ข่าว

ไทยเฮองค์การต่อต้านเปิดทางฟื้น"ศูนย์ตรวจสารต้องห้าม"เอื้อจัดกีฬาสากล

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล บอร์ดคณะกรรมการโอลิมปิกสากล เผยข่าวดี องค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลก ผ่อนคลายให้ไทยกลับมาเปิด"ศูนย์ตรวจสารต้องห้าม" ที่ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล หลังจากถูกปิดตั้งแต่ปี 2019 ระบุเป็น 1ใน 6 ที่เปิดให้บริการในเอเชีย


 

คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล กรรมการคณะกรรมการโอลิมปิกสากล หรือ ไอโอซีเมมเบอร์ เปิดเผยว่า     ในการพบปะกับ   วิโทลด์ บันกา ประธานองค์การต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลก หรือ วาดา   ตนได้ติดตามถึงความคืบหน้าในการกลับมาเปิดใช้งาน "ศูนย์ตรวจสารต้องห้าม" ของไทย ว่าเป็นอย่างไร หลังจาก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย ได้ดำเนินการปรับปรุงให้เป็นไปตามมาตรฐานของวาดา มาอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา

 

ขณะนี้ทราบจากทางวาดาว่า  อนุญาตให้ไทย  กลับมาเปิด "ศูนย์ตรวจสารต้องห้าม" เนื่องจากทุกอย่างกลับอยู่ในมาตรฐานที่ทางวาดา กำหนดไว้  จากที่ก่อนหน้านี้ ศูนย์ดังกล่าว ถูกให้ปิดตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ปี 2019  ความสำเร็จครั้งนี้ เกิดจากความร่วมมือของทุกหน่วยงาน โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ธันย์ สุภัทรพันธุ์  รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยฯ และรักษาการผู้อำนวยการสถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุพรชัย กองพัฒนากูล และ การกีฬาแห่งประเทศไทย

 

ที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ประธานคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ได้มอบหมายให้ ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการ   การกีฬาแห่งประเทศไทย  และ นายแพทย์มีชัย อินวู๊ด ผู้อำนวยการสำนักงานควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา รวมไปถึง พล.อ. ประวิตร ในฐานะประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยฯ  มอบหมาย ให้ นายแพทย์วารินทร์ ตัณฑศุภศิริ ประธานฝ่ายแพทย์ ของคณะกรรมการโอลิมปิกฯ    เข้ามาสนับสนุน  จนทำให้ไทย กลับมาเป็น 1 ใน 30  "ศูนย์ตรวจสารต้องห้าม" ของโลก เป็น 1 ใน 6 แห่งของเอเชีย 


นโยบายของวาดา หลังจากนี้ จะมีแต่ลดจำนวนศูนย์ตรวจสารต้องห้ามโลกในทั่วโลก  ดังนั้นการที่ไทย ได้กลับมาเปิดใช้งานศูนย์ตรวจสารต้องห้าม ที่มหาวิทยาลัยมหิดล ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดี  ในอนาคต ไทยกำลังจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันรายการระดับนานาชาติอีกมากมาย การที่มีศูนย์ตรวจตรวจสารต้องห้ามขึ้นมารองรับ ทำให้ไทย จะได้รับการยอมรับจากทั่วโลกเพิ่มขึ้น 


ล่าสุด อินโดนีเซีย ก็ส่งตัวอย่างมาให้ไทย ตรวจแล้ว 600 ตัวอย่าง ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นที่น่าพอใจ เพราะตามเกณฑ์ วาดา กำหนดให้ศูนย์แต่ละแห่ง จะต้องตรวจให้ได้ 3,000 ตัวอย่างต่อปี อย่างไรก็ตาม ศูนย์แห่งนี้ อาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนแนวทางการทำงาน ด้วย       เนื่องจากทางวาดา เสนอว่า อยากให้ศูนย์นี้ เหมือนกับทุกแห่งทั่วโลก ที่ทำงานอย่างเป็นกลาง และอิสระ ไม่ขึ้นตรงกับหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งเรื่องนี้ การกีฬาแห่งประเทศไทย รับทราบแล้ว และพร้อมจะดำเนินการตามคำแนะนำของวาดา อย่างเร่งด่วน

ไทยเฮองค์การต่อต้านเปิดทางฟื้น"ศูนย์ตรวจสารต้องห้าม"เอื้อจัดกีฬาสากล

 

 

ไทยเฮองค์การต่อต้านเปิดทางฟื้น"ศูนย์ตรวจสารต้องห้าม"เอื้อจัดกีฬาสากล

 

 

ไทยเฮองค์การต่อต้านเปิดทางฟื้น"ศูนย์ตรวจสารต้องห้าม"เอื้อจัดกีฬาสากล

 

 

ไทยเฮองค์การต่อต้านเปิดทางฟื้น"ศูนย์ตรวจสารต้องห้าม"เอื้อจัดกีฬาสากล

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ