ข่าว

"ศปอส.ตร." ชี้ 5 ข้อสังเกต ป้องกันถูกหลอกทำธุรกิจแชร์ลูกโซ่ 

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"ศปอส.ตร." แถลงเตือนประชนอย่าหลงเชื่อมิจฉาชีพใช้เน็ตไอดอล รีวิว หลอกทำงานผ่านเว็บไซต์เข้าข่ายแชร์ลูกโซ่ พบเหยื่อเสียหายกว่า 2 พันราย สูญเงิน 142 ล้าน

   
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 1 ธันวาคม 2563 ที่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.) พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รอง ผบ.ตร. ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (ผอ.ศปอส.ตร.) พร้อมด้วย พล.ต.ต.พันธนะ นุชนารถ ผบก.สส.สตม. หัวหน้าชุดปฏิบัติการที่ 1 พ.ต.ท.ชินวุฒิ ตั้งวงษ์เลิศ รองผกก.สส.ตม.3 แถลงมิจฉาชีพใช้ยูทูปเบอร์ เน็ตไอดอล รีวิวหลอกลวงให้ทำงานออนไลน์ในรูปแบบต่าง ๆ โดยอ้างว่าจะได้รับผลตอบแทนสูง จำนวน 4 คดี ดังนี้ 

\"ศปอส.ตร.\" ชี้ 5 ข้อสังเกต ป้องกันถูกหลอกทำธุรกิจแชร์ลูกโซ่ 

    
คดีที่ 1 กลุ่มผู้เสียหายถูกชักชวนจากกลุ่มเฟซบุ๊กของคนหางานทำ และบางรายญาติ หรือเพื่อนแนะนำ ให้ไปทำงานกับเว็บไซต์แห่งหนึ่ง โดยอ้างว่าเป็นการทำงานออนไลน์ ประกอบกับมียูทูปเบอร์ และเน็ตไอดอล ที่มีชื่อเสียง มีผู้ติดตามจำนวนมาก ได้รีวิวว่า ทำแล้วได้รับผลตอบแทนจริง โดยเป็นงานที่จะต้องไปกดไลค์  ให้กับคลิปวีดีโอในแอพพลิเคชั่นเฟซบุ๊ก  , ยูทูป , อินสตาแกรม แล้วจะได้รับผลตอบแทนตามจำนวนที่กดไลค์ แต่มีเงื่อนไขว่า จะต้องสมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซต์ สมาชิกจะมีหลายระดับ แต่ละระดับจะต้องจ่ายค่าสมัครแตกต่างกัน ระดับสมาชิกที่สูงขึ้นค่าสมัครก็จะสูงขึ้น และได้รับจำนวนภารกิจที่ให้ผลตอบแทนสูงตามระดับเช่นกัน เมื่อสมาชิกทำภารกิจตามที่ได้รับมอบหมายแต่ละวันสำเร็จ ก็จะได้ผลตอบแทนเป็นเงินตามอัตรา ที่กำหนด ทำให้ประชาชน หลงเชื่อสมัครเป็นสมาชิกจำนวนมาก โดยในช่วงแรกจะได้รับค่าตอบแทนจากการทำภารกิจจริง จึงมีการแนะนำและชักชวน คนมากขึ้น ต่อมาเริ่มจ่ายผลตอบแทนล่าช้า และเว็บไซต์ดังกล่าวได้ปิดตัวลง มีประชาชนได้รับความเสียหาย กว่า 70 ราย เสียหายมูลค่ามากกว่า 50 ล้านบาท โดยเว็บไซต์ดังกล่าวเปิดตัวเมื่อ 22 กันยายน 2563 และปิดตัวลงเมื่อ 20 ตุลาคม 2563 

    

\"ศปอส.ตร.\" ชี้ 5 ข้อสังเกต ป้องกันถูกหลอกทำธุรกิจแชร์ลูกโซ่ 

 


ส่วน คดีที่ 2 เป็นการหลอกลวงลัษณะคล้ายกับคดีที่ 1 คือ หลอกให้ผู้เสียหายสมัครสมาชิกเพื่อที่จะได้ทำงานเกี่ยวกับออนไลน์ มีประชาชนได้รับความเสียหาย กว่า 700 ราย เสียหายมูลค่ามากกว่า 21 ล้านบาท โดยเว็บไซต์ดังกล่าวเปิดตัวเมื่อ 25 กันยายน 2563 และปิดตัวลงเมื่อ 22 ตุลาคม 2563 

    
คดีที่ 3 เป็นการหลอกชักชวนให้ร่วมลงทุนกับเว็บไซต์แห่งหนึ่ง โดยอ้างว่าเป็นการหาเงินจากการเล่นเกม ซึ่งมียูทูปเบอร์ ที่มีชื่อเสียง มีผู้ติดตามจำนวนมาก ได้มารีวิวว่า เล่นเกมนี้แล้วได้ผลตอบแทนจริง โดยการเล่นจะต้องซื้อสุนัข ที่อยู่ในเกม แล้วนำไปขายต่อให้กับผู้เล่นเกมคนอื่น แต่มีเงื่อนไขว่า จะต้องสมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซต์ก่อน เมื่อผู้เสียหายสมัครบัญชีแล้ว จะต้องเติมเงินเข้าสู่ระบบขั้นต่ำ 100 บาท สำหรับซื้อ “ก้อนทอง” เพื่อใช้ในการซื้อขายสุนัขในเกม ซึ่งจะมีผู้เล่นในระบบเกมมีสุนัขให้เลือก 5 ชนิด เมื่อซื้อสุนัขได้จะเข้าไปอยู่ในบัญชีของผู้เล่น และสามารถนำไปขายต่อผู้เล่นรายอื่นเพื่อทำกำไรได้ ร้อยละ 8 - 40 ซึ่งยังมีผู้เล่นที่สมัครลงทะเบียนรอบแรกในช่วงระบบเกมเปิดตัว สามารถซื้อสุนัขจากระบบเกมได้ โดยอ้างว่ามีจำนวนจำกัด โดยผู้เสียหายจะได้รับผลตอบแทนจากการชักชวนผู้อื่นให้เข้ามาเล่น หากชักชวนครบ 10 คน จะได้รับเงิน 1 พันบาท หากชักชวนครบ 50 คน จะได้รับโทรศัพท์ไอโฟน 11 1 เครื่อง ผู้เสียหายจึงมีการแนะนำและชักชวนคนมากขึ้น ต่อมาระบบเริ่มมีปัญหา และเว็บไซต์ดังกล่าวได้ปิดตัวลง มีประชาชนได้รับความเสียหาย กว่า 500 ราย เสียหายมูลค่ามากกว่า 50 ล้านบาท โดยเว็บไซต์ดังกล่าวเปิดตัวเมื่อ 1 กรกฎาคม 2563 และปิดตัวลงเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2563 

    

\"ศปอส.ตร.\" ชี้ 5 ข้อสังเกต ป้องกันถูกหลอกทำธุรกิจแชร์ลูกโซ่ 


และคดีที่ 4 ผู้เสียหายถูกหลอกให้ไปทำงานกับเพจเฟซบุ๊กชื่อ "The Better Express" หรือ บริษัท เอ็น เค ลีฟ จำกัด อ้างว่าเป็นการทำงานส่งสินค้า พัสดุ ประกอบกับมีการจดทะเบียนธุรกิจการค้าและโฆษณาผ่าน เพจเฟซบุ๊กมีผู้ติดตามจำนวนมาก โดยเป็นงานรถร่วมส่งพัสดุและพนักงานส่งของ สัญญาจ้าง 5 ปี แต่มีเงื่อนไขว่า จะต้องสมัครเป็นสมาชิกของบริษัท ต้องจ่ายค่าสมาชิกและอุปกรณ์ โดยจะได้ผลตอบแทนเป็นค่าจ้างและค่าใช้จ่ายในส่วนอื่น รวมเป็นเงินกว่า 30,000 บาทต่อเดือน จึงมีการแนะนำและชักชวนคนมากขึ้น ต่อมาเมื่อผู้เสียหายไม่ได้รับค่าจ้าง และค่าใช้จ่ายตามที่ตกลงไว้ บางส่วนจ่ายค่าสมัครแล้วแต่ยังไม่ได้ทำงาน และไม่สามารถติดต่อ The Better Express ได้อีก มีประชาชนได้รับความเสียหาย กว่า 1,000 ราย เสียหายมูลค่ามากกว่า 21 ล้านบาท โดยปัจจุบันเฟซบุ๊กดังกล่าวยังเปิดตามปกติ     

 

 

 

ทางด้าน พ.ต.ท.ชินวุฒิ กล่าวอีกว่า ประชาชนสามารถตั้งข้อสังเกตว่าธุรกิจใด อาจเข้าข่ายแชร์ลูกโซ่ ได้ดังนี้ 
1. ทุกคนสามารถที่จะร่วมลงทุนในธุรกิจนั้น ๆ ได้ ไม่จำกัดอายุ อาชีพ เพศ การศึกษา หรือประสบการณ์ใดๆ และสามารถนำเงินมาร่วมลงทุนในธุรกิจได้ไม่จำกัด 

 

2. รับประกันผลตอบแทนในอัตราที่สูงมากในระยะเวลาอันสั้น ลงทุนน้อยได้ผลตอบแทนสูง ยิ่งลงทุนมากยิ่งได้รับผลตอบแทนมากขึ้น รวมถึงมีสิ่งจูงใจในลักษณะของรางวัลต่างๆ เมื่อร่วมลงทุน ในธุรกิจนั้นๆ 

 

3.เน้นการสร้างเครือข่าย รายรับที่ได้มาจากการหาสมาชิกเพิ่ม ไม่ได้มาจากผลการประกอบการของธุรกิจ ไม่สามารถที่จะแสดงข้อมูลทางการเงินของการประกอบธุรกิจได้ 

 

4. มีการสร้างความน่าเชื่อถือ โดยการจัดสัมมนาเปิดตัว/เผยแพร่ธุรกิจใหญ่โต มีการกล่าวอ้าง หรือการนำบุคคลที่มีชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับในสังคมเข้ามาเป็นสมาชิก 

 

5. การชักชวน ระดมหาสมาชิก จะมีการเร่งรัดให้ตัดสินใจเข้าร่วมให้ลงทุน โดยผู้ชักชวน ปิดบังไม่ให้ข้อมูลให้ครบทุกด้าน

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ