ข่าว

นายกรัฐมนตรี สั่งติดตามเฝ้าระวังโควิดสายพันธุ์ "มิว"

นายกรัฐมนตรี สั่งติดตามโควิดสายพันธุ์ "มิว" แม้ยังไม่ระบาดในไทย ย้ำฉีดวัคซีนเด็ก 12-18 ปี ผู้ปกครองต้องยินยอมก่อน

 

 

 

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการ ศบค. สั่งติดตามการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์หลังจากองค์การอนามัยโลกได้ประกาศการยกระดับการแพร่ระบาดของโควิด – 19 สายพันธุ์ "MU(มิว)" เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่ต้องเฝ้าระวัง ซึ่งขณะนี้ยังไม่พบการแพร่ระบาดในประเทศไทย

 

 

รวมทั้งขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำข้อสังเกต ข้อเสนอแนะหรือข้อท้วงติงที่เป็นประโยชน์ ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายที่ผ่านมา มาปรับใช้ในการทำงาน เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของประชาชนและช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น 

 

 

นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวว่า การฉีดวัคซีนให้เด็กนักเรียนอายุ 12-18 ปืภายในเดือนตุลาคม โดยจะต้องได้รับการยินยอมจากผู้ปกครอง ยึดหลักและคำแนะนำทางการแพทย์ ครอบคลุมทั้ง นักเรียน ครูและเจ้าหน้าที่ เพี่อสร้าง"โรงเรียนปลอดภัย”

 

 

รวมทั้งสร้างความเข้าใจกับกลุ่มคนที่ปฏิเสธการฉีดวัคซีน ว่าการฉีดวัคซีนสามารถลดอาการเจ็บป่วย ลดการเสียชีวิต

 

 

อ่านข่าวเกี่ยวข้อง : นายกฯ เดินหน้าปฏิรูป"ตำรวจ" 

 

                         "#ธรรมนัส" แซ่ดว่อนเน็ตดีลมีนัยกุมความลับ

 

                         "พล.อ.ประวิตร" สั่งด่วน เร่งช่วยปชช.น้ำท่วม

 

 

ส่วนสถานประกอบการ ธุรกิจขนาดเล็ก หรือ Micro SMEs นายกฯ มีความเป็นห่วงซึ่งจะได้หาแนวทางแบ่งเบาภาระที่เกิดขึ้น จากการเตรียมรองรับมาตรการของรัฐทั้งมาตรการBubble and Seal และ Factory Sandbox  

 

 

อย่างไรก็ตามขอให้ทุกคนปฏิบัติตามมาตรการเพื่อประโยชน์ของตนเอง ภายใต้ความร่วมมือ 3 ฝ่าย ประกอบด้วยรัฐบาล เอกชนและ
ประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้สามารถเดินหน้าตามเป้าหมายในการเปิดประเทศ ฟื้นฟูเศรษฐกิจ ซึ่งหลายประเทศได้จับตามองไทย เพื่อใช้เป็นตัวอย่างในการดำเนินงานเช่นกัน

 

 

โฆษกรัฐบาล กล่าวอีกว่า นายกฯ ยังห่วงใยสถานการณ์น้ำท่วมในขณะนี้ โดยกำชับทุกส่วนราชการเตรียมแผนเผชิญเหตุในทุกพื้นที่ทั้งส่วนภูมิภาครวมทั้งกรุงเทพมหานคร เพื่อให้ช่วยเหลือประชาชน รวมทั้งสัตว์เลี้ยงในพื้นที่ได้อย่างทันท่วงที เพราะในขณะนี้ รัฐบาลกำลังเดินหน้าแก้ปัญหาทุกมิติ ทั้งโควิด เศรษฐกิจและภัยธรรมชาติไปพร้อมๆ กัน

ข่าวยอดนิยม