ข่าว

ไขความลับ "เดลตา" โควิด-19 กลายพันธุ์ ติดต่อได้เร็ว - อาการของโรครุนแรง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

หมอธีระวัฒน์ โพสต์ ไขความลับสายกลายพันธุ์ "เดลตา" ย้ำ 2 เข็มติดเชื้อได้ ประสานเสียงหาวัคซีนหลากหลายเพิ่ม ชี้ โควิด-19 ไม่ขึ้นกับดวง

30 มิถุนายน 2564 เกาะติดสถานการณ์วิกฤติการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โรคโควิด-19 (COVID-19) หมอธีระวัฒน์ ศ.นพ. ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ไขความลับ สายเดลตา ระบุ ไวรัสดึงให้เซลล์ที่ติดเชื้อในปอดให้ไปแนบชิดกับเซลล์อื่น โดยไม่ต้องหลุดออกมาจากเซลล์เดิม เพื่อไวรัสจะได้ทะยานไปหาเซลล์ใหม่ ดังนั้น ระบบภูมิคุ้มกันในน้ำเหลือง หรือที่ในเยื่อบุ ทั้งจากสร้างในร่างกายเองและจากวัคซีน เช่นจาก mRNA จะไม่เห็นและขัดขวางไม่ได้ดีนัก ดังนั้น อาจจะเป็นเครื่องอธิบายว่าทำไมถึงติดต่อได้เร็ว และอาการของโรคจึงรุนแรงกว่าสายพันธุ์อื่น แต่คณะผู้รายงานยังเชื่อว่าวัคซีน ก็ยังลดความรุนแรงได้

โควิด-19, เดลตา, ไขความลับ, หมอธีระวัฒน์, วัคซีน โควิด-19, แอสตร้าเซนเนก้า, ซิโนแวค

รายงานจากคณะ ของ Markus Hoffman of Georg-August-University Göttingen in Germany

ขณะที่ก่อนหน้านี้ วันเดียวกัน หมอธีระวัฒน์ ย้ำๆๆๆๆ ฉีดแล้วครบ 2 เข็ม วัคซีน โควิด-19 ซิโนแวค (sinovac) หรือ แอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) ติดได้ หมอเราเองที่ทำงานอยู่ วินัยสูงอยู่ยังถูกรุกล้ำ หวั่นไหว ร่วมประสานเสียงกันจากราชวิทยาลัย อายุรแพทย์ และสมาคมโรคติดเชื้อ และพวกเราด้วย หาวัคซีนหลากหลายเพิ่ม

โควิด-19, เดลตา, ไขความลับ, หมอธีระวัฒน์, วัคซีน โควิด-19, แอสตร้าเซนเนก้า, ซิโนแวค

โควิด-19, เดลตา, ไขความลับ, หมอธีระวัฒน์, วัคซีน โควิด-19, แอสตร้าเซนเนก้า, ซิโนแวค

โควิด-19, เดลตา, ไขความลับ, หมอธีระวัฒน์, วัคซีน โควิด-19, แอสตร้าเซนเนก้า, ซิโนแวค

และวันเดียวกัน หมอธีระวัฒน์ ยังระบุอีกว่า ไม่ใช่เรื่องง่าย บ้านเดียวกันติด บางคนตาย บางคนติดแต่เฉยๆ เกิดขึ้นแม้ในคนฉีดวัคซีน โควิด-19 ไปแล้ว ผลลัพธ์ ขึ้นกับ คน - เชื้อ - วัคซีน (ขึ้นกับดวง? - host factor และ host response) ไวรัสหลุดรอดแนวป้องกันจากวัคซีน เกิดติด ขึ้นกับ "ปริมาณและประสิทธิภาพ" ของภูมิคุ้มกันในน้ำเหลืองและที่ในจมูกและลำคอ ต่อไวรัสนั้นๆ ถ้ายิ่งกลายพันธุ์ ยิ่งแย่ ติดเชื้อไปแล้วเกิดอาการหนัก การตาย คือ กระบวนการของระบบชั้นต้น และเซลล์ เช่น T cell แบบต่างๆ CD8 และ ภูมิที่ยับยั้ง ทั้งหมดหรือบางส่วนที่ว่า: ไม่มา / มา ไม่ทัน / มาแล้วแทนที่จะทำลายไวรัส กลับทำให้อักเสบมากขึ้น เป็นแล้ว เป็นอีก คือความจำสั้น ทั้ง ระบบเซลล์ T และ B แก้ไขอย่างไร? คือใส่หน้ากาก รักษาวินัยสูงสุด รักษาระยะห่าง ถ้าอยู่ในครอบครัวเดียวกันแต่คนในครอบครัวทำงานนอกบ้าน อาจไม่น่าไว้วางใจ ง่ายๆ นิดเดียว แค่ทำ

โควิด-19, เดลตา, ไขความลับ, หมอธีระวัฒน์, วัคซีน โควิด-19, แอสตร้าเซนเนก้า, ซิโนแวค

CR : ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ