ข่าว

คลายข้อสงสัย หวานเท่าไหร่ถึงเสีย "ภาษีความหวาน" หลังแม่ค้าน้ำส้มถูกรีดค่าปรับ 

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ประเด็นแม่ค้าน้ำส้มถูกเจ้าหน้าที่ล่อซื้อน้ำส้ม 500 ขวด ก่อนจะถูกรีดเงินค่าปรับ จนกลายเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการกังวลเกี่ยวการถูกปรับ โดยปัจจุบันมีการเรียกเก็บ"ภาษีความหวาน" จริง แต่จะแตกต่างกันที่ระดับน้ำตาล 

     ประเด็นร้อนแรงบนโลกออนไลน์นาทีนี้คงไม่พ้นประเด็นแม่ค้าน้ำส้ม ถูกเจ้าหน้าที่หน่วนงานหนึ่งเรียกขอดูอนุญาตในการผลิตน้ำส้มขาย หลังร้านน้ำส้มแห่งนี้ได้รับออร์เดอร์ให้ผลิตน้ำส้ม 500 ขวด แต่ต่อมาพบว่าบุคคลที่สั่งน้ำส้มเป็นกลุ่มเดียวที่อ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่มาเรียกขอดูใบอนุญาต ภาษีความหวาน ก่อนจะเรียกค่าปรับเป็นเงิน 12000 บาท 

     แต่อย่างไรก็ดีต่อมาทางสรรพสามิต ได้ออกมาชี้แจงแล้วว่าไม่ได้มีการเรียกค่าปรับแต่อย่างใด โดยชี้อีกว่าพฤติกรรมของร้านน้ำส้มเข้าข่ายต้องเสียภาษีในการผลิตน้ำส้มให้ถูกต้อง 

     ขณะที่ทางเจ้าของร้านน้ำส้มดังกล่าวได้เปิดเผยกับทีมข่าวคมชัดลึกออนไลน์ว่าได้โอนเงินให้ลูกน้องในร้านจำนวน 12000 บาท ก่อนที่ลูกน้องในร้านจะไปกดเงินมาจ่ายให้กลุ่มเจ้าหน้าที่จริง     

ข่าวที่เกี่ยวข้อง ด่วน เด้งแล้ว "5 สรรพสามิต" ล่อซื้อน้ำส้ม พร้อมตั้งกรรมการสอบซ้ำ

 

  
    

     ความคืบหน้าล่าสุดเช้าวันนี้ มีรายงานว่า นายลวรณ แสงสนิท อธิบดีกรมสรรพสามิต ได้เซ็นต์คำสั่งให้เจ้าหน้าที่กลุ่มดังกล่าว จำนวน 5 นาย จากสรรพสามิตเขต 5 มาปฎิบัติงานที่สำนักงานสรรพสามิตภาคที่ 10  พร้อมตั้งคณะกรรมการสอบข้อจริงถึงเรื่องดังกล่าวแล้ว

     จากกรณีนี้ทำให้หลายคนสงสัยว่าภาษีความหวานในน้ำผลไม้หรือน้ำหวานที่บรรดาพ่อค้าแม่ค้าหรือประชาชนคนธรรมดาที่ทำอาชีพเสริมด้วยการผลิตเครื่องที่มีความหวานขาย เพื่อหารายได้เพิ่มเติม ยิ่งในยุคเศรษฐกิจแบบนี้ท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 หลายคนเริ่มลังเลในการขายน้ำ กลัวว่าจะถูกทางสรรพสามิต มาปรับเงิน ภาษีความหวาน

      โดยที่ผ่านมาภาษีเครื่องดื่มที่มีสารความหวาน ได้กำหนดอัตราภาษีเพิ่มขึ้นเป็น 4 ระยะ ปัจจุบันจัดเก็บอยู่ในอัตราระยะที่ 2  โดย 1 ต.ค.64 จะปรับขึ้นเป็นระยะที่ 3 ซึ่งจะมีการคิดอัตราภาษีก้าวกระโดดขึ้นมาก แบ่งเป็น 

     ปริมาณน้ำตาล 6-8 กรัม เดิมคิดอัตราภาษี 0.10 บาท/ลิตร ปรับขึ้น 0.30 บาท/ลิตร

     ปริมาณน้ำตาล 8-10 กรัม เดิมคิดอัตราภาษี 0.30 บาท/ลิตร ปรับขึ้น 1 บาท/ลิตร

     ปริมาณน้ำตาล 10-14 กรัม เดิมคิดอัตราภาษี 1 บาท/ลิตร ปรับขึ้น 3 บาท/ลิตร

     ปริมาณน้ำตาล 14-18 กรัม เดิมคิดอัตราภาษี 3 บาท/ลิตร ปรับขึ้น 5 บาท/ลิตร 

      ทำไมรัฐถึงต้องเก็บภาษีความหวาน 

      วัตถุประสงค์หลักของการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มตามปริมาณน้ำตาล คือ

      1. เพื่อให้ผู้ผลิตและนำเข้าเครื่องดื่ม มีแรงจูงใจในการปรับสูตรการผลิต หรือผลิตสินค้าทางเลือกเพื่อสุขภาพที่มีปริมาณน้ำตาลที่เหมาะสมที่ 6 กรัมต่อปริมาณเครื่องดื่ม 100 มิลลิลิตร

      2. เพิ่มรายได้ภาครัฐจากการจัดเก็บภาษี

      3. เพื่อลดพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่ม รสหวานของคนไทย

      4. ลดความชุกของโรค ไม่ติดต่อเรื้อรังและโรคฟันผุ

      แต่อย่างไรก็ดีทาง ขณะนี้ทางกรมสรรพสามิตอยู่ระหว่างการพิจารณาเรื่องการชะลอปรับขึ้นภาษีเครื่องดื่มที่มีความหวาน เพื่อบรรเทาผลกระทบให้กับผู้ประกอบการในช่วงโควิด-19 เนื่องจาก ในวันที่ 1 ต.ค.64 จะครบกำหนดเวลาที่ต้องมีการปรับขึ้นภาษีตามขั้นบันได จากระยะที่ 2 ไประยะที่ 3 ซึ่งจะเป็นการลดภาระให้กับผู้ประกอบการและผู้บริโภค 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ