ข่าว

 แปรรูป"ไหมอีรี่"ส่งแดนอาทิตย์อุทัย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

 แปรรูป"ไหมอีรี่"ส่งแดนอาทิตย์อุทัย สินค้าเด่นกลุ่มทอผ้าหนองหญ้าปล้อง 

         ขอนแก่น ถือเป็นจังหวัดที่ขึ้นชื่อเลื่องลือในเรื่อง “ผ้าไหม” เพราะเป็นเมือง ที่ผลิตผ้าไหมสวยงามมากมายออกมาจำหน่าย แต่ที่ทราบกันดีว่าการทำผ้าไหมนั้น จะต้องมีการเลี้ยงหม่อนไหม เพื่อนำเส้นใยมาผลิตและแปรรูปออกมาจำหน่าย ซึ่งมีหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่มีการผลิตผ้าไหมออกมาจำหน่ายมากมาย แต่การเลี้ยงหม่อนที่หมู่บ้านแห่งนี้ ไม่ใช่การเลี้ยงหม่อนไหมที่คนส่วนใหญ่รู้จัก เพราะหม่อนไหมชนิดนี้ไม่ใช่หม่อนไหมธรรมดา นั้นก็คือ “ไหมอีรี่ ของกลุ่มทอผ้าบ้านหนองหญ้าปล้อง จ.ขอนแก่น”

 

       ศศิกมล สุจันทร์ ตัวแทนกลุ่มทอผ้าบ้านหนองหญ้าปล้อง จ.ขอนแก่น เล่าว่า เกิดจากกลุ่มแม่บ้านที่มีการเลี้ยงหม่อนไหมมาเป็นระยะเวลากว่า 10 ปี ซึ่งหม่อนไหม ที่กลุ่มแม่บ้านเลี้ยงมีชื่อว่า “ไหมอีรี่” เป็นหม่อนไหมที่ต่างจากหม่อนไหมที่คนส่วนใหญ่รู้จัก ต่อมากลุ่มแม่บ้านมีความเห็นว่าควรนำไหมอีรี่นั้นมาแปรรูปเพื่อสร้างรายได้ จึงนำไหมอีรี่นั้นมาทอเพื่อแปรรูปเป็นของของใช้ต่างๆ เช่น ผ้าคลุมไหล่ เสื้อ หมวก ผ้าพันคอ เป็นต้น

         เธอเล่าต่อว่า “ไหมอีรี่” แตกต่างจากหนอนไหมกินใบหม่อนทั่วไป นั่นก็คือ เป็นไหม ที่กินใบมันสำปะหลัง มีเส้นใยที่เป็นเอกลักษณ์ คือ เป็นเส้นใยที่เป็นเส้นปม ถ้าซักบ่อยๆ เส้นใยก็จะมีความนิ่มขึ้นเรื่อยๆ และที่สำคัญไหมอีรี่มีเส้นใยที่ใหญ่ หนา ซึมซับน้ำดี และระบายอากาศได้ดีกว่าไหมที่กินใบหม่อนทั่วไป แต่ถ้าต้องการให้เส้นใยมีสีสันสวยงาม ก็สามารถนำมาย้อมกับสีธรรมชาติตามที่ต้องการได้

        "เส้นใยเป็นเส้นปมที่แตกต่างจากไหมทั่วไป และถ้าต้องการให้เส้นใยมีสีสันที่สวยงามก็สามารถนำมาย้อมกับสีธรรมชาติได้ เช่น สีน้ำตาล ได้มาจาก เปลือกประดู่ สีเหลือง ได้มาจาก กระถิน และสีส้ม ได้มากจาก เปลือกฝาง เป็นต้น เส้นใยก็จะมีความหนา ใหญ่กว่าเส้นใยของไหมธรรมดาทั่วไป" ศศิกมลชี้จดเด่น พร้มอระบุว่า

         เนื่องจากเส้นใยของไหมอีรี่เป็นเส้นใยที่เป็นเส้นปม ใหญ่ หนา ซึมซับน้ำดี และระบายอากาศได้ดี จึงมีการนำไหมอีรี่นั้นมาแปรรูปเป็นของใช้ต่างๆ เช่น ผ้าคลุมไหล่ เสื้อ หมวก ผ้าพันคอ เป็นต้น เพื่อสร้างรายได้ให้กับกลุ่มแม่บ้านในการเลี้ยงดูตนเอง และครอบครัวอีกด้วย

          ตัวแทนกลุ่มทอผ้าคนเดิมยังกล่าวถึงการส่งออกผลิตภัณฑ์ไหมอีรี่ ซึ่งการทอ และการแปรรูป กลุ่มแม่บ้านก็แปรรูปด้วยตนเอง และมีการจำหน่ายด้วยตนเอง โดยไม่ต้องอาศัยพ่อค้าคนกลาง คนไทยที่สั่งไหมอีรี่ส่วนใหญ่จะสั่งเป็นเส้นใยหรือเป็นผ้าที่ทอสำเร็จแล้ว แต่ยังไม่มีการสั่งที่แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ นอกจากจะมีจำหน่ายในประเทศไทยแล้ว การแปรรูปไหมอีรี่ก็มีการส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศอีกด้วยอย่างเช่น ผ้าพันคอ ที่แปรรูป โดยไหมอีรี่ ก็ส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศ ซึ่งส่งออกไปจำหน่ายที่ประเทศญี่ปุ่น

       “ขั้นตอนในการส่งออก คือ จะมีพ่อค้าจากประเทศญี่ปุ่นเดินทางมาสั่งผ้าพันคอ ที่แปรรูป โดยไหมอีรี่ด้วยตนเอง ซึ่งมีการสั่งเป็นออเดอร์เพื่อนำไปจำหน่ายที่ประเทศ ของตนเอง แต่ส่วนใหญ่ก็จะเป็นคนไทยที่เป็นพ่อค้า แม่ค้าคนกลางมาสั่งทำแล้วส่งต่อไปจำหน่ายในต่างประเทศญี่ปุ่นอีกครั้งหนึ่ง”ศศิกมลกล่าว

        “ไหมอีรี่” กลุ่มทอผ้าบ้านหนองหญ้าปล้อง จ.ขอนแก่น นับเป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่น ที่ถ่ายทอดกันมาเป็นระยะเวลา 10 ปี ยังเป็นสิ่งที่สามารถสร้างรายได้ให้กับกลุ่มแม่บ้านและคนในชุมชนเพื่อเลี้ยงตนเองและครอบครัวอีกด้วย สำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับ “ผลิตภัณฑ์ไหมอีรี่” ก็สามารถเดินทางไปที่กลุ่มทอผ้าบ้านหนองหญ้าปล้อง ต.โพนเพ็ก อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น เพื่อไปเยี่ยมชมและซื้อไปใช้สอยหรือซื้อไปเป็นของฝากได้

   

“ผ้าขาวม้า"ย้อมสีดอกฝาง ใช้ภูมิปัญญาเพิ่มค่าผลิตภัณฑ์

       นอกจาก“ผ้าไหม”ที่ได้ชื่อว่าเป็นอีกผลิตภัณฑ์เด่นของจ.ขอนแก่นแล้วยังมีผ้าขาวม้าผลิตจากวัสดุธรรมชาติ ถือเป็นอีกผลิตภัณฑ์ติดดาวของจังหวัด โดยมีแหล่งผลิตหลักอยู่ที่อ.บ้านฝาง ซึ่งเป็นปผลงานเด่นของกลุ่มแม่บ้านแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้าย ซึ่งได้นำวัสดุที่อยู่ในท้องถิ่นของตัวเองมาใช้ในการย้อมผ้านั่นก็คือ “ต้นฝาง” ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำอำเภอบ้านฝางที่สามารถรักษาอาการชำในและสามารถนำมาใช้ในการย้อมผ้าซึ่งต้นฝางสามารถสร้างอาชีพให้แก่กลุ่มแม่บ้านและสร้างรายได้ในการเลี้ยงดูตนเองและครอบครัวได้อีกด้วย

        เตือนใจ คำสีทา ประธานกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายอำเภอบ้านฝาง จ.ขอนแก่น ย้อนอดีตให้ฟังว่าเริ่มต้นจากการนำต้นฝางมาใช้ในการรักษาอาการชำในในรูปแบบต่าง ๆ ตามความเชื่อของบรรพบุรุษ เช่นการรักษาอาการชำในจากการตกต้นไม้ หรือโดนควายขวิด เป็นต้น อีกทั้งต้นฝางยังเป็นต้นไม้ประจำอำเภอบ้านฝาง ซึ่งสามารถหาได้ง่ายเพราะมีการปลูกตามท้องถิ่นของตนเอง 

     “จุดเริ่มต้นของการนำมาทำผ้าขาวม้า คือในหมู่บ้านมีกลุ่มแม่บ้านแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายอยู่แล้วและมีการทำผ้าขาวม้าจากสารเคมี และได้มีการไปอบรมเกี่ยวกับการทำผ้าฝ้ายจากวัสดุธรรมชาติในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งการใช้วัสดุจากธรรมชาติจะไม่ทำร้ายผ้าและไม่มีสารอันตรายต่อผู้บริโภค”

  เธอเล่าต่อว่าหลังจากนั้นในขณะที่นำต้นฝางมาต้มในน้ำเดือดเพื่อรักษาอาการช้ำในได้เห็นสีของน้ำที่ต้มจากต้นฝาง มีสีที่สดสวยงามและแปลกใหม่ จึงได้นำมาต้มกับผ้าฝ้ายว่าสามารถใช้คู่กันได้ไหม และได้นำไปปรึกษากับสมาชิกในกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายของหมู่บ้านในการนำแกนฝางที่ในการรักษาโรคมาย้อมในผ้าฝ้าย เนื่องจากในกลุ่มแม่บ้านมีการทำผ้าขาวม้าของจากสีเคมีอยู่แล้ว แต่ในปัจจุบันการทำผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติจะปลอดภัยต่อผู้บริโภคและได้ผลตอบรับที่ดีกว่าสีเคมีจึงเป็นจุดเริ่มต้นและจุดเปลี่ยน ของการทำผ้าขาวม้าจากต้นฝาง

    จากจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ ของกลุ่มแม่บ้านเล็งเห็นว่าผ้าขาวม้าจากต้นฝางมีความสวยงามและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ทำขึ้นมาโดยสมาชิกกลุ่มแม่บ้านจำนวน 30 คน และมองเห็นว่าถ้าจำหน่ายเฉพาะผ้าขาวม้าอย่างเดียว รายได้ที่ได้จากการจำหน่ายค่อยข้างน้อย ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายในครอบครัวอีกทั้งในปัจจุบันเทคโนโลยีเข้าถึงง่ายกว่าในอดีตการนำผ้าขาวม้ามาแปรรูปจึงง่ายกว่า จึงนำผ้าขาวม้ามาผลิตเป็น ผ้าคลุมไหล่ กระเป๋า ผ้าถุง ช้อนที่สามารถเพียงแช่น้ำร้อนก็สามารถใช้เป็นยารักษาโรคอาการชำในได้ อีกด้วย แต่ก็ยังคงความเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านเอาไว้โดยการทอมือบ้างบางส่วนเพื่อความสวยงามและ ความละเอียดของสินค้า

     ส่วนวิธีการทำผ้าขาวม้าจากต้นฝาง คือ นำแก่นต้นฝางมาต้มในน้ำเดือดจึงจะได้สีที่สดและสวยงามไม่เหมือนใคร หลังจากนั้นนำแก่นต้มฝางออกจากหม้อเหลือน้ำของแก่นต้นฝางเท่านั้น แล้วนำผ้าฝ้ายลงไปในน้ำต้มของแก่นต้นฝางจนได้สีที่ต้องการจากนั้นนำผ้าที่ตต้มแล้วมาตากให้แห้ง ก็จะได้สีผ้าที่ย้อมจากเปลือกไม้ตามที่ต้องการ

    “ประธานกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายอำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น กล่าวถึงจุดเด่นที่ทำให้ผู้คนสนใจผ้าขาวม้าจากต้นฝาง ของอำเภอบ้านฝาง ว่าสีที่นำมาย้อมผ้านั้นเป็นสีจากธรรมชาติจากแก่นต้นฝาง ไม่มีสีเคมีเจือปนในการย้อม ซึ่งปลอดภัยต่อผู้บริโภคสีที่นั้นของมาจากแกนของต้นฝางที่สามารถรักษาอาการชำในและใช้ในการย้อมผ้าซึ่งเป็นสิ่งที่หาได้ตามท้องถิ่นทำให้สีที่ได้มีสีสวยงามและสะดุดตาอีกด้วย” เตือนใจกล่าว

     นอกจากนี้ผ้าขาวม้าจากแกนต้นฝาง ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำอำเภอบ้านฝาง จ.ขอนแก่น มีการจำหน่ายแล้วที่กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้าย 29 หมู่ 1 ต.ป่าหวายนั่ง อ.บ้านฝาง จ.ขอนแก่น สามารถแวะไปเรียนรู้เกี่ยวกับการทำผ้าขาวม้าจากแกนต้นฝาง หรือสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ในลลักษณะต่างๆ ที่ต้องการในราคาไม่แพงสามารถจับต้องหรือจะไปซื้อแกนของต้นฝางมาไว้ใช้ในการรักษาอาการำในของร่างการได้อีกด้วย  

     สนใจแวะชมผ้าขาวม้าดอกฝางสามารถติดต่อได้ที่กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้าย 29 หมู่ 1 ต.ป่าหวายนั่ง อ.บ้านฝาง จ.ขอนแก่น สอบถามเพิ่มเติม โทร. 083-6652690 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ