ในการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)วันนี้ ( 7 ก.ย. ) มี"วาระ ครม."ที่น่าสนใจหลายเรื่อง
- กระทรวงแรงงาน จะนำเรื่องเยียวยารอบสองให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขอพิจารณาอนุมัติกรอบวงเงินให้กับผู้ประกันตนมาตรา 33 อีกคนละ 2,500 บาท
เมื่อรวมกับเงินที่จ่ายงวดแรกไปเมื่อเดือนส.ค. คนละ2,500 บาท ผู้ประกันตน มาตรา 33 จะได้เงินเยียวยารวมเป็นเงิน 5,000 บาท
โดยคาดว่าจะได้รับเงินเยียวยาหลังจากประชุมครม.เสร็จสิ้น หรือภายในเดือนกันยายนแน่นอน
อ่านข่าวเกี่ยวข้อง : มหาดไทย ชง ครม. ไฟเขียว "เลือกตั้งท้องถิ่น" ผู้ว่าฯกทม.-นายกเมืองพัทยา -อบต.
:ลุ้นรอบ2 แจกเยียวยา 2,500 "ผู้ประกันตน" ม.33 ใน 13 จว.สีแดงเข้ม
:ธรรมนัส ซัดไอ้ห้อยไอ้โหน พปชร. ปูดข่าวล็อบบี้เสียงสภา "ล้มนายกฯ" ยันไม่จริง
สำหรับการเยียวยาผู้ประกันตน มาตรา 33 คนละ 2,500 บาทในรอบที่ 2 จะได้รับเฉพาะ 13 จว.พื้นที่สีแดงเข้มตามประกาศศบค.เท่านั้น เนื่องจากทั้ง 13 จังหวัด ถูกสั่งปิดกิจการ กิจกรรม อันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตั้งแต่เดือนก.ค.-ส.ค. เป็นเวลาประมาณ 2 เดือน
ส่วนการจ่ายเยียวยาให้กับผู้ประกันตน มาตรา 39 และ มาตรา 40 คนละ 5,000 บาท จะใช้หลักเกณฑ์ดังกล่าวเช่นเดียวกันคือ หากเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 และ มาตรา 40 ใน 13 จังหวัดสีแดงเข้มจะได้รับเงินคนละ 5,000 บาทครั้งที่ 2
ทั้งนี้ 13 จังหวัดสีแดงเข้ม ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และ สงขลา
ในส่วนกระทรวงมหาดไทยพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย เสนอคณะรัฐมนตรีเห็นสมควรให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งก็ได้ อบต. ผู้ว่าฯ กทม. และนายกเมืองพัทยา ซึ่งปีนี้ถือว่าเป็นปีแห่งการเลือกตั้งท้องถิ่น
ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการเลือกตั้งนายก อบจ. สมาชิกสภา อบจ. นายกเทศมนตรี สมาชิกสภาเทศบาลทั่วประเทศไปแล้ว
อีกเรื่องที่ต้องจับตา คือการตั้งเลขา สมช. คนใหม่ ซึ่งก่อนหน้านี้เมื่อวันที่26 ส.ค.ที่ผ่านมา สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เป็นประธานการประชุม ได้มติเห็นชอบแต่งตั้ง พล.อ.สุพจน์ มาลานิยม
เสนาธิการทหาร ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ สมช.คนใหม่ แทน พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ เลขาธิการ สมช.ที่จะเกษียณอายุราชการในวันที่ 30 ก.ย.นี้
ซึ่งตามขั้นตอนจะต้องนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาให้ความเห็นชอบ
นอกจากนี้ต้องรอดูท่าทีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ต่อกรณีข่าวยกเลิก พ.ร.ก. ฉุกเฉิน และยุบ ศบค. ซึ่งมีรายงานข่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จะเรียกประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค. ชุดใหญ่ในวันศุกร์ที่ 10
กันยายนนี้
ซึ่งคาดการณ์ว่าจะมีการพิจารณาทบทวนการใช้อำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทั้งมาตรา 5 การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรซึ่งจะให้สิ้นสุดในวันที่ 30 ก.ย.นี้
และรวมถึงมาตรา 9 ซึ่งใช้ออกข้อกำหนดต่าง ๆ โดยจะกลับไปใช้กฎหมายพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 แทน ทั้งนี้จะส่งผลให้ ศบค.สิ้นสภาพไปโดยปริยาย และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบตามหน้าที่ปกติโดยเฉพาะกระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่
1 ต.ค.นี้เป็นต้นไป
อีกเรื่องต้องจับตาคือ ท่าที ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรฯ กับการประชุมครม.ครั้งนี้ หลังจากถูกกล่าวหาว่าเป็นคนที่อยู่เบื้องหลังการล็อบบี้ล้มนายกรัฐมนตรีและ ร.อ. ธรรมนัส อาจถูกเช็กบิลริบคืนทุกเก้าอี้ที่นั่งอยู่
ข่าวที่เกี่ยวข้อง