ข่าว

"เปิดเอกสาร" สั่งเก็บข้อมูลสถิติผู้ชุมนุมติดเชื้อโควิด-19

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"เปิดเอกสาร"ศบค. สั่งเก็บข้อมูล ผู้ชุมนุม ติดเชื้อ พร้อมระดมจัดหายาฟาวิพิราเวียร์ จากสิงคโปร์ อิสราเอล ยูเออี

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ส่งหนังสือเวียน "เปิดเอกสาร"ศบค. เสนอความเห็น เก็บข้อมูลสถิติ"ผู้ชุมนุม"ติดเชื้อโควิด-19 

 

ผู้สื่อข่าวรายงานจากทำเนียบรัฐบาล  เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2564  สำนักเลขาธิการคณะรัฐมตรี (ครม.)  ได้ส่งหนังสือเวียน ถึงรองนายกรัฐมนตรี  รัฐมนตรี และกระทรวง ทบวง กรม  ให้รับทราบถึงผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19 ) (ศบค.) เมื่อวันที่ 1 สิงหาคมที่ผ่านมา ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เป็นผู้อำนวยการ ศบค. เป็นประธานประชุมประธานในที่ประชุมผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์

 

"เปิดเอกสาร" สั่งเก็บข้อมูลสถิติผู้ชุมนุมติดเชื้อโควิด-19

 

รายงานการประชุมฉบับดังกล่าว มีประเด็นน่าสนใจอย่างยิ่ง อันเป็นผลจากการรายงานสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิดที่ยังเพิ่มสูงขึ้น 

 

ทั้งนี้ การประชุมศบค.เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2564  นอกจาก พิจารณาขยายระยะเวลาการบังคับใช้มาตรการยกระดับควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จนนำไปสู่การประกาศมาตรการล็อกดาวน์ 29 จังหวัดแล้ว 

 

พบว่า ในที่ประชุมได้มีการเสนอความเห็นเพื่อหาทางลดการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ให้ได้ภายในสิ้นเดือนสิงหาคมนี้ 

 

เช่น นอกจากระดมการติดต่อซื้อยาฟาวิพิราเวียร์  จากอินเดีย สิงคโปร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์แล้ว 

 

อีกประเด็นมีการเสนอให้ รวบรวมสถิติ การติดเชื้อของผู้ชุมนุมในที่สาธารณะ นำมาวิเคราะห์ร่วมกับ การติดเชื้อของกลุ่มต่างๆในสังคม 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ตร.เตือน กลุ่มผู้ "ชุมนุม" เสี่ยงติดโควิด-19 พ่วงผิดกฎหมาย คุก 2 ปี 

ช็อก.! ม็อบมือระเบิดติด"โควิด" ผวา"คลัสเตอร์" แพร่เชื้อกลางกรุงฯ

"โควิดวันนี้" พบผู้เสียชีวิตยังพุ่งถึง 209 ราย ตัวเลขผู้ป่วยใหม่ยังทะลุหลัก 2 หมื่น

 

ที่ประชุมมีความเห็นและข้อเสนอดังนี้  1. ควรลดระยะเวลาและเพิ่มช่องทงในการเข้าถึงยาเพื่อรักษาอาการของโรคโควิด-19 ของประชาชนให้มีความสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น  เมื่อเข้าสู่ระบบการแยกกักตัวที่บ้าน หรือแยกกักในชุมชน โดยเฉพาะยาฟาวิพิราเวียร์ ที่จะจัดให้ทันทีที่ตรวจพบว่าติดเชื้อ

 

2.ควรให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาโรคโควิด-19 และพิจารณาปรับปรุงคู่มือการรักษาโรคโควิด-19 ให้เทียบเท่าระดับสากล รวมทั้งศึกษาข้อมูลยาชนิดอื่นๆ ของภาคเอกชนหรือในต่างประเทศ และเพิ่มช่องทางให้สถานพยาบาลเอกชนสามารถสั่งซื้อยาได้โดยตรง อาทิ การสั่งซื้อยาจากประเทศอินเดีย ซึ่งได้มีการเจรจาไว้เบื้องต้นแล้วเป็นกรณีพิเศษ ภายใต้โควต้าของประเทศไทย 

 

รวมถึงการพิจารณาความร่วมมือด้านยาร่วมกับสาธารณรัฐสิงคโปร์ อิสราเอล และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์  ผ่านกระทรวงการต่างประเทศ 

 

ทั้งนี้ควรเร่งจัดเตรียมยาต้านไวรัสโควิด -19 ชนิดอื่นๆ นอกจากยาฟาวิพิราเวียร์ เพื่อรองรับการแพร่ระบาดที่อาจมีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเดือนสิงหาคม และกันยายน 2564 

"เปิดเอกสาร" สั่งเก็บข้อมูลสถิติผู้ชุมนุมติดเชื้อโควิด-19

 

3. ควรมีการจัดทำสถิติข้อมูลการติดเชื้อของผู้ป่วยและผู้เสียชีวิต อาทิ ร้อยละของการติดเชื้อจากการชุมนุมในพื้นที่สาธารณะ ร้อยละของการเสียชีวิตในกลุ่ม 608 (ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป กลุ่มโรคเรื้อรัง และหญิงตั้งครรภ์  ) ร้อยละของการได้รับวัคซีนในกลุ่มผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิต

 

4.ควรมีการนำเสนอรายงานการทบทวนคู่มือการรักษาของ สธ.และการปรับความสะดวกการเข้าถึงยาต้านไวรัสที่มีคุณภาพตามความเหมาะสม ของสถานะของผู้ติดเชื้อ /ผู้ป่วย เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตลง และลดภาระของบุคลากรทางการแพทย์ในการรับมือกับผู้ป่วยอาการหนัก

 

ทั้งนี้ ให้นำเสนอยุทธศาสตร์การเตรียมพร้อมในการเตรียมยาสำรองสำหรับผู้ป่วย และประเภทของยาที่พึงมีตามมาตรฐานสากล เพื่อใช้ในการรักษาให้เพียงพอ โดยให้นำเสนอ ศบค.ภายใน 30 วัน 

 

5. ให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการรวบรวมรายชื่อสถานพยาบาลที่มีความประสงค์เข้าร่วมโครงการที่จะพิจารณาสั่งซื้อยาตามที่กระทรวงการต่างประเทศได้รับด้วยมิตรภาพอันดีจากประเทศอินเดีย โดยให้จัดทำสรุปยอดรวม ประเภทยา  ทั้งรัฐและเอกชน ภายใต้โครงการนี้ เสนอ ศบค.ภายใน 15 วัน 

logoline