ข่าว

อย่าใช้วิธีนี้ "อาจารย์เจษฎ์" เตือนต้มน้ำประปาไม่ช่วยลดเค็ม ฉะรัฐแนะนำปชช.ผิดๆ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"อาจารย์เจษฎ์" เตือนอย่าใช้วิธีผิด ชี้ "ต้มน้ำ" ไม่ช่วยให้หายเค็ม แถมยิ่งต้มยิ่งเค็มดื่มไม่ได้ เป็นอันตรายต่อกลุ่มเสี่ยงที่เป็นคนป่วย

วันนี้ 5 ก.พ. 2564 รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ หรือ อาจารย์เจษฎ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์อธิบายถึงกรณีน้ำประปาเค็ม ผ่านเพจ "อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์" โดยระบุว่า

อ่านข่าว "ณวัฒน์" ลั่นแรงถึงใคร ศัลยกรรมเปลี่ยนแปลงได้ทุกอย่าง ยกเว้นนิสัยและความคิด

อย่าใช้วิธีนี้ "อาจารย์เจษฎ์" เตือนต้มน้ำประปาไม่ช่วยลดเค็ม ฉะรัฐแนะนำปชช.ผิดๆ

 

ช่วงนี้เกิดปัญหาน้ำแล้ง บกน้ำทะเลหนุน ทำให้น้ำประปาเค็มขึ้นในหลายพื้นที่ ซึ่งถ้ามีใครที่บ้านที่มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับโรคไต หรือโรคความดันอยู่ ก็ควรจะงดเว้นดื่มน้ำที่มีความเค็มสูงขึ้นนี้นะครับ เพราะจะได้รับปริมาณของแร่ธาตุมากเกินไป

อาจจะจำเป็นต้องซื้อน้ำขวดดื่ม หรือติดตั้งเครื่องกรองน้ำแบบ RO แทน (เครื่องกรองน้ำแบบธรรมดา กรองแร่ธาตุที่ทำให้น้ำเค็มนี้ไม่ได้)

แต่อย่าเข้าใจผิด ไปใช้วิธีการ "ต้มน้ำเพื่อให้น้ำหายเค็ม" เหมือนที่เคยมีคำแนะนำผิดๆออกมาก่อนหน้านี้นะครับ ยิ่งต้มก็ยิ่งเค็มครับ

เอาที่เคยสัมภาษณ์อธิบายเรื่องนี้ไว้ มาให้อ่านกันอีกทีนะครับ น้ำประปาเค็มต้มแล้วยิ่งเค็ม ดื่มไม่ได้

มีคำแนะนำจากรัฐบาลในการนำน้ำดื่มมาต้มเพื่อให้สามารถบริโภคได้ และทางภาครัฐยังขอความร่วมมือจากประชาชนชาวกรุงเทพฯ ประหยัดน้ำคนละ 1 นาที ซึ่ง 1 คน ก็จะประหยัดน้ำได้ 9 ลิตร และทางภาครัฐเชื่อว่าประชาชนกรุงเทพฯ 10 ล้านคน จะประหยัดน้ำได้ถึง 100 ล้านลิตร

ในแง่ความเป็นวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษาเกี่ยวกับน้ำ หากเราเอาน้ำไปต้มจะเกิดปฏิกิริยาที่เรียกว่า "การระเหย" ทำให้ปริมาณของน้ำลดลง แต่ความเค็มที่เกิดจากตะกอนของเกลือไม่ได้ระเหยไปด้วย แทนที่จะลดความเค็ม กลับทำให้น้ำมีอัตราความเข้มข้นของเกลือมากขึ้น เพราะปริมาณน้ำลดลงแต่ปริมาณเกลือเท่าเดิม ดังนั้นเมื่อนำน้ำต้มไปดื่ม ก็จะยิ่งเท่ากับได้รับเกลือในปริมาณมากขึ้น เมื่อเทียบกับมวลของน้ำที่บริโภค ซึ่งอาจเป็นอันตรายกับกลุ่มเสี่ยงที่เป็นคนป่วย

 

คำแนะนำจาก รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ จากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการบริโภคน้ำดื่มที่ถูกต้องก็คือ การเอาไปผ่านระบบที่ทำให้เกลือแร่หายไปให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เช่น การกรองด้วยระบบ Reverse osmosis (RO) หรือการกลั่นน้ำ ไม่ใช่การต้มน้ำ ซึ่งในปัจจุบัน เครื่องกรองน้ำที่ติดตั้งในครัวเรือน บางแบรนด์สามารถกระทำกระบวนการดังกล่าวให้น้ำมีคุณภาพและรสชาติใกล้เคียงกับน้ำดื่มบรรจุขวดแล้ว

อย่างไรก็ตาม ราคาเครื่องกรองน้ำ แบบ RO ค่อนข้างสูง เริ่มต้นที่ราคา 1,000 กว่าบาท ไปถึง 7,000 บาท แตกต่างกันที่จำนวนปริมาณน้ำที่กรองได้ ว่าสามารถกรองได้กี่ลิตร ขนาดความจุของเครื่องกรองน้ำอยู่ที่เท่าใด คุณภาพและชนิดของไส้กรอง และเทคโนโลยีที่เสริมพิเศษไป เช่น การฆ่าเชื้อ ผ่านระบบไฟฟ้า LED เป็นต้น ซึ่งหลายครอบครัวไม่ได้มีกำลังทรัพย์ที่จะซื้อมาใช้ได้ทุกบ้าน

แต่การต้มน้ำเค็มเพื่อหวังให้ระดับความเค็มในน้ำลดลง ก็ไม่ใช่คำตอบทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องแต่อย่างใด 
ภาพและข้อมูล จาก https://m.facebook.com/.../a.4576393.../3014417378576428/...

 

#ลาซาด้าจัดโปรช้อปตรุษจีนเฮงตลอดปีลดสูงสุด88%

 

อย่าใช้วิธีนี้ "อาจารย์เจษฎ์" เตือนต้มน้ำประปาไม่ช่วยลดเค็ม ฉะรัฐแนะนำปชช.ผิดๆ

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ