ข่าว

สทนช.หยิบผลศึกษาสิ่งแวดล้อม แก้ปมลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สทนช.เดินหน้าขยายผลการศึกษาสิ่งแวดล้อม จัดการลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกเชิงลุ่มน้ำทั้งระบบ พร้อมเร่งหารือหน่วยเกี่ยวข้องวางกรอบมาตรการป้องกัน หลัง 6 จังหวัดภาคใต้เริ่มมีแนวโน้มเสี่ยงขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค

 

 

          ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่า การบริหารจัดการน้ำในเชิงลุ่มน้ำเป็นเรื่องที่ สทนช.ให้ความสำคัญ ซึ่งต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในระดับพื้นที่ร่วมให้ความเห็นเพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาที่แท้จริง ปัจจัยที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่นำไปสู่แนวทางการพัฒนาลุ่มน้ำอย่างเป็นระบบ โดย สทนช.ได้นำแนวทางการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) มาใช้ศึกษาเพื่อประเมินศักยภาพและข้อจำกัดของสิ่งแวดล้อมในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่รายลุ่มน้ำสำคัญของประเทศ

 

อ่านข่าวเกี่ยวข้อง

สทนช.เปิดเวทีครั้งที่ 2 แจงข้อมูลการสร้าง "เขื่อนหลวงพระบาง"

เจาะลึกกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ปรับทัพหน่วยงานร่วม"สู้ภัยแล้ง" 

สทนช.-พด. MOU ใช้แผนที่เพิ่มประสิทธิภาพจัดการลุ่มน้ำ

 

 

สทนช.หยิบผลศึกษาสิ่งแวดล้อม แก้ปมลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก

 

         รวมถึงล่าสุด คือ ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก ซึ่งดำเนินการศึกษาใกล้แล้วเสร็จ โดยมีการวิเคราะห์ผลกระทบในระดับภาพรวมและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแบบ“บนลงล่าง” และ “ล่างขึ้นบน” ในทุกขั้นตอนของการศึกษา บนฐานความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

 

สทนช.หยิบผลศึกษาสิ่งแวดล้อม แก้ปมลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก

 

          สำหรับพื้นที่ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีพื้นที่ประมาณ 16.26 ล้านไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 11 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ประจวบคีรีขันธ์ พัทลุง ยะลา ปัตตานี ระนอง สงขลา และสุราษฏร์ธานี โดยมีลุ่มน้ำตาปี ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา และลุ่มน้ำปัตตานีแทรกตัวเป็นช่วงๆ มีปริมาณฝนเฉลี่ยรายปี 2,197 มิลลิเมตร ปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ย 24,563 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะที่ศักยภาพเก็บกักในแหล่งน้ำต่างในพื้นที่มีประมาณ 110 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี แต่มีความต้องการน้ำถึง 10,216 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ทำให้ภาคใต้ฝั่งตะวันออกประสบปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำตลอดมา ประกอบกับปัญหาการเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจในพื้นที่ทำให้มีแนวโน้มการขาดแคลนน้ำเพิ่มขึ้น รวมถึงการใช้ที่ดินที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้มีปัญหาด้านอุทกภัยเพิ่มขึ้นและส่งผลกระทบกับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่และก่อให้เกิดความเสียหายด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก   

 

 

 

 

สทนช.หยิบผลศึกษาสิ่งแวดล้อม แก้ปมลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก

 

          เลขาธิการ สทนช. กล่าวว่า สำหรับผลการศึกษาได้ดำเนินการถึงขั้นตอนการเสนอทางเลือกสำหรับการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก 4 ทางเลือก คือ ทางเลือกที่ 1 การพัฒนาพื้นที่ตามสภาพปัจจุบัน ทางเลือกที่ 2 การพัฒนาพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาเร่งด่วนและคุณภาพชีวิตขั้นพื้นฐาน ทางเลือกที่ 3 การพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจสาขาท่องเที่ยวและเกษตรกรรม และทางเลือกที่ 4 การพัฒนาพื้นที่เต็มศักยภาพ และยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคใต้และภาคใต้ชายแดน โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูลทางวิชาการร่วมกับผลการรับฟังความเห็นหรือการเรียนรู้ร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผ่านเวทีการประชุมทั้งในระดับลุ่มน้ำ และระดับลุ่มน้ำสาขา    

 

สทนช.หยิบผลศึกษาสิ่งแวดล้อม แก้ปมลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก

 

         ในเบื้องต้นผลจากการประชุมรับฟังความคิดเห็นเห็นว่า ทางเลือกที่เหมาะสมต่อการพัฒนานั้น ได้แก่ ทางเลือกที่ 3 การพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจสาขาท่องเที่ยวและเกษตรกรรม อย่างไรก็ตามในท้ายที่สุดของผลการศึกษาเมื่อได้มีการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างครบถ้วนรอบด้านแล้ว จะทำให้ได้กรอบแนวทางการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกในเชิงบูรณาการ และสอดคล้องกับการพัฒนาตามทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่มุ่งเน้นให้มีการจัดการน้ำเชิงลุ่มน้ำทั้งระบบเพื่อเพิ่มความมั่นคงด้านน้ำของประเทศอย่างแท้จริง

 

สทนช.หยิบผลศึกษาสิ่งแวดล้อม แก้ปมลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก

 

          อย่างไรก็ตาม นอกจากการจัดทำโครงการศึกษาการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) ของพื้นที่ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก เพื่อแก้ไขปัญหาทั้งระบบที่จะเกิดขึ้นในอนาคตแล้ว การบรรเทาผลกระทบกับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสภาพปัญหาในพื้นที่ก็เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ ซึ่งล่าสุด สทนช.ได้วิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำในพื้นที่ภาคใต้ 6 จังหวัด ได้แก่ สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา สตูล พัทลุง และภูเก็ต ซึ่งพบว่าปริมาณฝนตกน้อยอาจกระทบต่อการขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภคได้ในระยะ 1-2 เดือนข้างหน้านี้เนื่องจากฝนภาคใต้ตกน้อยกว่าค่าปกติ โดยล่าสุดกองอำนวยการน้ำได้เร่งดำเนินการวางมาตรการแก้ไขปัญหาโดยมีกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงเกษตรฯ เป็นเจ้าภาพหลักดำเนินการ.

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ