียบ และการพยายามถอนหมายจับตั้งแต่ 3 ต.ค. 2565 ผ่านมาแล้ว 160 กว่าวัน ไม่มีความเคลื่อนไหวของคดี และการเปิดเผยของตำรวจเจ้าของคดี ในการถอนหมายจับ และตำรวจชั้นผู้ใหญ่ที่วิ่งเต้นให้ถอนหมายจับ การไปแถลงข่าวที่กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (บช.ปส.) ครั้งนี้ หวังที่จะให้ฝ่ายที่ติดตามหรือมีภารกิจ หน้าที่ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้  เพื่อควรจะทำหน้าที่ของตัวเองให้ดี  เพื่อให้เกิดการทำงานให้ประชาชนเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม 


เอกสารของตำรวจเจ้าของคดี ได้เอ่ยถึงนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่นั้น ตอนนี้ยังไม่ขอเปิดเผยชื่อ ตัวย่อ ส.เสือ มีความพยายามที่จะตัดพยานหลักฐานของ สว.ทรงเอออกไป เป็นนายตำรวจที่บอกชื่อไปคนรู้จักทั้งประเทศ เป็นเรื่องที่น่าเศร้าที่นายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ขนาดนี้กลับแทรกแซงพยายามหลักฐาน เพื่อให้ สว.ทรงเอ หลุดรอดไปได้ เท่ากับทำให้ ทุน มิน ลัต ก็หลุดรอดไปได้ด้วย และมีความเกี่ยวพัน ไปถึงนายกรัฐมนตรีด้วยซ้ำไป

ในส่วนของเอกสารการประชุมของกองบัญชาการตำรวจนครบาล ที่หลุดออกมาลงวันที่ 26ม.ค. 2566 ในเรื่องของการพยายามออกหมายจับ สว.ทรงเอ มีการเรียกชุดทำงานกองกับกำกับการสืบสวน 2 ที่มีงานในเรื่องแค่ การจับกุม ทุน มิน ลัต และพยายามออกหมายจับสว.ทรงเอ  เข้าไปด่า เหตุผลว่า กองนี้ไม่ค่อยมีผลงาน แต่พอเป็นเรื่องนี้กลับพยายามขอออกหมายจับ แล้วไม่แจ้งผู้บังคับบัญชา ทำให้มองว่ามีความพยายามแทรกแซงช่วยเหลือ การที่ไปตำหนิว่าชุดสอบสวนไม่มีผลงาน เป็นการไปดิสเครดิต และจะทำให้เจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อยเสียกำลังใจหรือไม่ รวมทั้งถ้าบอกว่าเขาไม่ทำงาน แต่ทางผู้กำกับการกลับได้รับรางวัลทำงานดีเด่น ในเดือน ต.ค. 2565 และตอบคำถามสังคมไม่ได้ ในการย้ายตำรวจที่มีผลงาน การรวบรวมพยานหลักฐานไม่ใช่เรื่องงาน แล้วนี่ยังเจอกับเส้นใหญ่ ยิ่งเป็นเรื่องยาก ไหนจะเรื่องเส้นทางการเงิน บัญชีม้าต่างๆ แต่การไปย้าย มันเกินกว่าเหตุหรือไม่ ตนคิดว่าไม่สมเหตุสมผล 

รศ.ดร.มุนินทร์ พาศาปาน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ด้าน รศ.ดร.มุนินทร์ พาศาปาน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ในเรื่องการออกจดหมายชี้แจงของตำรวจนั้น ถ้าดูตามหลักการแล้ว เป็นเรื่องที่ตำรวจที่เกี่ยวข้องทำรายงานข้อเท็จจริง ที่อยู่ในเหตุการณ์ ยังไม่เห็นข้อเท็จจริงจากผู้ถูกกล่าวหา พาดพิง ถ้าเหตุการณ์เป็นจริงตามจดหมายระบุ ถือว่าเป็นเรื่องที่ร้ายแรงมาก มันกระทบต่อความเชื่อมั่นใจกระบวนการยุติธรรม เพราะหลักสำคัญของผู้พิพากษา คือความมีอิสระ เป็นมาตราแรกๆ ของรัฐธรรมนูญที่ระบุถึงเรื่องเกี่ยวกับศาลที่รับรองจะไม่ถูกแทรกแซง 

ถ้าเกิดมีข้อเท็จจริงว่า ผู้บริหารศาล หรือหัวหน้าศาล มีลักษณะในการบริหารจัดการ พยายามเข้ามาแทรกแซง หรือมากดดันผู้พิพากษา ที่มีอำนาจในการวินิจฉัย ในการออกคำสั่ง เป็นเรื่องที่น่าวิตกกังวลมาก ตนคิดว่า ประชาชนก็จะมีความสงสัยว่า ในการพิจารณาคดี ในการออกคำสั่ง มีความพยายามแทรกแซง กดดัน กันอยู่ตลอดเวลาใช่หรือไม่ แล้วสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ยิ่งทำให้น่ากังวลใหญ่ เพราะเมื่อไม่นานที่ผ่านมา มีการกล่าวหากันในคดีบางประเภท เช่น คดี 112 มีความพยายาม ของท่านผู้บริหารศาลต่าง ๆ เข้ามา ก้าวก่าย กดดันแทรกแซง ผู้พิพากษา แสดงว่าที่คนคิดกันอยู่ในคดีอื่นๆ มีความจริงอยู่หรือเปล่า 


หลักความเป็นอิสระของตุลาการนั้น เป็นหลักสำคัญ ที่เป็นรากฐานของระบอบประชาธิปไตย และเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนด้วย รัฐธรรมนูญให้หลักประกันต่อผู้พิพากษาที่สั่งดำเนินคดี แต่กฎหมายอื่นๆ ที่ว่าด้วยศาลก็ดี รัฐธรรมนูญศาลยุติธรรมก็ดี หรือกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ที่ประธานศาลฎีกา หรือผู้บริหารศาลออกมา กลไกเหล่านี้ออกมาเพียงเพื่อกำหนดวิธีการทำงานภายใน เพื่อให้ผู้พิพากษาใช้ดุลยพินิจได้อย่างอิสระ และไม่ถูกแทรกแซง ไม่ใช่ว่าเอากฎหมายเฉพาะเหล่านั้น มาเป็นข้ออ้างหรือความชอบธรรม ในการไปแทรกแซงความเป็นอิสระของผู้พิพากษา ในการพิจารณาคดี เรื่องพวกนี้ไม่ควรปล่อยให้เกิดขึ้นได้ในกระบวนการยุติธรรม.
 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ