ข่าว

"มนัญญา"- 3 อธิบดีฯ ลงนครศรีฯ วางแผนรับมือผลผลิต "ผลไม้"

"มนัญญา"- 3 อธิบดีฯ ลงนครศรีฯ วางแผนรับมือผลผลิต "ผลไม้"

13 มิ.ย. 2564

รมช.เกษตรฯ"มนัญญา ไทยเศรษฐ์"พร้อม 3 อธิบดีลงพื้นที่จ.นครศรีฯเพื่อวางแผนเตรียมรับมือผลผลิต "ผลไม้"ที่กำลังออกสู่ตลาดในอีก2เดือนข้างหน้า

นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พร้อมด้วยนายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรและนายโอภาส ทองยงค์ อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์และคณะลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ณ สหกรณ์การเกษตรพรหมคีรี จำกัด ตำบลทอนหงส์ อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช
โดยมีนายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช นายไพฑูรย์ ชนะชู สหกรณ์จังหวัดนครศรีธรรมราช นายเกรียงศักดิ์ รักษ์สีทอง นายอำเภอพรหมคีรี นายธวัช เอี่ยมชลคำ ประธานที่ปรึกษาสหกรณ์ฯ หัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ สมาชิกสหกรณ์ และเกษตรกร ให้การต้อนรับ

 

\"มนัญญา\"- 3 อธิบดีฯ ลงนครศรีฯ วางแผนรับมือผลผลิต \"ผลไม้\"
 

 

\"มนัญญา\"- 3 อธิบดีฯ ลงนครศรีฯ วางแผนรับมือผลผลิต \"ผลไม้\"

 

โอกาสนี้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบใบรับรองมาตรฐาน GAP ให้กับสมาชิกสหกรณ์และเกษตรกรจำนวน 40 รายพร้อมมอบชุดชีวภัณฑ์ ได้แก่ ปุ๋ยหมักแบบเติมอากาศ ปุ๋ยหมักชีวภาพ และแหนแดง ให้แก่เกษตรกรเพื่อใช้ในการควบคุมป้องกัน กำจัดศัตรูพืช ส่งเสริมการผลิตผลไม้คุณภาพ ผักคุณภาพ เพื่อสร้างความปลอดภัยแก่เกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภค

จากนั้นได้พบปะสมาชิกสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และประชาชนในพื้นที่ที่มารอต้อนรับ ได้กล่าวขอบคุณทุกภาคส่วนที่มีส่วนร่วมในการพัฒนา สนับสนุน และขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์สู่พี่น้องเกษตรกร นำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม เพื่อให้ประชาชนอยู่ดีกินดีอย่างมั่นคงและยั่งยืน มีการบูรณาการการทำงานร่วมกันในการส่งเสริมการผลิต การแปรรูป และการตลาด รวมทั้งการพัฒนาแนวทางการส่งเสริมสหกรณ์ กลุ่มเกษตรในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชด้วย

 

\"มนัญญา\"- 3 อธิบดีฯ ลงนครศรีฯ วางแผนรับมือผลผลิต \"ผลไม้\"

 

สหกรณ์การเกษตรพรหมคีรี จำกัด จดทะเบียนจัดตั้งเป็นสหกรณ์ระดับอำเภอ เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ.2521 ดำเนินงานมาเป็นระยะเวลา 43 ปี ปัจจุบันมีสมาชิก 2,687 ครัวเรือน มีทุนการดำเนินงานมากกว่า 616 ล้านบาท ดำเนินธุรกิจ 5ด้าน ได้แก่ การรับฝากเงิน การให้สินเชื่อ การแปรรูปผลผลิตการเกษตร (ผลิตยางแผ่นรมควัน) การจัดหาสินค้ามาจำหน่าย และการรวบรวมผลผลิต

 

\"มนัญญา\"- 3 อธิบดีฯ ลงนครศรีฯ วางแผนรับมือผลผลิต \"ผลไม้\"

 

ทั้งนี้กรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นหน่วยงานหลักในการแนะนำส่งเสริมกิจการงานของสหกรณ์มาตั้งแต่ต้นและยังได้อุดหนุนงบประมาณในการจัดหาอุปกรณ์การตลาดที่จำเป็นในการรวบรวมผลผลิตทางการเกษตร โดยได้จัดงบประมาณเพื่อสร้างอาคารรวบรวมและคัดแยกผลผลิต จำนวน 2 หลัง พร้อมอุปกรณ์ ในปี 2559 และ ปี 2561 งบประมาณรวม 16 ล้านบาท ซึ่งอาคารรวบรวมและคัดแยกผลผลิตพร้อมอุปกรณ์ดังกล่าว สหกรณ์ได้ใช้ประโยชน์เต็มประสิทธิภาพในการรวบรวมผลผลิตมังคุดในฤดูการผลิตที่ผ่านมา การรวบรวมผลผลิตของสหกรณ์ได้ช่วยระบายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิตจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการสนับสนุนมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรของจังหวัดในภาวะราคาผลผลิตตกต่ำ รวมทั้งอาคารรวบรวมและคัดแยกผลผลิตแห่งนี้ ได้รับการรับรองมาตรฐาน GMP แล้วด้วย

 

\"มนัญญา\"- 3 อธิบดีฯ ลงนครศรีฯ วางแผนรับมือผลผลิต \"ผลไม้\"

 

"นายกรัฐมนตรีเป็นห่วงเรื่องของมาตรฐานGAP ของเกษตรกร เพราะผลผลิตการเกษตรต้องผ่านมาตรฐาน GAP เท่านั้นจึงจะสามารถส่งออกไปต่างประเทศได้ ปัจจุบันเกษตรกรมีความตื่นตัวเรื่องมาตรฐานGAP และยื่นขอการรับรอง GAP เข้ามาอย่างต่อเนื่องก็จะเร่งดำเนินการให้เร็วที่สุด โดยให้กรมวิชาการเกษตรและกรมส่งเสริมสหกรณ์ทำงานประสานกัน โดยสหกรณ์การเกษตรแต่ละพื้นที่จะเป็นตัวแทนเกษตรกรในการติดต่อกับกรมวิชาการเกษตร ในการขอรับรองมาตรฐานGAP ให้กับเกษตรกรที่เป็นสมาชิกซึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช มีเกษตรกรที่ทำสวนผลไม้ ขอรับรองมาตรฐานGAP จำนวน 2400 ราย ก็ได้สั่งการให้กรมวิชาการเกษตร เร่งออกใบรับรองให้ครบภายในเดือนสิงหาคมนี้  เพื่อเตรียมการส่งออกผลไม้ไปจำหน่ายตลาดต่างประเทศ" รมช.มนัญญา กล่าว
จากนั้นได้เยี่ยมชมสวนมังคุดGAP ของนายไพรัตน์ จุลพันธ์ สมาชิกสหกรณ์การเกษตรพรหมคีรี จำกัด จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ปลูก 4 ไร่ ต้นมังคุด 130 ต้น ปีที่ผ่านมีปริมาณผลผลิต 9,000 กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่า 340,000 บาท ซึ่งสหกรณ์การเกษตรพรหมคีรี จำกัด กับสำนักงานสหกรณ์จังหวัดนครศรีธรรมราช บูรณาการความร่วมมือกับกรมวิชาการเกษตรและหน่วยงานภาครัฐ เข้ามาสนับสนุนองค์ความรู้ การบริหารจัดการสวนมังคุด การผลิตมังคุดคุณภาพ การจัดการระบบน้ำ การเก็บเกี่ยว และได้สนับสนุนปัจจัยการผลิต ได้แก่ ปุ๋ยผสมของสหกรณ์ เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต สนับสนุนเงินทุน รวมทั้งสหกรณ์ยังเป็นจุดรวบรวมผลไม้ของสมาชิกและเกษตรกรในพื้นที่เพื่อช่วยกระจายผลผลิตไปยังตลาดในจังหวัดและต่างจังหวัด ในอนาคตจะพัฒนามังคุดคุณภาพให้มีมาตรฐานส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ พร้อมทั้งพัฒนาสวนมังคุดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร เพื่อให้สมาชิกสหกรณ์และชุมชนมีรายได้อย่างยั่งยืนต่อไป