ข่าว

แค่ 2 วันแห่เช็คอิน "ไทยชนะ" กว่า 3 ล้านคน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"นพ.พลวรรธน์" เผยผลสำรวจคนไทยเช็คอิน "ไทยชนะ" วันเสาร์-อาทิตย์ กว่า 3 ล้านคน ปลื้มได้ผลตอบรับดีจากประชาชนกว่าร้อยละ 40 ด้าน "นพ.อนุพงศ์" ย้ำ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มีส่วนช่วยควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19

 

ศูนย์แถลงข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นพ.พลวรรธน์ วิทูรกลชิต ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอีเอส รายงานยอดผู้เข้าแพลตฟอร์ม "ไทยชนะ" 13 ล้านคน มีร้านค้าลงทะเบียนประมาณ 120,000 แห่ง ซึ่งในช่วงวันเสาร์และวันอาทิตย์มีผู้เข้าระบบประมาณ 3,000,000 คน มากกว่าวันธรรมดาประมาณ 1,000,000 คน โดยผลการประเมินประชาชนร้อยละ 40 ให้การตอบรับเป็นอย่างดี

 

ส่วนกิจการขณะนี้ที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนไทยชนะ มีประมาณ 20,000 แห่ง ทางกระทรวงขอให้ทุกร้านค้าเข้าไปลงทะเบียน โดยเข้าเวปไซต์ www.ไทยชนะ.com

 

ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนระมัดระวังถูกหลอกจากเวปไซต์ที่มีการให้ดาวน์โหลดแอพพลิชั่นไทยชนะ ซึ่งถูกปลอมขึ้นมาทำให้คนเข้าใจผิด ทางกระทรวงดีอีเอส ระบุว่า เว็ปไซต์ใดที่มีให้ดาวน์โหลดไทยชนะ นั้นเป็นของปลอม  รวมทั้งหากประชาชนท่านใดได้ข้อความ SMS ให้ดาวน์โหลดนั้นเป็นของปลอมเช่นกัน ขณะนี้ทางกระทรวงกำลังตรวจสอบต้นตอส่ง SMS โดยแพลตฟอร์มไทยชนะ สามารถดาวน์โหลดใน google play และ playstore เท่านั้น หากประชาชนรายใดดาวน์โหลดไทยชนะที่มาจากเว็ปไซต์อื่น ให้ทำการลบทิ้ง หากสงสัยให้โทรสายด่วน 1119

 

อ่านข่าว เปิดช่องโหว่ "ไทยชนะ" ถ้ารัฐไม่รีบจัดการ ปชช.ไม่เอาด้วยแน่

 

 

ทางกระทรวงดีอีเอส ยืนยัน แพลตฟอร์มให้ประชาชนลงทะเบียนไทยชนะก่อนใช้บริการสถานที่ต่างๆ ทางกระทรวงยืนยันว่าข้อมูลใข้ในการสืบสวนโรคเท่านั้น คำนึงถึงความเป็นส่วนตัวของประชาชนและรบกวนประชาชนให้น้อยที่สุด จึงไม่มีการให้ใส่ชื่อและข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งมีให้ใส่หมายเลขโทรศัพท์ครั้งแรกเป็นครั้งเดียวเท่านั้น

 

นอกจากนี้ได้เปิดเผยผลสำรวจ การประเมินพฤติกรรมของประชาชนต่อข่าวปลอมช่วงสถานการณ์โควิด-19 พบว่า ประชาชน ร้อยละ 78.21 ประชาชนรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยสกับโควิด-19 ร้อยละ 57.6 สามารถแยกข่าวปลอมได้ ร้อยละ 35.7 ยังไม่สามารถแยกแยกข่าวปลอมและข่าวจริง โดยการแชร์ข่าวเท็จผ่านเฟซบุ๊กพบมากที่สุด

 

สำหรับสถานประกอบการที่มีประชาชนเช็คอินมากที่สุดอันดับ 1 คือ ร้านค้าปลีก ร้านสะดวกซื้อ ซุปเปอร์มาเก็ต ร้านค้าส่ง อันดับ 2 คือ ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ และอันดับ 3 คือร้านอาหาร ภัตตาคาร ร้านเครื่องดื่ม

 

ส่วนกิจการที่ปฏิบัติตามหลักการควบคุมโรคมากที่สุด คือ ร้านเสริมสวย และคลินิคเสริมความงาม ส่วนที่ปฏิบัติตามหลักการน้อยที่สุด คือ ตลาดสด


 

ขณะที่ นพ.บัญชา ค้าของ รองอธิบดีกรมอนามัย ระบุว่า จากการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพประชาชน พบว่าประชาชนยึดหลักการปฏิบัติป้องกันโรคน้อยลง โดยเฉพาะการเว้นระยะห่าง และการเอามือมาสัมผัสใบหน้า

 

นอกจากนี้กรมอนามัยได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปสำรวจสถานประกอบการหลังมาตรการผ่อนปรน ว่าได้ดำเนินการตามขั้นตอนควบคุมโรคหรือไม่ ซึ่งพบว่ามีร้านใดย่อหย่อนมาตรการ ซึ่งได้ให้เจ้าหน้าที้ไปตักเตือน และนำมาเป็นฐานข้อมูลมาประกอบพิจารณาว่า สถานประกอบการใดเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดการระบาด

 

ด้าน นพ.อนุพงศ์ สุจริยากุล ผู้ทรงคุณวุฒิกรมควบคุมโรค ระบุถึงการต่ออายุใช้อำนาจ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ต่อการควบคุมการระบาดโควิด-19 ว่า พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เป็นการกระชับอำนาจกฎหมาย 40 ฉบับให้ภายใต้การบริหารของนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียว ซึ่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ช่วยได้มาก เพราะมีข้อกำหนดประกอบ เช่น การห้ามเดินทางระหว่างจังหวัด และการเคอร์ฟิว ช่วยให้ควบคุมโรคได้มาก ตัวอย่างกรณีการกักกันผู้ที่เดินทางจากนอกประเทศ ทำให้เกิดความชับในการกักกันผู้ที่มีความเสี่ยง ส่วนมาตรการเคอร์ฟิวมีความจำเป็นโดยเฉพาะที่รัฐกำลังจะเปิดมาตรการผ่อนปรนเพิ่ม ทั้งนี้พบว่า หลังผ่อนปรนมา 2 ระยะ ผลสำรวจพบว่าประชาชนการ์ดตกในเรื่องการสวมหน้ากากการล้างมือ การเว้นระยะห่าง และมีการนำมือสัมผัสใบหน้ามากขึ้น

 

แค่ 2 วันแห่เช็คอิน \"ไทยชนะ\" กว่า 3 ล้านคน

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ