ข่าว

ยุติธรรม จับมือ 5 ผู้กำกับชื่อดัง จัดประชัน "หนังสั้น" ลบภาพอดีตนักโทษ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

รมว.ยุติธรรม จับมือ 5 ผู้กำกับร้อยล้านร่วมตัดสิน เปิดโครงการประกวด "หนังสั้น" โอกาสที่สังคมมอบให้ เน้นลบภาพลักษณอดีตนักโทษ ผู้กระทำความผิด เพื่อส่งคืนสู่สังคม

เมื่อวันที่ 15 ต.ค. เวลา 10.30 น. ที่โรงแรมแกรนด์ ราชพฤกษ์ กรมคุมประพฤติ ได้จัดโครงการประกวด "หนังสั้น" ภายใต้หัวข้อ "โอกาสที่สังคมมอบให้" โดยมีนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย ว่าที่ ร.ต.ธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ เลขานุการ รมว.ยุติธรรม น.ส.ณัฐธ์ภัสส์ ยงใจยุทธ ผู้ช่วย รมว.ยุติธรรม นายธนวัชร นิติกาญจนา ที่ปรึกษา รมว.ยุติธรรม

 

ยุติธรรม จับมือ 5 ผู้กำกับชื่อดัง จัดประชัน "หนังสั้น" ลบภาพอดีตนักโทษ

 

นายวิตถวัลย์ สุนทรขจิต อธิบดีกรมคุมประพฤติ และยังมีผู้กำกับภาพยตร์ชื่อดัง คือ นายปรัชญา ปิ่นแก้ว ,นายนนทรีย์ นิมิบุตร ,นายธนิตย์ จิตนุกูล ,นายบัณฑิต ทองดี และนายราเชนทร์ ลิ้มตระกูล ร่วมเป็นกรรมการตัดสินและเป็นโค้ชให้กับเยาวชนที่ร่วมงาน โดยมีมาตรการป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างเคร่งครัด ซึ่งโครงการนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) "หนังสั้น"

 

ยุติธรรม จับมือ 5 ผู้กำกับชื่อดัง จัดประชัน "หนังสั้น" ลบภาพอดีตนักโทษ

 

นายวิตถวัลย์ กล่าวว่า โครงการประกวด "หนังสั้น" "โอกาสที่สังคมมอบให้" มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างความตระหนักให้สังคมเกิดความเข้าใจ ยอมรับและให้โอกาสผู้กระทำผิดได้กลับคืนสู่สังคม ในรูปแบบหนังสั้นที่เข้าใจง่าย ตามภารกิจหลักของกรมคุมประพฤติ คือ การแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด การคุมประพฤติ รวมทั้งดำเนินการสงเคราะห์ผู้กระทำผิดระหว่างคุมประพฤติและภายหลังปล่อยตัว "หนังสั้น

 

 

 

เพื่อให้ผู้กระทำผิดสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เป็นที่ยอมรับของชุมชนและสังคม และต้องส่งไม้ต่อให้คนในชุมชน และคนในสังคมได้เข้าใจว่าโอกาส คือสิ่งที่ผู้กระทำผิดเหล่านี้ต้องการ ต้องเข้าใจและให้โอกาสพวกเขาได้กลับไปมีที่ยืนในสังคม ได้รับโอกาสในการทำงาน ได้ดูแลตัวเองและครอบครัว มีโอกาสเหมือนทุกๆ คนในสังคม นั่นคือสิ่งที่เราต้องการจะสื่อออกไป

 

กรมคุมประพฤติ จึงได้จัดโครงการ "หนังสั้นขึ้นมา โดยจับมือกับผู้กำกับภาพยนตร์ชั้นนำในประเทศมาเป็นคณะกรรมการตัดสิน และให้ความรู้แก่น้องๆผู้เข้าประกวด ในกระบวนการผลิตหนังสั้นแบบมืออาชีพ ซึ่งได้อบรมในรูปแบบออนไลน์ไปแล้ว เมื่อวันที่ 11 ก.ย. และคณะกรรมการทุกท่านได้ร่วมกันคัดเลือกทีมที่ผ่านเข้ารอบ 15 ทีมสุดท้ายกันอย่างเข้มข้มจากผู้สมัครทั้งหมด 115 ทีม


"โครงการ "หนังสั้นนี้ นอกจากจะเป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับสังคม เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เคยกระทำความผิด กลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุขแล้ว ยังเป็นการเปิดพื้นที่ให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่สนใจในการผลิตภาพยนตร์ ได้มีเวทีให้ฝึกฝีมือการผลิตจากผู้มีประสบการณ์ และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ ได้รับการยอมรับในวงการภาพยนตร์ไทยอย่างใกล้ชิด พร้อมชิงเงินรางวัลกว่า 500,000 บาท ที่สำคัญผลงานของผู้ประกวดที่สามารถผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ จะได้มีโอกาสไปโชว์ในโรงภาพยนตร์อีกด้วย" นายวิตถวัลย์ กล่าว

 

ทางด้าน นายสมศักดิ์ กล่าวว่า กระทรวงยุติธรรมมีนโยบายมุ่งเน้นลดความเหลื่อมล้ำของสังคม ผ่านการแก้ไขพื้นฟูผู้กระทำผิดให้กลับตนเป็นพลเมืองดีของสังคม ตลอดจนร่วมสร้างงานให้โอกาสออกมาประกอบอาชีพสุจริต เพื่อเลี้ยงดูตนเองและครอบครัว เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้กระทำผิดไม่หวนกลับไปกระทำผิดซ้ำ "หนังสั้น

 

 

ภายใต้แนวคิด สร้างโอกาสเพื่อคืนผู้กระทำผิดสู่สังคม ซึ่งโครงการประกวด "หนังสั้น" "โอกาสที่สังคมอบให้" ของกรมคุมประพฤติ ตอบโจทย์ของแนวคิดดังกล่าว เปรียบเหมือนจิ๊กซอว์ตัวสุดท้ายที่มาเติมเต็มกระบวนการคืนคนดีสู่สังคม เราจะคืนพวกเขาเหล่านี้สู่อ้อมกอดของครอบครัวและกลับคืนสู่สังคมไม่ได้เลย หากสังคมไม่ร่วมกันมอบโอกาสให้กับพวกเขาก่อน เพื่อให้ผู้กระทำผิดเหล่านี้ มีแรงกายและแรงใจต่อสู้ พัฒนาตนเองเพื่อเป็นกำลังสำคัญร่วมกันพัฒนาประเทศต่อไป


จากนั้นนายสมศักดิ์ ให้สัมภาษณ์ถึงการให้โอกาสผู้ต้องขัง ผู้พ้นโทษและสังคมว่า เรามีการให้โอกาส คือ 1. การลดโทษและการพักโทษพิเศษด้วยการติดกำไล EM 2. การสร้างงานให้ผู้ต้องขังที่ได้รับการพักโทษ (นิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์) เพราะคนที่กระทำผิดซ้ำไม่มีงานทำ เราจึงสร้างงานให้เขาทำ จะได้ไม่กลับมาทำผิดซ้ำ 3. การสร้างความมั่นใจให้ประชาชนจากการกระทำผิดคดีรุนแรง โดยการตั้งศูนย์ JSOC และผลักดันร่างกฎหมาย ให้สังคมช่วยกันสอดส่อง 4. การแก้กฎหมายปลดล็อกให้ใช้กระท่อมตามวิถีชุมชน เป็นการสร้างอาชีพให้ประชาชน และเป็นประโยชน์ทางการแพทย์ด้วย อะไรเป็นประโยชน์เราต้องรีบทำ ทั้งนี้เป็นเวลาหลายปีแล้วที่สังคมมองว่าผู้กระทำผิดคือปัญหาคือภาระ แต่เราต้องมีการแก้ไขวิธีคิดของคนในสังคมให้ได้เข้าใจมากขึ้น


สำหรับรายละเอียดที่สำคัญของโครงการประกวด "หนังสั้น ในครั้งนี้ ประกอบด้วย 1. คุณสมบัติของผู้สมัครนักเรียน นิสิต นักศึกษา ในสถาบันการศึกษาต่างๆ หรือประชาชนทั่วไป ผู้มีสัญชาติไทย ไม่จำกัดเพศ อายุไม่เกิน 25 ปี สมัครแบบทีม ทีมละ 2-5 คน 2. รางวัลการประกวด รางวัลชนะเลิศ 150,000 บาท พร้อมโล่และเกียรติบัตร รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 100,000 บาท พร้อมโล่และเกียรติบัตร รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 50,000 บาท พร้อมโล่และเกียรติบัตร รางวัลชมเชย 2 รางวัลๆ ละ 20,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร รางวัล Popular Vote 1 รางวัล 20,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร และรางวัลสนับสนุนทีมที่ผ่านเข้ารอบ 15 ทีมสุดท้าย จะได้รับเงินรางวัล 15,000 บาท 3. การประกาศรางวัลรอบ 15 ทีมสุดท้าย วันที่ 15 ต.ค.64 และรอบชิงชนะเลิศ วันที่ 19 พ.ย.64 "หนังสั้น"

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ