ข่าว

อุบลฯ ลุ้น เปิดด่าน "ปากแซง" รับนักท่องเที่ยว-ฟื้นฟูเศรษฐกิจ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

อุบลฯเตรียมความพร้อมรองรับนักท่องเที่ยว จากเพื่อนบ้านและแรงงานต่างด้าว พร้อมฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังทรุดตัว เป็นการสร้างรายได้ในท้องถิ่นและประเทศชาติ จากการขนส่งสินค้ามูลค่าปีละ 2,000 ล้านบาท ให้ฟื้นตัวกลับมาอีกครั้ง ลุ้น เปิดด่าน "ปากแซง"ต้นเดือนก.ย.นี้

อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี เป็นอีกอำเภอหนึ่ง ที่มีพรมแดนติดกับแม่น้ำโขง ด้านตะวันออกเฉียงเหนือของพื้นที่จังวัดอุบลราชธานี มีแม่น้ำโขงขวางกั้นระหว่างประเทศ โดยมีเมืองละครเพ็ง แขวงสาละวัน สปป.ลาว อยู่ฝั่งตรงข้าม เป็นเมืองหน้าด่าน รองรับประชาชนจากฝั่งประเทศ สปป.ลาว มาตั้งแต่บรรพบุรุษ จนถึงปัจจุบัน 

     อุบลฯ ลุ้น  เปิดด่าน "ปากแซง" รับนักท่องเที่ยว-ฟื้นฟูเศรษฐกิจ

 

ปัจจุบันจุดผ่านแดนแห่งนี้ได้ถูกปิดลง ตามนโยบายของรัฐบาล ด้วยการรุกรายของเชื้อโรคร้าย โคโรน่า โควิด-19 ได้ถูกปิดตัวลงมา ตั้งแต่กลางเดือน มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา ทำให้เกิดความลำบากกันในทุกๆอาชีพ สาขา

     อุบลฯ ลุ้น  เปิดด่าน "ปากแซง" รับนักท่องเที่ยว-ฟื้นฟูเศรษฐกิจ

 

บัดนี้ ชาวอุบลฯ ที่อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชํธานีร่วมใจกัน ผลักดันและเตรียมความพร้อมเพื่อให้มีการเปิดจุดผ่านแดนถาวรแห่งนี้ ให้กลับมารองรับนักท่องเที่ยวพร้อมแรงงานต่างๆ จากประเทศเพื่อนบ้านดังเช่นที่ผ่านมา

    อุบลฯ ลุ้น  เปิดด่าน "ปากแซง" รับนักท่องเที่ยว-ฟื้นฟูเศรษฐกิจ

ดังนั้น โครงการ“การประชุมจัดทำแนวทางการดำเนินการควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศจุดผ่านแดนถาวรบ้านปากแซง อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี” ในระหว่างวันที่ 15-19 สิงหาคม 2563 ณ ห้องประชุมรพ.นาตาล อ.นาตาล จ.อุบลราชธานี โดยมี ว่าที่ร้อยตรีศรายุทธ เจียรมาศ นายอำเภอนาตาล เป็นประธานเปิดการประชุม

 

      อุบลฯ ลุ้น  เปิดด่าน "ปากแซง" รับนักท่องเที่ยว-ฟื้นฟูเศรษฐกิจ

และมีนางสาวมณทิพา มาลาหอม หัวหน้างานความร่วมมือระหว่างประเทศ ด้านสาธารณสุข กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข เป็นผู้นำเสนอโครงการรายงานว่า “การประชุมจัดทำแนวทางการดำเนินการควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศด่านถาวรบ้านปากแซง อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี” พอสังเขป ดังนี้

ประเทศไทยเป็นประเทศ ภาคีสมาชิกองค์การอนามัยโลก ซึ่งได้ให้สัตยาบันว่าจะปฏิบัติตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ.2548 ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2550 จังหวัดอุบลราชธานี ตั้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพรมแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน 2 ประเทศ

 

มีพรมแดนติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 9 อำเภอ กับ 3 แขวง คือแขวงสะหวันนะเขต, สาละวัน และจำปาสัก และมีด่านพรมแดนเข้าออกระหว่างประเทศ เป็นด่านพรมแดนสากล 1 แห่ง, ด่านถาวร 1 แห่ง และด่านผ่อนปรน 8 แห่ง

       อุบลฯ ลุ้น  เปิดด่าน "ปากแซง" รับนักท่องเที่ยว-ฟื้นฟูเศรษฐกิจ

ช่องทางเข้าออกประเทศ พรมแดนอำเภอนาตาล เป็นด่านถาวรซึ่งตั้งอยู่บ้านปากแซง อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีลำน้ำโขงเป็นแนวกั้นพรมแดน ระหว่างอำเภอนาตาล และเมืองละครเพ็งแขวงสาละวัน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว)"

 

ด่านปากแซง" จัดได้ว่าเป็นด่านพรมแดนที่มีความสำคัญมาก โดยมีปริมาณคนผ่านเข้าออกจากลาวมาไทย เฉลี่ย 60-80 คนต่อวัน และเดินทางจากประเทศไทยข้ามไปสปป.ลาว เฉลี่ย 50 คนต่อวัน มีการขนส่งสินค้ามูลค่า ปีละ 2,000 ล้านบาท และจะมีแผนการจัดสร้างสะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 6 ระหว่างอำเภอนาตาลกับเมืองละคอนเพ็ง แขวงสาละวัน เป็นช่องทางเข้าออกประเทศ อีกด้วย  

 

ในปัจจุบันขั้นตอนในการผ่านแดนที่ด่านพรมแดนบ้านปากแซง ผู้เดินทางจะผ่านการสุ่มตรวจสัมภาระจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองอำเภอนาตาล และเดินเข้าตึกเพื่อผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง

 

ปัจจุบันยังไม่มีการตรวจคัดกรองโรคติดต่อผู้เดินทางก่อนเดินทางเข้าสู่ราชอาณาจักรไทย ทำประชาชนที่มาใช้บริการ หรือเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค หรือแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่นได้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี (สสจ.อุบลฯ)  จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

     อุบลฯ ลุ้น  เปิดด่าน "ปากแซง" รับนักท่องเที่ยว-ฟื้นฟูเศรษฐกิจ

โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและจัดทำแนวทางการดำเนินการควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศด่านถาวรบ้านปากแซง 2) เพื่อพัฒนาระบบการคัดกรองโรคติดต่อและการส่งต่อผู้ป่วย ผ่านจุดผ่านแดนถาวร และ 3) พัฒนาระบบข่าวสารการเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพระหว่างประเทศ การประชุม จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 ณ ห้องประชุม รพ.นาตาล กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย 3 กลุ่มดังนี้

 

กลุ่มที่ 1 ความมั่นคง: จนท.ตม./จนท.ศุลากร/ตำระหว่างประเทศและทีมงานตำรวจภูธรนาตาล/กองบัญชาการกองกำลังสุรนารี/ปกครองอำเภอนาตาล

 

กลุ่มที่ 2 ด้านสุขภาพ: ผอ.รพ.นาตาล/สสอ.นาตาล/ผู้ช่วยสสอ.นาตาล/หน.กลุ่มการพยาบาล/หน.ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน/หน.งาน OPD/หน.งาน IPD/หน.งานปฐมภูมิ รพ.นาตาล/ผอ.รพ.สต.ปากแซงและเจ้าหน้าที่

 

กลุ่มที่ 3 ภาคีเครือข่าย 3.1 กลุ่มทุน: นายกอบต.พระลาน/อบต./นายกเทศมนตรี/ผู้นำชุมชน 3.2 กลุ่มจิตอาสา: ประธานชมรมเรือรับจ้างระหว่างประเทศและทีมงาน/ประธานชมรมเรือท่องเที่ยว และทีมงานอสม./อสรป./อสม.บัดดี้ 3.3 ผู้มีอิทธิผลเชิงบวกในชุมชน: ตัวแทนนาท่ารถบ้านปากแซง/ตัวแทนวินรถตู้/รถขนส่งและวินรถทัวร์

 

รูปแบบการจัดอบรมประกอบด้วย การบรรยาย, การแบ่งกลุ่มระดมสมองเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสกัดออกมาเป็นแนวทางการดำเนินงาน การอบรมในครั้งนี้ได้รับสนับสนุนงบประมาณดำเนินงานจากกองบริหารการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข และได้รับสนับสนุนอาจารย์จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ในส่วนห้องประชุมได้รับสนับสนุนจากโรงพยาบาลนาตาล

ว่าที่ร้อยตรีศรายุทธ เจียรมาศ นายอำเภอนาตาล อธิบายในรายละเอียดว่า การประชุมจัดทำแนวทางการดำเนินการควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ที่ด่านพรมแดนถาวรบ้านปากแซงในครั้งนี้ นับเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่พื้นที่จะต้องลุกขึ้นมากำหนดบทบาทและแนวทางการดูแลชุมชนด้วยตนเอง

 

"โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเฝ้าระวัง การควบคุมโรคติดต่อ และการป้องการโรคและภัยสุขภาพข้ามแดน จากประเทศเพื่อนบ้านในทุกกลุ่มโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวิกฤตโควิด ซึ่งในหลายพื้นที่ของจังหวัดอุบลราชธานี ถึงแม้ว่าด่านพรมแดนถาวรบ้านปากแซง อำเภอนาตาลของเรา จะเป็นด่านขนาดเล็กมีปริมาณคนเดินทางข้ามแดนไปมาจำนวนไม่มาก แต่ถ้าหากมีผู้คนหนึ่งในจำนวนที่ข้ามแดนป่วยเป็นโรคติดต่อร้ายแรง เช่นโรควัณโรคระยะแพร่เชื้อ โรคไข้มาลาเรีย หรือโรคไข้เลือดออก เข้าไปพักอาศัยในชุมชนของเราจะมีอะไรเกิดซึ่งผมสามารถคาดเดาได้" นายอำเภอนาตาล ระบุ

      อุบลฯ ลุ้น  เปิดด่าน "ปากแซง" รับนักท่องเที่ยว-ฟื้นฟูเศรษฐกิจ

อย่างไรก็ตามในระยะ 2 วันแห่งการทรงคุณค่านี้ หน่วยงานทั้งฝ่ายความมั่นคง ผู้นำในระดับชุมชน ฝ่ายด้านการแพทย์และสาธารณสุข ภาคีเครือข่ายการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคประชาชนที่เสียสละเวลาอันมีค่ามาร่วมกันคิดสร้างแนวปฏิบัติร่วมกันทั้งฝ่ายความมั่นคง ทีมงานด้านสุขภาพ และภาคีเครือข่ายในชุมชน

      อุบลฯ ลุ้น  เปิดด่าน "ปากแซง" รับนักท่องเที่ยว-ฟื้นฟูเศรษฐกิจ

โดยมีอาจารย์ธวัช มณีผ่อง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มาพาเราคิด และลงมือทำ ขอให้ทุกท่านใช้ทั้งวันนี้เกิดประโยชน์ ด้วยการร่วมแลกเปลี่ยนในกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย แนวทางที่ได้มานี้เราสามารถเอาไปปรับใช้ได้กับทุกพื้นที่ ทุกช่องทางที่เป็นด่านพรมแดน

 

ทั้งที่เป็นด่านพรมแดนสากล ด่านพรมแดนถาวร ด่านพรมแดนที่เป็นจุดผ่อนปรน ตลอดจนประยุกต์ใช้กับชุมชนที่เป็นช่องทางธรรมชาติ อีกทั้ง เป็นการเปิดโอกาสให้ทุกคนได้มาร่วมเรียนรู้ร่วมกัน

 

ผู้สื่อข่าวได้เข้าสอบถามจากชาวบ้านหลายคน บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า อยากให้เปิดด่านปากแซงโดยเร็วที่สุด หากเป็นไปได้ ภายในต้นเดือนกันยายน 2563 ที่จะถึงนี้จะยิ่งดีที่สุด

เรื่องและภาพ โดย กฤษณะ วิลามาศ ผู้สื่อข่าวภูมิภาค จ.อุบลราชธานี

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ