ข่าว

แพทย์ศิริราช เผย วัคซีนโควิด-19 ยังไม่รองรับการรักษาหลังพบสารพันธุ์กรรมมีการแปลี่ยนแปลง (มีคลิป)

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เผย สถานการณ์โควิด-19 ทั้วโลกยังวิกฤตคาดแตะ 60 ล้านคนสิ้นเดือนนี้ ขณะการทดลองวัคซีน ยังไม่รับการรักษา หลังพบสารพันธุกรรมมีการปลี่ยนแปลง คาดใช้ได้หลังกลางปี64

3 พ.ย. 63 ศ. ดร. นพ.ประสิทธิ์  วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล วิเคราะห์สถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลกว่า ขณะนี้อยู่ในภาวะวิกฤติมาก แนวโน้มแย่ลง จำนวนผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้น คาดว่าช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกพุ่งสูงถึง 60 ล้านคน ซึ่งจำนวนคนไข้ที่เพิ่มสูงขึ้นจะส่งผลให้ศักยภาพการรักษาลดลง 

ขณะที่สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย ยังไม่เข้าสู่การระบาดรอบ 2 ยังสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงถึง 3 ปัจจัย คือ สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ของประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับประเทศไทยยังอยู่ในภาวะวิกฤต และยังคงมีแนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้น , สภาพอากาศ เย็น ที่จะส่งผลให้คนอยู่ในอาคารมากขึ้นซึ่งเป็นพื้นที่ปิด และละเลยการสวมใส่หน้ากากอนามัยทำให้เชื้อโรคแพร่ได้ง่ายและการชุมนุมการเมืองตามพื้นที่ต่างๆ ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงการแพร่ระบาดของโรคเช่น ไม่สวมใส่หน้ากากอนามัย  , ตะโกน และไม่เว้นระยะห่าง ตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข โดยทั้ง 3 ปัจจัยนี้จะส่งผลอาจทำให้สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศกลับมาแพร่ระบาดอีกครั้ง

ส่วนความคืบหน้าการผลิตวัคซีนโควิด-19 ขณะนี้มีบริษัทที่อยู่ในขั้นตอนการศึกษาทดลองในสัตว์ 88 แห่ง  ส่วนบริษัทที่เข้าสู่เฟสที่ 1 คือศึกษาในคน มีจำนวน 35 บริษัท เน้นดูเรื่องความปลอดภัยเป็นหลัก เข้าสู่เฟสที่ 2 ศึกษาในคนที่มีความหลากหลาย เช่น อายุ วัย เพศ  ใช้จำนวนคนทดลองหลักพัน มีจำนวน 14 บริษัท  เข้าสู่การทดลองในเฟสที่ 3 ศึกษาประสิทธิภาพการป้องกันโควิด-19  โดยใช้วัคซีนจริงและวัคซีนหลอกเพื่อประเมินประสิทธิภาพของการป้องกันโรคโควิด-19 โดยขั้นตอนนี้ใช้จำนวนคนหลักหมื่น มีจำนวน 11 บริษัท และมีอีก 6 บริษัทที่มีการอนุโลมนำวัคซีนมาใช้ในบางพื้นที่ แต่ทั้งหมดยังไม่มีบริษัทใดได้การรับรองประสิทธิภาพจากองค์การอนามัยโลก  

จากการทดลองวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19  ที่ผลิตขึ้นในปัจจุบัน อาจไม่รองรับการป้องกันในอนาคต  เนื่องจากพบว่ารหัสพันธุกรรมของเชื้อโควิด-19 มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา คาดว่าจะมีวัคซีนที่ใช้ได้อย่างเร็วที่สุด กลางปีหน้า 

ศ. ดร. นพ.ประสิทธิ์  ยังระบุ แม้ว่าขณะนี้การผลิตวัคซีนโควิด-19 ยังไม่สามารถนำมาใช้ได้ สิ่งที่สามารถป้องกันโควิด-19 คือการล้างมือบ่อยๆ สวมหน้ากากอนามัย และรักษาระยะห่าง  ส่วนเรื่องการเปิดรับนักท่องเที่ยวเพื่อให้เศรษฐกิจสามารถเดินหน้าต่อไปได้ ควรมีเงื่อนไขทำตามมาตรการป้องกันโรค

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ