พระเครื่อง

"หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ"พระเกจิอีก 1 รูปในจังหวัดสุรินทร์สร้างชื่อ "เมตตามหานิยม" และ "เครื่องรางของขลัง"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ใครบ้างที่ไม่รู้จัก "หลวงปู่หงษ์" พระเกจิแห่ง "สุสานทุ่งมน"ในจังหวัดสุรินทร์ ที่มีเรื่องราวกล่าวขานในระหว่างออกจาริกถือธุดงควัตรจนทำให้ชาวกัมพูชาต้องเลื่อมใสและเคารพกราบไหว้ในบารมีและพุทธคุณ

เมื่อต้องพูดถึงพระเกจิชื่อดังในจังหวัดสุรินทร์นั้น หลายคนต้องถึงบางอ้อและกล่าวขานถึงด้วยกันหลายรูป ไม่ว่าจะเป็นหลวงปู่ดูลย์ หลวงปู่เจียม หลวงปู่ธรรมรังษี  และหลวงปู่หงษ์  ที่ล้วนเปี่ยมไปด้วยความเมตตาและบารมี  มีจริยาวัตรที่งดงามจนมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย  แต่สำหรับวันนี้เราก็ขอหยิบยกมาเล่าให้ฟังถึง "หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ” หรือ "พระครูปราสาทพรหมณคุณ" แห่ง “สุสานทุ่งมน” ในตำบลทุ่งมน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ 

 

แม้ว่าหลวงปู่หงษ์จะได้ละสังขารไปตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2557 ด้วยวัย 97 ปี ในพรรษาที่ 77 แต่บรรดาเหล่าศิษยานุศิษย์ต่างก็ยังคงระลึกถึงและเข้ามากราบไหว้สังขารของท่านที่ประสาทเพชร สุสานทุ่งมน อย่างไม่ขาดสาย เพราะเรื่องราวของท่านยังคงถูกกล่าวขานจากรุ่นสู่รุ่นมาโดยตลอด โดยเฉพาะในเรื่องของพุทธคุณ เมตตามหานิยม  กำบังภัยแคล้วคลาดจากอาวุธต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งการแก้คุณไสย ในสมัยที่ท่านได้จาริกธุดงค์ไปยังกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา


“หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ” เดิมนามว่า สุวรรณหงษ์ จะมัวดี  เกิดเมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๑ ที่บ้านทุ่งมน จบการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ที่โรงเรียนวัดอุทุมพร บ้านทุ่งมน ในตำบลเพชรบุรี อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์  เมื่ออายุได้ ๑๘ ปี มารดารขอร้องให้บวชเณรเป็นระยะเวลา 7 วัน  เด็กชายสุวรรณหงษ์จึงตัดสินใจบวชเป็นสามเณรด้วยความกตัญญูกตเวทีที่มีต่อมารดาโดยไม่บ่ายเบี่ยง  และเมื่อเวลาครบ 7 วันเด็กชายสุวรรณหงษ์กลับรู้สึกเลื่อมใสในร่มกาสาวพัสตร์ในพระพุทธศาสนาจึงไม่ได้ทำการสึกจากเณร และได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อครบอายุเกณฑ์ 20 ปี ณ วัดเพชรบุรี ตำบลทุ่งมน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ โดยมีพระอาจารย์แป้นเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า”พรหมปัญโญ” แปลว่า “ผู้มีปัญญาดุจพรหม”  ในการนี้ การศึกษาพระปริยัติธรรม เป็นความภาคภูมิใจที่หลวงปู่หงส์ได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียน และยังได้มีความอุตสาหะในการแสวงหาความรู้จากครูบาอาจารย์มากมาย และด้วยความมีวิริยะอุตสาหะนี่เอง หลวงปู่หงส์ได้จดจำภาษาบาลีอย่างแม่นยำจนกระทั่งสามารถสอบนักธรรมชั้นตรีได้ในปี พ.ศ. ๒๔๘๒ และต่อมาในปีพ.ศ. ๒๔๘๓ ได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนผู้ใหญ่เพิ่มเติมจนสอบได้ระดับปลายภาคจากวัดศรีลำยอง ตำบลสมุด อำเภอประสาท  ต่อมาเมื่อบวชครบ 3 พรรษาหลวงปู่หงษ์จึงได้ออกจาริกถือธุดงควัตรตามแบบฉบับแห่งพระบรมครู พักอาศัยอยู่ตามโคนไม้ หาที่สงบสัปปายะ เจริญภาวนาที่ป่าช้าตั้งอต่ช่วงเช้าจนถึงค่ำ ฉันภัตราหารเพียงวันละมื้อก่อนที่จะเลือกเพียรหาในการแสวงหาความรู้สรรพศาสตร์มนตราจากครูบาอาจารย์ในเมืองขุขันธ์ จังหวัดศรีษะเกษ  และได้จาริกธุดงค์ข้ามประเทศไปยังกรุงพนมเปญประเทศกัมพูชา

 

"หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ"พระเกจิอีก 1 รูปในจังหวัดสุรินทร์สร้างชื่อ "เมตตามหานิยม" และ "เครื่องรางของขลัง"

 

"หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ"พระเกจิอีก 1 รูปในจังหวัดสุรินทร์สร้างชื่อ "เมตตามหานิยม" และ "เครื่องรางของขลัง"

 

 

 

 

 

 

 

นี่ก็เป็นจุดเริ่มต้นของหลวงปู่หงส์ที่ทำให้หลายคนได้รู้จักท่านมากขึ้นเป็นที่กว้างขวาง จากการที่หลวงปู่หงษ์ได้ศึกษาเล่าเรียน วิชาเมตตามหานิยม กำบังภัยคุ้มครองแคล้วคลาดกันจากอาวุธปีน หอก ดาบ เขี้ยว งา และการป้องกันคุณไสย หุพิธีสีผึ้งและทำน้ำมนต์รดอาบแก้สิ่งไม่ดี อีกทั้งยังมีเรื่องราวของกลุ่มโจรในประเทศกัมพูชาที่มีวิชาอาคมแก่งกล้าออกปล้นสะดมจนทางการกัมพูชาต้องมาร้องขอให้หลวงปู่หงษ์ช่วยจับกุม จนกระทั่งกลุ่มโจรนี้กว่า 50 คนต่างก็ขอหลวงปู่หงษ์เป็นศิษยานุศิษย์ร่วมเดินรอยตามพระพุทธศาสนา อีกทั้งยังมีเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสมัยสงครามโลกที่มีทั้งลูกระเบิด ลูกปืนใหญ่ตกใส่ในพื้นที่ที่หลวงปู่หงษ์อยู่กับชาวบ้านในหมู่บ้านกรูกลับไม่ระเบิด จนทำให้ชาวบ้านเกิดความเลื่อมใสและศรัทธากันเป็นจำนวนมาก และยังมีเรื่องเล่าอีกมากมายภายหลังที่ท่านได้กลับมาจำวัดอยู่ที่“สุสานทุ่งมน” หรือ “วัดเพชรบุรี”  ในตำบลทุ่งมน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์  โดยต่อมาหลวงปู่หงษ์ ได้รับสมณศักดิ์ในปี พ.ศ. ๒๕๒๓  ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ในราชทินนามที่”พระครูประสาทพรหมคุณ” ต่อมา ในพ.ศ. ๒๕๓๕ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ในราชทินนามเดิม  

 

 

พระครูประสาทพรหมคุณ หรือ หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ   ท่านร่ำเรียนวิชาไสยเวทย์หลายแขนงจึงได้สร้างเครื่องรางของขลังมากมายให้เป็นของที่สะสมและบูชาไว้หลายรุ่น   เช่น  รุ่น “ขุดสระ”  ชุดประวัติศาสตร์ (รุ่นพิเศษ)  พระกริ่ง “แซยิด ๘๐ ปี” เพื่อไว้เป็นที่ระลึกในการฉลองอายุครบ ๘๐ ปี  ยังมีรูปหล่อเหมือนโบราณ เหรียญเสมาเนื้อโลหะต่างๆ รูปหล่อเหมือนบูชา และกริชสำริดที่จัดสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๑  โดย “กองทุนมูลนิธิปลูกป่าหลวงปู่หงษ์” ตามเจตนารมณ์ของท่านเพื่อจัดซื้อที่ดินปลูกป่า และสร้างแหล่งน้ำเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์บกและสัตว์น้ำนานาชนิดและเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติในอีกทางหนึ่งด้วย  ต่อมาก็จะเป็นรูปหล่อเหมือนหลวงปู่หงษ์ รุ่น”นั่งรวย”ที่ใช้หนังเสือทำตะกรุดผสมผสานกับดินที่ประเทศอเมริกามาเป็นฐานรองรูปหล่อ ที่เชื่อกันว่ารุ่นนี้หลวงปู่สร้างให้ศิษยานุศิษย์ได้ “รวย รวย รวย” 

 

"หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ"พระเกจิอีก 1 รูปในจังหวัดสุรินทร์สร้างชื่อ "เมตตามหานิยม" และ "เครื่องรางของขลัง"

 

 

"หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ"พระเกจิอีก 1 รูปในจังหวัดสุรินทร์สร้างชื่อ "เมตตามหานิยม" และ "เครื่องรางของขลัง"

 

 

 

 

นอกจากนี้ยังมี พระกริ่งอีก 2 รุ่น  ที่หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ ได้อธิษฐานจิต ๕ ปี ประกอบด้วย พระกริ่งเพชรสุรินทร์(รุ่นแรก) องค์พระบรรจุของมงคล ๑๙ อย่าง เกศา จีวร เล็บ พระธาตุสีวลี ตะกรุดทองคำ ข้าวสารดำพันปี เม็ดผงธาตุขันต์ เม็ดผงดินรวย ข้าวก้นบาตร เม็ดหินงอก เม็ดผงชัยวรมัน เม็ดผงสุริยันจันทรา เม็ดผงฤาษี ขลุยพญานาค ผงตะไบชินราช ทับทิม โอปอมหาลาภ สีผึ้งสาริกา  และพระกริ่งชัยวรมัน(โปร่งฟ้า)เนื้อทองคำ ในปี 2546 ที่มีจำนวนการสร้างเพียง ๑๙ องค์   

 

"หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ"พระเกจิอีก 1 รูปในจังหวัดสุรินทร์สร้างชื่อ "เมตตามหานิยม" และ "เครื่องรางของขลัง"

 

"หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ"พระเกจิอีก 1 รูปในจังหวัดสุรินทร์สร้างชื่อ "เมตตามหานิยม" และ "เครื่องรางของขลัง"

 

"หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ"พระเกจิอีก 1 รูปในจังหวัดสุรินทร์สร้างชื่อ "เมตตามหานิยม" และ "เครื่องรางของขลัง"

 

"หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ"พระเกจิอีก 1 รูปในจังหวัดสุรินทร์สร้างชื่อ "เมตตามหานิยม" และ "เครื่องรางของขลัง"

 


นามปากกา. "พาลีสีทอง"

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง  "พระอุเชนทร์ " (พระพิฆเนศ)  คู่บารมีพ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์

ว่านไพลดำ  พลังแห่งว่าน https://www.komchadluek.net/news/knowledge/469133

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ