ข่าว

WHO ประกาศยุติ สถานการณ์ฉุกเฉิน 'โควิด-19' ทั่วโลก หลังระบาดมาตลอด 3 ปีครึ่ง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

องค์การอนามัยโลก ประกาศยุติ สถานการณ์ฉุกเฉิน วิกฤต 'โควิด-19' ทั่วโลก หลังระบาดมาตลอด 3 ปีครึ่ง ขณะที่ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการติดเชื้อเพิ่ม +666%

ดร.เตโวโดรส อัดฮาโนม ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก (WHO) และทีมงานประกาศ สถานการณ์ฉุกเฉิน (emergency phase) ของวิกฤต 'โควิด-19' ทั่วโลกได้ยุติลงแล้ว

 

 

ขณะที่ล่าสุด พบผู้ติดเชื้อ 'โควิด-19' ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพิ่มขึ้น +666% และเสียชีวิตเพิ่มขึ้น +305% เนื่องจาก โอไมครอนลูกผสม XBB 4 สายพันธุ์

 

สถานการณ์ฉุกเฉิน (emergency phase) ของ วิกฤตโควิด-19 ทั่วโลกที่เราทุกคนเผชิญมาตลอด 3 ปีครึ่งได้สิ้นสุดลงแล้ว แต่

 

  • โควิด-19 ยังอยู่ 
  • การระบาดทั่วโลก (Pandemic) ของโควิด-19 ยังไม่ยุติ
  • ยังต้องใช้เวลาอีกนานถึงจะสงบ
  • ยังมีผู้คนเสียชีวิตด้วยโควิด-19 ทุกสัปดาห์ 
  • ยังมีคนนอนโรงพยาบาลหลายแสนคน 
  • ยังมีผู้ติดเชื้อหลายล้านคนในแต่ละสัปดาห์ 
  • เรายังต้องเฝ้าระวัง 
  • เรายังต้องพัฒนาวัคซีน 
  • เรายังต้องพัฒนาแอนติบอดีสำเร็จรูป และ 
  • เรายังต้องพัฒนายารุ่นใหม่เตรียมไว้ป้องกันและรักษาเชื้อโควิดกลายพันธุ์ที่อาจอุบัติขึ้นใหม่ในอนาคต

 

 

ประเด็นที่น่าสนใจคือ

 

  • องค์การอนามัยโลกไม่ได้ประกาศจุดเริ่มต้นหรือจุดสิ้นสุดของการระบาดใหญ่ (Pandemic) ของโควิด-19 เพียงเริ่มใช้คำว่า 'Pandemic' กับ 'โควิด-19' ในเดือนมีนาคม 2563 
  • องค์การอนามัยโลกมิได้ประกาศปรับสถานภาพของโควิด-19 จากโรคระบาดทั่วโลก (Pandemic) ไปเป็นโลกประจำถิ่น (Endemic) เนื่องจากเห็นว่าการระบาดทั่วโลกของโควิด-19 ยังไม่ยุติ
  • คำถามจากสื่อมวลถามตรงไปยังเจ้าหน้าที่องค์การอนามัยโลกที่มาร่วมแถลงว่า "แล้วโรคระบาดโควิดจะสิ้นสุดลงเมื่อใด? ดร.ไมเคิล ไรอัน กรรมการบริหารโครงการฉุกเฉินด้านสุขภาพขององค์การอนามัยโลกอธิบายว่าส่วนใหญ่แล้ว โรคระบาดจะสิ้นสุดลงเมื่อโรคระบาดครั้งต่อไปเริ่มขึ้น"

 

องค์การอนามัยโลก แจ้งเตือน เมื่อนที่ 30 เม.ย. 2566 พบผู้ติดเชื้อ 'โควิด-19' ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพิ่มขึ้น +666% และเสียชีวิตเพิ่มขึ้น +305% เนื่องจากโอไมครอนลูกผสม XBB 4 สายพันธุ์คือ XBB 1.5, XBB.1.9, XBB.1.16, และ XBB.2.3  มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วในภูมิภาคนี้โดยพบการระบาดใหญ่ในอินเดียมาก่อนหน้า ติดตามมาด้วยสิงคโปร์และบรรดาชาติสมาชิกในอาเซียน

 

 

องค์การอนามัยโลก มีนโยบายแจ้งเตือนชาติสมาชิกถึงความสุ่มเสี่ยงที่จะมีการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ก่อนที่สายพันธุ์เหล่านั้นจะแพร่ระบาดไปทั่วโลก เพื่อให้ทั่วโลกตระหนักและเตรียมพร้อม มิใช่ให้ตื่นตระหนก ด้วยปัจจัยแวดล้อมที่แตกต่างบางประเทศอาจเกิดการระบาดและบางประเทศจะไม่เกิดการระบาด

 

 

ตั้งแต่พบ ผู้ป่วยโควิด-19 รายแรกในเมืองอู่ฮั่น สาธารณรัฐประชาชนจีน ในเดือนธันวาคม 2560 จนถึงปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อยืนยันกว่า 765 ล้านรายและผู้เสียชีวิตกว่า 6.9 ล้านรายทั่วโลก

 

 

ในช่วง 27 มี.ค. - 23 เม.ย. 2566 องค์การอนามัยโลกรายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่และติดเชื้อซ้ำเกือบ 2.8 ล้านราย โดยมีผู้เสียชีวิตกว่า 16,000 รายในช่วง 28 วันที่ผ่านมา แม้จะมีผู้ติดเชื้อ ในแถบซีกโลกเหนือ (ยุโรปและอเมริกา) "ลดลง" 23% และเสียชีวิตลดลง 36% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับ 28 วันก่อนหน้า (27 กุมภาพันธ์ - 26 มีนาคม 2566) แต่ต้องพึงตระหนักว่าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก และในอีกหลายประเทศ เช่นอินเดียโดยรวมมีผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นมากกว่า +666% และ +305% ตามลำดับ

 

 

ในระดับภูมิภาค จำนวนผู้ติดเชื้อ(ซ้ำ)รายใหม่ในรอบ 28 วันลดลงใน 4 ภูมิภาคจาก 6 ภูมิภาค

 

1. ภูมิภาคแอฟริกา ลดลง -68% 

2. ภูมิภาคอเมริกา ลดลง -35%

3. ภูมิภาคยุโรป ลดลง -34%

4. ภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตก ลดลง -15%

5. ภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก เพิ่มขึ้น +41% 

6. ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพิ่มขึ้น +666%

 

 

จำนวนผู้เสียชีวิตในรอบ 28 วันมีรายงานลดลงในสี่ภูมิภาคจาก 6 ภูมิภาค

 

1. ภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตก ลดลง -68%

2. ภูมิภาคแอฟริกา ลดลง -42%

3. ภูมิภาคยุโรป ลดลง -38%

4. ภูมิภาคอเมริกา ลดลง -33%

5. ภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก เพิ่มขึ้น +80% 

6. ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพิ่มขึ้น +305%

 

 

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี ได้นำรหัสพันธุกรรมโควิด-19 ทั้งจีโนมที่สุ่มถอดในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 15 เม.ย. - 5 พ.ค. 2566 และมีการอัปโหลดขึ้นบนฐานข้อมูลโควิดโลก จีเสส (GISAID) จากหลายหน่วยงาน มาวิเคราะห์พบการระบาดของโอไมครอน

 

 

สายพันธุ์ลูกผสม ตระกูล XBB สี่สายพันธุ์ย่อย ดังนี้ 

 

1. XBB.1.16 จำนวน 29 ราย คิดเป็นร้อยละ 23

2. XBB.1.9.1 จำนวน 26 ราย คิดเป็นร้อยละ 21

3. XBB.1.5 จำนวน 13 ราย คิดเป็นร้อยละ 10

4. XBB.2.3 จำนวน  5 ราย คิดเป็นร้อยละ  3

 

 

ดังนั้นเราซึ่งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ควรเตียมพร้อม

 

โหมดการตรวจจับไวรัสจากสิ่งส่งตรวจ : ด้วย ATK, RT-PCR และการใช้ประโยชน์จากการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของไวรัสโควิด-19 ในการติดตามการระบาด 

 

โหมดการป้องกัน : กินร้อน ช้อนกลาง สวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่างทางสังคม ฉีดวัคซีน

 

โหมดการรักษา : ด้วยแอนติบอดีสำเร็จรูป และการรักษาด้วยยาต้านไวรัส เพื่อควบคุมอัตราการเสียชีวิตในประเทศไทยจากโควิด-19 ให้คงอยู่ในระดับร้อยละ 0.7 หรือต่ำกว่า ไม่ให้เพิ่มขึ้น

 

 

ข้อมูล : ศูนย์จีโนมทางการแพทย์

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ