ข่าว

เปิดประวัติ 'เศรษฐา ทวีสิน' นายกรัฐมนตรีคนที่ 30 จาก พรรคเพื่อไทย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ทำความรู้จัก 'เศรษฐา ทวีสิน' นายกรัฐมนตรีคนที่ 30 จาก พรรคเพื่อไทย ทั้งประวัติ การศึกษา ชีวิตส่วนตัว และเส้นทางการเมือง

ประวัติ

เศรษฐา ทวีสิน เกิดวันที่ 15 ก.พ. 2506 เป็นบุตรคนเดียวของ ร.อ. อำนวย ทวีสิน กับ ชดช้อย จูตระกูล

 

การศึกษา

เศรษฐา ทวีสิน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทด้านการเงินที่มหาวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาแคลร์มอนต์ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ

 

เปิดประวัติ 'เศรษฐา ทวีสิน' นายกรัฐมนตรีคนที่ 30 จาก พรรคเพื่อไทย

 

เปิดประวัติ 'เศรษฐา ทวีสิน' นายกรัฐมนตรีคนที่ 30 จาก พรรคเพื่อไทย

 

เปิดประวัติ 'เศรษฐา ทวีสิน' นายกรัฐมนตรีคนที่ 30 จาก พรรคเพื่อไทย

 

ชีวิตส่วนตัว

 

สมรสกับ “หมออ้อม” พญ. พักตร์พิไล ทวีสิน มีบุตร 3 คน คือ “น้อบ” ณภัทร ทวีสิน, “แน้บ” วรัตม์ ทวีสิน และ “นุ้บ” ชนัญดา ทวีสิน

 

เปิดประวัติ 'เศรษฐา ทวีสิน' นายกรัฐมนตรีคนที่ 30 จาก พรรคเพื่อไทย

 

การทำงาน

 

หลังจบการศึกษาระดับปริญญาโทในปี 2529 "เศรษฐา ทวีสิน" เข้าทำงานที่ P&G เป็นเวลา 4 ปี ต่อมาย้ายไปทำงานที่ บจก.แสนสำราญ ซึ่งหลังจากนั้นได้เปลี่ยนชื่อเป็น บมจ.แสนสิริ และเศรษฐาดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

 

เปิดประวัติ 'เศรษฐา ทวีสิน' นายกรัฐมนตรีคนที่ 30 จาก พรรคเพื่อไทย

 

เปิดประวัติ 'เศรษฐา ทวีสิน' นายกรัฐมนตรีคนที่ 30 จาก พรรคเพื่อไทย

 

เปิดประวัติ 'เศรษฐา ทวีสิน' นายกรัฐมนตรีคนที่ 30 จาก พรรคเพื่อไทย

 

เส้นทางการเมือง

 

ในการชุมนุม ปี 2556–2557 "เศรษฐา ทวีสิน" แสดงความไม่เห็นด้วยกับพฤติการณ์ของ กปปส. ต่อมาหลังรัฐประหาร 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ออกคำสั่งเรียกให้เขาไปรายงานตัว ณ หอประชุมกองทัพบก เทเวศร์ หลังจากนั้นเมื่อเกิดการระบาดทั่วของโควิด-19 และการประท้วงซึ่งนำโดยกลุ่มเยาวชน เขาได้วิจารณ์การบริหารสถานการณ์ดังกล่าวของรัฐบาล

 

พ.ย. 2565 "เศรษฐา ทวีสิน" ประกาศตัวเป็นสมาชิกของพรรคเพื่อไทย เดือนมีนาคมปีต่อมา พรรคเพื่อไทยแต่งตั้งเขาเป็นประธานที่ปรึกษาให้กับ แพทองธาร ชินวัตร

 

หลังรับตำแหน่งในพรรคเพื่อไทยในเดือนมีนาคม เขาลงพื้นที่หาเสียงครั้งแรกที่ชุมชนคลองเตย และขึ้นเวทีปราศรัยครั้งแรกที่จังหวัดพิจิตร ปลายเดือนเดียวกันเขาให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับความประสงค์เดินทางกลับประเทศไทยของ ทักษิณ ชินวัตร ระบุเป็นความต้องการของทักษิณเอง ไม่เกี่ยวข้องกับพรรค

 

ต่อมาในวันที่ 1 เม.ย. เขาทวีตข้อความคัดค้านระบบเกณฑ์ทหารโดยการบังคับ ไม่กี่วันต่อมาพรรคเสนอเขาในบัญชีรายชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี กลางเดือนเดียวกันระหว่างการปราศรัยที่จังหวัดเลย เขากล่าวว่าพรรคเพื่อไทยจะไม่จับมือกับพรรคพลังประชารัฐและรวมไทยสร้างชาติ ซึ่งมีส่วนร่วมในการรัฐประหาร

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ