ข่าว

ไขข้อสงสัย เกลียดเลข ก็ต้องเรียน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เพจดังไขข้อสงสัย ทำไมเรายังต้องเรียนคณิตศาสตร์

 

28  สิงหาคม 2562 ผู้ใช้เฟสบุ๊กใช้ชื่อว่า"กลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท" ได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับการเรียนคณิตศาสตร์ โดยระบุว่า  สำหรับการศึกษาคณิตศาสตร์ในไทยระยะแรกๆนั้น ในปี 2414 เราจะได้เรียนบวก ลบ คูณ หาร มาตราส่วนต่าง ๆ  

 

จนเมื่อเวลาผ่านไปเรื่อยๆหลักสูตรจึงเริ่มพัฒนาจนใกล้เคียงกับปัจจุบันในช่วงสมัยปฎิรูปรัชกาลที่ 5 ถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ที่ได้เพิ่มเรื่องพื้นที่(Geomatry), พีชคณิตอย่างง่าย, ตรีโกณมิติ จนถึง บัญญัติไตรยางค์, บัญชีการค้าอย่างง่าย, ค.ร.น.-ห.ร.ม., เศษส่วน, ร้อยละ

โดยในสมัยนี้ ได้กำหนดจุดประสงค์(ระดับมัธยมปลาย)ไว้อย่างชัดเจน คือ

1.เพื่อให้รู้จักคุณค่าของคณิศาสตร์และสามารถนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์แก่ชีวิตประจำวันได้

2. เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการของคณิตศาสตร์กว้างขวางขึ้นกว่าพื้นความรู้เดิม เพื่อเป็นพื้นฐานของการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ชั้นสูงและวิชาที่ต้องใช้คณิตศาสตร์

3. เพื่อฝึกฝนให้มีทักษะ สมาธิ การสังเกต ความคิดตามลำดับเหตุผล ความมั่นใจ ตลอดจนแสดงความรู้สึกนึกคิดนั้นออกมาเป็นระเบียบ ง่าย สั้นและชัดเจน มีความประณีต ความละเอียดถี่ถ้วน ความแม่นยำและรวดเร็ว

4. เพื่อให้เคยชินต่อการแก้ปัญหาและเป็นแนวทางอันจะก่อให้เกิดความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์

5. เพื่อปลูกฝังและส่งเสริมทัศนคติในระเบียบวิธีวิทยาศาสตร์และการคำนวณซึ้งจะเป็นประโยชน์ในการแก้ปัญหา

6. เพื่อให้เข้าใจและเห็นว่าคณิตศาสตร์สัมพันธ์โดยใกล้ชิดกับวิทยาการอื่นๆ

6. เพื่อเป็นพื้นฐานของการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ชั้นสูง และวิชาที่ต้องใช้คณิตศาสตร์

7. เพื่อปลูกฝังทัศนคติและนิสัยในการคิดคำนวณ

 

 

ไขข้อสงสัย เกลียดเลข ก็ต้องเรียน

 

หากลองมองไปที่จุดประสงค์หลักๆของการเอาศาสตร์ด้านนี้มาจัดไว้ในระดับมัธยมนี้ จะเห็นได้ว่าหลายๆข้อนั้นสมเหตุสมผลและสามารถใช้อ้างอิงได้ในปัจจุบัน แต่ก็ยังมีข้อที่ไม่สามารถนำมาอ้างอิงได้แล้ว
นั่นก็คือ

 

"...เพื่อเป็นพื้นฐานของการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ชั้นสูง..."

 

ในส่วนนี้ ผมมองว่ามันเป็นตัวการสำคัญชิ้นหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาลูกโซ่ในการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ในปัจจุบัน อันเนื่องมาจากยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ความต้องการทรัพยากรบุคคลจึงมีอย่างหลากหลายรูปแบบ แน่นอนว่ามนุษย์เราทุกคนควรจะสามารถใช้ทักษะคณิตศาสตร์หลายๆอย่างเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้ แต่นั้นก็ไม่ได้หมายความว่า เราทุกคนจะต้องเรียนพื้นฐานอันซับซ้อนของคณิตศาสตร์ชั้นสูงกันทุกๆคน เพราะว่านอกจากจะก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป 'เวลา' ได้อย่างเปล่าประโยชน์แล้ว ก็เพียงแค่ทำให้เกิดภาระผูกพันในแต่ละวันที่จะต้องมานั่งแก้โจทย์ปัญหาที่มั่นใจเลยว่าชีวิตนี้จะไม่ได้ใช้มันอีกหลังออกจากระบบการศึกษาไป

 

แล้วอย่างนี้ หลังจากเรียนรู้พื้นฐานของคณิตศาสตร์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันจนสามารถนำไปใช้ดำรงชีวิตได้แล้ว ทำไมเรา'ทุกคน'ถึงยังต้องเรียนเรื่องที่ไม่จำเป็นสำหรับ'ทุกคน'ขนาดนั้นอยู่อีก? และคำถามที่ตามมาอีกข้อก็คือ:

 

"หากเราไม่เรียนคณิตศาสตร์ แล้วเราจะเรียนอะไรทดแทนจุดประสงค์ที่สมเหตุสมผลเหล่านั้นได้ล่ะ?"

ปรัชญาดีไหม?

 

ปรัชญาคือศาสตร์เกี่ยวกับหาความรู้ ความจริง เพื่ออธิบายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆตามหลักเหตุผลอย่างกว้างๆ โดยใช้หลักการของวิชาตรรกวิทยาเป็นเครื่องมือ ซึ่งวิชานี้ค่อนข้างตอบโจทย์ในส่วนของจุดประสงค์การเรียนคณิตศาสตร์ได้พอสมควร ทั้งด้านการคิดอย่างเป็นระเบียบและเป็นเหตุเป็นผล ทั้งในและนอกกรอบ

 

[ซึ่งจริงๆแล้วคำว่า'ปรัชญา(Philosophy)'นั้น ถูกบัญญัติขึ้นมาโดยอริสโตเติล นักคณิตศาสตร์ชาวกรีก]

 

แม้ว่าจริงๆแล้ว เนื้อหาของปรัชญาอาจไม่ได้นำมาใช้จริง เพราะแม้แต่เรื่องๆเดียวกัน คนแต่ละคนก็คิดออกมาได้ไม่เหมือนกัน แต่นั้นก็แสดงให้เห็นถึงการคิดตามหลักเหตุผลของตนอย่างหนักแน่น ไม่โอนอ่อนตามผู้อื่นง่ายๆ ซึ่งอุปลักษณะแบบนี้แหละ ที่เหมาะกับสังคมในยุคสมัยแห่งความสร้างสรรค์ ยุคสมัยที่ต้องการความแปลกและแตกต่างอย่างมีเหตุผลและก่อให้เกิดประโยชน์กับสังคม ยุคที่เราไม่ได้ต้องการเพียงแค่ความสามารถที่เป็นไปตามมาตรฐานผุๆสร้างขึ้นมาอีกต่อไปแล้ว

Content Writer : นักเก็ตแมว

#ELScontent #นักเก็ตแมว

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

แบบเรียนคณิตจีนสุดเจ๋ง !? อังกฤษใช้สอนเด็กประถม
เผยผลสำเร็จ"SMP"สร้างดาวรุ่งคณิตศาสตร์-ดาราศาสตร์โอลิมปิก
เคลียร์แล้ว!! วิชาคณิตศาสตร์ "โจ้เก็บมะม่วง"
(คลิปข่าว) การบ้านเด็กถูกหรือผิด?! นักคณิตโอลิมปิกเคลียร์เอง


 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ