ข่าว

DSI ทลายแก๊งโจรกรรม"รถหรู"จากอังกฤษ มูลค่ามหาศาล นำเข้าขายไทย 35 คัน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เปิดปฏิบัติการ"ไททาเนียม" กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI ทลายขบวนการโจรกรรม"รถหรู"จากประเทศอังกฤษ ก่อนนำมาขายในไทย จำนวน 35 คัน

DSI ทลายแก๊งโจรกรรม"รถหรู"จากอังกฤษ มูลค่ามหาศาล นำเข้าขายไทย 35 คัน

เมื่อวันจันทร์ที่ 19 กันยายน 2565 นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วย นายไตรยฤทธิ์  เตมหิวงศ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI และ พ.ต.ท.พเยาว์ ทองเสน รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ร่วมแถลงข่าว ผลการดำเนินการตรวจยึดรถยนต์ที่ถูกโจรกรรมจากประเทศอังกฤษ
    

กรณีดังกล่าวสืบเนื่องจาก กรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้รับคำร้องขอความร่วมมือระหว่างประเทศ ในเรื่องทางอาญา (MLAT) จาก หน่วยงานปราบปรามอาชญากรรมแห่งชาติ ของสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษ ประจำกรุงเทพฯ NCA : National Crime Agency ขอให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ ทำการสืบสวนสอบสวน กรณี ขบวนการโจรกรรมรถยนต์ราคาสูงจากประเทศอังกฤษ จำนวน 35 คัน และนำเข้ามาในประเทศไทย โดยผิดกฎหมาย โดยให้ช่วยสืบสวนและยึดรถยนต์ เพื่อส่งคืนผู้เสียหายที่แท้จริงในอังกฤษ และดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด ซึ่งต่อมา กรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้รับไว้เป็นคดีพิเศษที่ 78/2561 นั้น

DSI ทลายแก๊งโจรกรรม"รถหรู"จากอังกฤษ มูลค่ามหาศาล นำเข้าขายไทย 35 คัน DSI ทลายแก๊งโจรกรรม"รถหรู"จากอังกฤษ มูลค่ามหาศาล นำเข้าขายไทย 35 คัน

ทั้งนี้ เมื่อในระหว่างปี พ.ศ.2559-2560 หน่วยข่าวกรองอาชญากรรมยานยนต์แห่งชาติ สหราชอาณาจักร (NaVCIS : National Vehicle Crime Intelligence Service) ร่วมกับตำรวจนครบาลลอนดอน (London Metropolitan Police) ได้ร่วมกันสืบสวนสอบสวนภายใต้ชื่อ“ปฏิบัติการไททาเนียม”(Operation Titanium) กรณี ขบวนการโจรกรรมรถยนต์ราคาสูงส่งออกจากสหราชอาณาจักร แล้วนำเข้ามาในประเทศไทย  มีกลุ่มคนไทย (ที่มีโชว์รูมจำหน่ายรถหรู) ร่วมมือกับกลุ่มคนต่างชาติในอังกฤษ เป็นขบวนการทำการโจรกรรมรถยนต์ราคาสูงในอังกฤษ โดยเครือข่ายกลุ่มหนึ่งเป็นผู้ติดต่อทำสัญญาเช่าซื้อหรือเช่ารถยนต์ (ระยะสั้น) แล้วนำไปส่งมอบให้กับเครือข่ายอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ในการจัดทำเอกสารเท็จหรือปลอม  อาทิ  ใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading) ใบแจ้งหนี้ (Invoice) จากนั้นรถยนต์จะถูกส่งออกจากอังกฤษทางเครื่องบินจากสนามบินฮีทโธรว์  ไปยังประเทศสิงคโปร์ แล้วขนส่งทางเรือจากประเทศสิงคโปร์เข้ามายังประเทศไทย จำนวน 35 คัน
 

การดำเนินการของกรมสอบสวนคดีพิเศษ
    
เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2560 คณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ (คพ.ที่ 120/2559) ได้ร่วมกันนำหมายค้นไปตรวจค้นเป้าหมาย 9 จุด ที่สงสัยว่าจะมีรถยนต์ดังกล่าวซุกซ่อนอยู่ ผลการตรวจค้นปรากฏพบรถยนต์ที่มียี่ห้อ รุ่น สี และเลขตัวรถ (chassis) ตรงตามบัญชีรถยนต์ของอังกฤษ จอดอยู่ที่โชว์รูมของ บจ.ส.ธรรมธัชช (STT. Auto Car)  2 แห่ง จำนวน 7 คัน จึงได้ยึดและอายัดไว้ 
    
ต่อมา กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ได้รับแจ้งจากกรมศุลกากรว่ามีบริษัทรถยนต์จากประเทศอังกฤษ ประสานมาว่าเป็นรถที่ถูกโจรกรรม อยู่ในเขตปลอดอากร (Free Trade Zone) จึงเข้าตรวจสอบและยึดอายัด จำนวน 6 คัน 
 

  
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2561 อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้อนุมัติให้สอบสวนกรณีดังกล่าว เป็นคดีพิเศษ ที่ 78/2561 และต่อมาในวันที่ 10 กันยายน 2561 พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ได้ร้องขอความร่วมมือระหว่างประเทศ ในเรื่องทางอาญา (MLAT) จากอังกฤษ ผ่านอัยการสูงสุดในฐานะผู้ประสานงานกลาง โดยขอให้ทางอังกฤษสอบสวน ตรวจสอบข้อมูลและจัดส่งพยานเอกสารและหลักฐานต่างๆ เกี่ยวกับรถยนต์ จำนวน 35 คัน ที่ถูกโจรกรรมมาให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ  เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดีกับผู้ที่นำรถยนต์ดังกล่าวเข้ามาโดยผิดกฎหมาย


     
ในวันที่ 13 กันยายน 2564 คณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ได้รับเอกสารและพยานหลักฐานต่างๆ  ของรถยนต์ 35 คัน ดังกล่าวจากอังกฤษ ที่เป็นการกระทำความผิดซึ่งมีโทษตามกฎหมายไทยได้กระทำลงนอกราชอาณาจักร  อัยการสูงสุด ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ จึงได้มอบหมายให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ  ทำการสอบสวนคดีนี้  โดยมอบหมายให้พนักงานอัยการทำการสอบสวนร่วมกับพนักงานสอบสวน คดีพิเศษ และให้อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบคดีนี้ เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565  
     

ต่อมา นายสมศักดิ์  เทพสุทิน  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้กล่าวขอบคุณประชาชนผู้ที่เป็นผู้ซื้อ  และครอบครองรถยนต์ ทั้ง 26 คัน  ซึ่งเมื่อคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้ติดต่อประสานไป โดยได้ชี้แจงพร้อมแสดงเอกสารพยานหลักฐานให้ทราบว่ารถยนต์ดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เสียหายในอังกฤษที่ถูกโจรกรรมมา ท่านเหล่านั้นก็ยอมรับข้อเท็จจริงและได้ยินยอมส่งมอบรถยนต์ จำนวน    23 คัน  ให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ยึดเป็นของกลางในคดี


ทั้งนี้ ผู้ที่เป็นผู้ซื้อและครอบครองรถยนต์ทั้ง  26 คัน  ที่ได้ส่งมอบรถยนต์ให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ยึดเป็นของกลางแล้วนั้น ท่านสามารถใช้สิทธิตามกฎหมาย (แพ่ง) ฟ้องร้องผู้ที่จำหน่ายรถยนต์ให้ท่านได้  ซึ่งพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ ยินดีสนับสนุนพยานหลักฐานและเป็นพยานให้ท่าน ในฐานะที่ท่านเป็นผู้ซื้อโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน

 

สำหรับบุคคลที่เป็นผู้ที่ครอบครองรถยนต์อีก  9 คัน ซึ่งพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ได้ติดต่อประสานไปแล้ว แต่ยังไม่ยินยอมส่งมอบรถยนต์ให้ ขอแจ้งให้ทราบว่ารถยนต์ดังกล่าวถือเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิด  หากไม่ยอมส่งมอบ ท่านอาจจะตกเป็นผู้ต้องหาถูกดำเนินคดีได้ 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ