ข่าว

"ไวรัสนิปาห์" หมอดื้อ ชี้ มนุษย์หยุดรุกล้ำ ทำเชื้อจากสัตว์ "แพร่คนสู่คน"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"ไวรัสนิปาห์" ระบาดในอินเดีย หมอดื้อ ชี้ มนุษย์ต้องหยุดรุกล้ำ ทำเชื้อจากสัตว์ "แพร่คนสู่คน" ระบุ อาการของโรค ไม่ซับซ้อนเหมือนโควิด

กรณีพบการระบาดของ "ไวรัสนิปาห์" ในประเทศอินเดีย เป็นสาเหตุให้เด็กชายวัย 12 ปี ในรัฐเกรละ ทางตอนใต้ของอินเดียเสียชีวิต นับเป็นโรคติดต่อร้ายแรง ที่ทำให้ผู้ติดเชื้อมีโอกาสเสียชีวิตถึง 70% นอกจากนี้ ปัจจุบันไม่มีวัคซีน และยาในการรักษา  ด้าน ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ค ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการระบาดของ "ไวรัสนิปาห์" ว่า

 

"โรคนี้เป็นที่ทราบกันดี ตั้งแต่มีการระบาดในมาเลเซีย และสิงคโปร์ ในปี 1998 จากหมูที่ได้รับเชื้อจากค้างคาว ที่เกาะอยู่เหนือโรงเลี้ยง ผ่านทางละอองฝอย เยี่ยวและน้ำลาย รวมกระทั่งถึง ที่ปะปนอยู่กับผิวของผลไม้ และติดต่อมายังคนที่ทำงานในโรงฆ่า และชำแหละหมู และซากหมู ติดต่อมา หมาและแมว ที่ไปกิน โดยไม่มีการติดต่อจากคนสู่คน 

 

แต่แล้วในที่สุดพบว่า แท้ที่จริงแล้ว เป็นโรคประจำถิ่นของอินเดีย และบังคลาเทศ ซึ่งเป็นทุกปีมาตลอดจนกระทั่งถึงปัจจุบัน โดยลักษณะเป็นฤดูกาล ตามลักษณะของการปลดปล่อยเชื้อของไวรัสจากค้าวคาวเป็นช่วง

"ไวรัสนิปาห์" หมอดื้อ ชี้ มนุษย์หยุดรุกล้ำ ทำเชื้อจากสัตว์ "แพร่คนสู่คน"

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

โดยค้างคาวมากินน้ำคล้ายอินทผาลัมสด ที่รองจากต้นในเวลากลางคืน และจากนั้น คนมาดื่มต่อโดยไม่ได้ทำให้สุก และมีการติดต่อจากคนสู่คน รวมกระทั่งถึงมีการสัมผัสกับเปลือกผิวของผลไม้ต่าง ๆ ที่มีไวรัสปะปนอยู่ และมีการติดเชื้อทางเยี่อบุ 

 

ลักษณะของโรคอาจแตกต่างกันอยู่บ้าง จากที่พบในมาเลเซีย ที่มีอาการเด่นทางสมองอย่างเดียว โดยมีแบบเฉียบพลัน (acute) เกิดจากเส้นเลือดสมองอักเสบ แต่เมื่อหายแล้ว กลับเป็นใหม่ได้ภายในช่วงระยะเวลาสองปี (relapse)แต่สมองอักเสบเป็นลักษณะของเซลล์สมองที่ผิวเปลือก (cortex)  มีความผิดปกติ ทั้งนี้ คนที่ได้รับเชื้อตั้งแต่ต้นอาจไม่แสดงอาการ จนกระทั่งเกือบสองปีให้หลังก็ได้ 
(late onset)

 

อาการของโรคที่เกิดขึ้นที่บังกลาเทศจะมีปอดบวมร่วมด้วย ดังนั้น จึงทำให้มีการแพร่กระจายไปได้ในกลุ่ม แต่ไม่ชัดเจนว่า จะมีการเกิดโรคแบบซ้ำในภายหลัง หรือที่เกิดหน่วงเวลา หลังจากที่ได้รับเชื้อหรือไม่แบบมาเลเซีย

 

ในประเทศฟิลิปปินส์ในปี 2014 มีการระบาดเป็นกลุ่มในโรงชำแหละม้า โดยอาการที่เป็นมีลักษณะคล้ายไข้หวัดใหญ่ โดยที่มี หรือไม่มีเยื่อหุ้มสมองอักเสบร่วมด้วย

 

ในประเทศไทย จากการสำรวจพบว่า ค้าวคาวไทย มีไวรัสนิปาห์ ทั้งสองกลุ่ม คือแบบมาเลเซีย และบังคลาเทศ และตั้งแต่ปี 2003 จนถึงปัจจุบัน กรมปศุสัตว์ ร่วมกับกรมอุทยานสัตว์ป่า และพันธุ์พืช มีการสร้างมาตรการในการป้องกันค้าวคาว ปลดปล่อย
ละอองฝอยที่อาจมีเชื้อมายังเล้าหมู ม้า และสัตว์อื่น ๆ รวมกระทั่งถึงมีการตรวจเฝ้าระวังโรคในหมู โดยการตรวจสัตว์ป่วย และตรวจหาหลักฐานการติดเชื้อจากเลือด ซึ่งไม่พบว่ามีการติดเชื้อใด ๆ โดยจำนวนที่ตรวจในช่วงระหว่างปี 2003 ถึง 2011 มีจำนวน 46,528 ราย และทางกรมปศุสัตว์ ยังคงมีการเฝ้าระวังตลอด จนกระทั่งถึงปัจจุบัน

 

ในระดับคน มีการเฝ้าระวังผู้ป่วยที่มาด้วยอาการทางสมองอักเสบ หรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โดยไม่ทราบสาเหตุ โดยที่ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ได้ทำการตรวจที่โรงพยาบาลจุฬาฯ ตั้งแต่ปี 2001 จนกระทั่งถึงปี 2012 ไม่พบไวรัสนิปาห์ในผู้ป่วย 232 ราย และจากนั้นจนถึงปัจจุบัน ยังคงมีมาตรการในการตรวจไวรัสตัวนี้อยู่ตลอด

 

"ไวรัสนิปาห์" หมอดื้อ ชี้ มนุษย์หยุดรุกล้ำ ทำเชื้อจากสัตว์ "แพร่คนสู่คน"

ไวรัสนิปาห์ อาจจะไม่เป็นเรื่องยาก และซับซ้อนเท่ากับที่เห็นในโควิดในปัจจุบัน ทั้งนี้ เนื่องจากการแสดงออกของโรค หลังจากได้รับเชื้อ จะมีอาการ
ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องไข้ อาการปอดอักเสบ และอาการทางสมอง และผู้ป่วยเมื่อมีอาการส่วนมากจะหยุดอยู่นิ่ง ไม่สบาย จนไม่สามารถแพร่เชื้อไปที่อื่นในวงกว้างได้ แต่กระนั้น มีกรณีที่มีการแพร่จากผู้สอนศาสนาในบังกลาเทศ ไปยังผู้ร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนสิบได้ หรือที่เรียกว่า superspreader

 

การที่เกิดมีเด็กอายุ 12 ปีเสียชีวิต ในเขตทางใต้ของประเทศอินเดีย อาจเป็นจากการกินผลไม้ ที่เปลือกมีสิ่งคัดหลั่ง ที่มีเชื้อไวรัสปะปนอยู่ ซึ่งทางการของประเทศอินเดีย ได้มีการกักตัวผู้ที่สัมผัสกับคนป่วย 188 ราย และยังไม่มีรายงานการแพร่ระบาดในวงกว้าง หนทางในการก่อโรคในคนเช่นนี้ ยังเกิดขึ้นได้จากการที่คนไปรุกล้ำป่า จับสัตว์ป่าฆ่ากิน เอาเลือดค้างคาวมาดื่ม ซึ่งมีเชื้อไวรัสอยู่ด้วย ซึ่งทำให้มีโอกาสสัมผัสกับเลือดอวัยวะ สิ่งคัดหลั่งต่าง ๆ และแพร่ไปยังคนในครอบครัว 

สรุป มนุษย์ต้องเลิกลดละ การบุกรุกทำลายนิเวศน์ของสัตว์ ธรรมชาติ และป่าไม้ และทำให้สัตว์ป่าที่ปฏิบัติตัวเป็นแหล่งรังโรค โดยไม่มีอาการทำการย้ายถิ่นฐาน และมีโอกาสแพร่เชื้อไปยังมนุษย์ และสัตว์เศรษฐกิจได้ง่าย จนระบาดมายังคน"
 

logoline