ข่าว

"โอไมครอน" 6 สายพันธุ์ย่อย ครองระบาดทั่วโลก 72.9% แทนที่ BA.5 แล้ว

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"หมอธีระ" รายงานข้อมูล WHO พบ "โอไมครอน" 6 สายพันธุ์ย่อย ครองระบาดทั่วโลก 72.9% แทนที่ BA.5 แล้ว ขณะที่ หลายประเทศรายงานต่ำกว่าสถานการณ์จริง

อัปเดตสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด19 โดย เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 407,146 คน ตายเพิ่ม 1,017 คน รวมแล้วติดไป 660,858,239 คน เสียชีวิตรวม 6,683,051 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และฮ่องกง

 

 

โดย "หมอธีระ" รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Thira Woratanarat เปิดเผยข้อมูลอัปเดตจาก WHO ว่า ขณะนี้ "โอไมครอน" 6 สายพันธุ์ย่อยที่กำลังติดตามอย่างใกล้ชิด ได้ครองการระบาดทั่วโลก แทนที่ BA.5 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

 

องค์การอนามัยโลกเผยแพร่รายงาน WHO Weekly Epidemiological Update รอบวันที่ 21 ธันวาคม 2565 ในช่วงเดือนที่ผ่านมา "โอไมครอน" ครองการระบาดทั่วโลก 99.7% โดยภาพรวมของทั่วโลก สายพันธุ์ย่อยของ "โอไมครอน" ที่กำลังถูกติดตามอย่างใกล้ชิดนั้นมี 6 สายพันธุ์ ซึ่งรวมแล้วมีสัดส่วนครองการระบาดถึง 72.9% โดยเข้ามาแทนที่ BA.5 ที่เคยครองอำนาจอยู่เดิม

 

 

สัปดาห์ล่าสุด พบว่า BQ.1.x ตรวจพบสูงสุด 42.5% ตามมาด้วย BA.5 ที่มีการกลายพันธุ์เพิ่มตั้งแต่ 1-5 ตำแหน่ง มีสัดส่วน 13.4% ส่วน BA.2.75.x นั้นพบราว 9.8%, XBB.x 6.1%, BA.4.6 1%, และ BA.2.30.2 พบ 0.1%

 

 

Dr.Maria Van Kerkhove ซึ่งเป็น WHO COVID-19 technical lead ได้ชี้ให้เห็นว่าระบบรายงาน ในปัจจุบันประสบปัญหาจากการที่หลายประเทศรายงานต่ำกว่าสถานการณ์จริง ทำให้ยากต่อการประเมินสถานการณ์ระบาดของโลก นอกจากนี้จำนวนการตรวจสายพันธุ์ก็มีแนวโน้มลดลง จะเป็นอุปสรรคต่อการติดตามเฝ้าระวัง และได้เรียกร้องให้แต่ละประเทศวางแผนการสุ่มตรวจสายพันธุ์ เฝ้าระวังสถานการณ์ให้รัดกุมขึ้น

 

 

ทาง WHO ยังเตือนให้ประชาชนทั่วโลกระมัดระวังในการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงปลายปีที่มีกิจกรรมพบปะกันมาก เทศกาลรื่นเริง จะเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดมากได้

 

สถานการณ์ในอเมริกาล่าสุด BQ.1.x ครองการระบาดกว่า 80% ในขณะที่ XBB.x นั้นมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นราว 20% ทีมงานจากนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกาได้เผยแพร่ผลการศึกษาในวารสารการแพทย์โรคติดเชื้อ Clinical Infectious Diseases เมื่อ 21 ธันวาคมที่ผ่านมา สาระสำคัญคือ จากการสำรวจประชากรในช่วงมิถุนายนจนถึงกรกฎาคม 2565 ประเมินว่าขณะนี้มีคนที่ประสบปัญหาติดเชื้อแล้วเกิด ภาวะ Long COVID อยู่ราว 7.3% ของประชากรวัยผู้ใหญ่ทั้งหมดในประเทศ หรือราว 18 ล้านคน

 

 

โดยหนึ่งในสี่ (25.3%) ของกลุ่มคนที่ประสบปัญหา Long COVID นั้น รายงานว่าส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก ทั้งนี้ราวหนึ่งในสามแจ้งว่าติดเชื้อ โควิด-19 มานานกว่า 12 เดือน

 

 

สำหรับไทยเรานั้น การติดเชื้อแพร่เชื้อมีจำนวนมากในแต่ละวัน จำเป็นต้องป้องกันตัวให้ดี
ระมัดระวังสถานที่แออัด
ระบายอากาศไม่ดี กิจการห้างร้านต่างๆ ควรมีความรับผิดชอบต่อสังคม ดูแลบริการลูกค้าโดยคำนึงถึงความปลอดภัย ควรไปรับ วัคซีนเข็มกระตุ้น ลดเสี่ยงป่วยรุนแรง ตาย และ Long COVID สำคัญที่สุดคือ การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก

 

 

โควิดติดไม่ใช่แค่คุณ โควิดติด ไม่จบแค่ชิลๆ แล้วหาย แต่ป่วยได้ ตายได้ และเสี่ยงต่อภาวะผิดปกติระยะยาวได้

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ

logo-pwa

เพิ่ม คมชัดลึก ออนไลน์

ลงในหน้าจอหลักของคุณ

ติดตั้ง
ปิด