ข่าว

3บกวิเคราะห์ เสาค้ำยันรัฐบาลลุงตู่-ตัดตอนบารมีลุงป้อมหรือไม่

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

การแบ่งงานให้รองนายกฯของพล.อ.ประยุทธ์ นายกฯเป็นที่น่าจับตาว่าจะกลายเป็นชนวนความขัดแย้งระหว่างพี่น้อง2ป.หรือไม่ ฟังวิเคราะห์ในรายการ เนชั่นสุดสัปดาห์กับ 3บก.

        

     

                  

รายการเนชั่นสุดสัปดาห์กับ 3 บก. ซึ่งออกอากาศทางเนชั่นทีวีช่อง 22 วันที่ 3 ส.ค. 2562 เวลา 17.00 น. ตอน 'เสาค้ำยันรัฐบาลลุงตู่-ตัดตอนบารมีลุงป้อมหรือไม่' 

          สำหรับรายการในวันนี้มีเพียง 2 บก. คือ นายวีระศักดิ์ พงศ์อักษรและนายบากบั่น บุญเลิศ  เนื่องจากนายสมชาย มีเสน พักชั่วคราวฟื้นฟูสุขภาพ

        โดยการวิเคราะห์เริ่มจากว่า หลังการแถลงนโยบายรัฐบาล, การประชุมคณะรัฐมนตรี และการแบ่งงานให้รองนายกฯ ทำหน้าที่  ปรากฏการณ์ที่ถูกจับตามองคืออนาคตของ “รัฐบาลลุงตู่” จะไปเดินต่ออย่างไร 4 เสาที่ค้ำยันรัฐบาลจะช่วยให้รัฐบาลอยู่สั้นหรืออยู่ยาว ตัวแปรหลักคือเสาในด้านเศรษฐกิจและเสาในด้านความมั่นคง การลดดอกเบี้ยของเฟดในรอบ 11 ปี สะท้อนถึงเศรษฐกิจโลกที่ไม่ดีนัก
     ขณะที่ด้านความมั่นคงมีเหตุวางระเบิดป่วนเมืองเกิดขึ้นหลายจุดต่อเนื่องกัน โดยเฉพาะการเลือกพื้นที่เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ไม่ว่าจะเป็นศูนย์ราชการซึ่งมีที่ตั้งใกล้กับกองทัพ สถานีรถไฟฟ้าสาทรศูนย์กลางเศรษฐกิจของไทย และระเบิดปลอมหน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รอบนี้นายกฯเลือกที่จะควบตำแหน่งรมว.กลาโหลและกำกับดูแลสตช.ด้วยตนเอง
              

         “บิ๊กป้อม” ยังเป็นเสาหลักด้านความมั่นคง
         สำหรับงานที่จัดแบ่งให้กับรองนายกฯทั้ง 5 คน มีดังนี้

        พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ ซึ่งเคยรับผิดชอบงานด้านความมั่นคงทั้งหมด ปัจจุบันเหลือเพียงกระทรวงดิจิตอล กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สภาความมั่นคงแห่งชาติ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน  

       3บกวิเคราะห์ เสาค้ำยันรัฐบาลลุงตู่-ตัดตอนบารมีลุงป้อมหรือไม่

      พูดได้ว่า “บิ๊กป้อม” ยังรับผิดชอบงานความมั่นคงทางไซเบอร์  บริหารจัดการน้ำโดยผันน้ำจากแม่น้ำโขงเข้าสู่พื้นที่ภาคอีสาน งบฯลงทุน 1.8 ล้านล้านบาท และการแจกโฉนดที่ดินให้กับเกษตรกรผู้ยากไร้ซึ่งเป็นนโยบายที่สร้างคะแนนนิยมให้กับรัฐบาลลุงตู่

       3บกวิเคราะห์ เสาค้ำยันรัฐบาลลุงตู่-ตัดตอนบารมีลุงป้อมหรือไม่

        แต่การดึงกระทรวงกลาโหมและสตช. รวมถึงการไม่มอบกระทรวงพลังงาน ให้ “บิ๊กป้อม”ดูแล แม้นายกฯจะให้เหตุผลว่าเป็นการแบ่งเบาภาระงาน แต่ก็ทำให้เกิดอาการงอน 

         “สมคิด”เสาค้ำยันด้านเศรษฐกิจ 

    3บกวิเคราะห์ เสาค้ำยันรัฐบาลลุงตู่-ตัดตอนบารมีลุงป้อมหรือไม่
          นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ ซึ่งเปรียบได้กับเสาค้ำยันด้านเศรษฐกิจ กำกับดูแลงานด้านเศรษฐกิจเต็มรูปแบบ รับผิดชอบกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการอุดมศึกษาฯ กระทรวงพลังงาน กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน บริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน)   สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน)    และกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ  พูดได้ว่านายสมคิดดูแลหน่วยงานด้านเศรษฐกิจตั้งแต่ต้นน้ำ เต็มรูปแบบเกือบ 100% ส่วนกระทรวงที่ดูแลเศรษฐกิจในช่วงปลายน้ำถูกแบ่งไปให้พรรคร่วมรัฐบาลอื่นๆ 
           “วิษณุ” เสาหลักด้านกฎหมาย 

    3บกวิเคราะห์ เสาค้ำยันรัฐบาลลุงตู่-ตัดตอนบารมีลุงป้อมหรือไม่
       นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ที่มีบทบาทสำคัญเป็นเสาค้ำยันด้านกฎหมาย กำกับดูแลกระทรวงยุติธรรม ยกเว้น กรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ กรมประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักงานราชบัณฑิตสภา สำนักงานปลัดสำนักนายกฯ สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานข้าราชการพลเรือน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ 

      3บกวิเคราะห์ เสาค้ำยันรัฐบาลลุงตู่-ตัดตอนบารมีลุงป้อมหรือไม่
        ส่วนรองนายกฯในโควตาของพรรคร่วมรัฐบาล นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกฯและรมว.พาณิชย์ ดูแลกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์

     3บกวิเคราะห์ เสาค้ำยันรัฐบาลลุงตู่-ตัดตอนบารมีลุงป้อมหรือไม่

       ขณะที่นายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกฯและรมว.สาธารณสุข ดูแลกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)   

      ตัดตอนบารมี ลุงป้อม? หรือมอบภารกิจไดโว่

       3บกวิเคราะห์ เสาค้ำยันรัฐบาลลุงตู่-ตัดตอนบารมีลุงป้อมหรือไม่
      การที่พ.อ.ประวิตรไม่ได้รับมอบหมายให้ดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทำให้ถูกมองว่าเป็นการตัดตอนบารมีของพล.อ.ประวิตรหรือไม่  โดยในการประชุมกตร.นัดแรก พล.อ.ประยุทธ์ มอบโจทย์ใหญ่ว่า การแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจต้องไร้ข้อครหา ไม่มีค่าน้ำร้อนน้ำชา   การปฏิรูปตำรวจซึ่งเคยประกาศเป็นนโยบายสำคัญ 5 ปีผ่านไปก็ยังทำไม่สำเร็จ  รอบนี้ถ้ายังมีปัญหา ติดขัดทำไม่ได้ คนที่ต้องรับผิดชอบเต็มตัวคือนายกฯ

     นอกจากนี้งานตำรวจยังขาดแคลนพนักงานสอบสวน เหตุผลหลักมาจากการไม่ได้รับเงินตอบแทนเพิ่ม ไม่เติบโตในหน้าที่การงานแตกต่างจากตำรวจที่ไปทำงานเป็นนายเวร

3บกวิเคราะห์ เสาค้ำยันรัฐบาลลุงตู่-ตัดตอนบารมีลุงป้อมหรือไม่

     และเมื่อมองไปยังกระทรวงพลังงานที่เป็นขุมทรัพย์ของประเทศ และถูกคาดการณ์ว่าต้องอยู่ในมือของพล.อ.ประวิตร แต่ก็ถูกจัดแบ่งไปให้อยู่ในความรับผิดชอบของนายสมคิด ตอกย้ำประเด็นตัดตอนบารมีบิ๊กป้อมให้เด่นชัดขึ้น อาจทำให้เกิดข้อขัดแย้งเล็กๆ ระหว่างพล.อ.ประวิตรกับนายสมคิด ซึ่งอาจเป็นปัญหาต่อเนื่องมาจากความเคลื่อนไหวแย่งเก้าอี้ของกลุ่มสามมิตร ซึ่งมีการลองของในวาระโหวตเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร  

     3บกวิเคราะห์ เสาค้ำยันรัฐบาลลุงตู่-ตัดตอนบารมีลุงป้อมหรือไม่

       แม้ว่าหลายฝ่ายจะมองว่า “บิ๊กป้อม” ถูกตัดตอนบารมี แต่ต้องจับตาภารกิจสำคัญที่ “บิ๊กป้อม” เข้าไปบริหารจัดการพรรคพลังประชารัฐ ให้เป็นพรรคที่เข้มแข็ง ดูแล ส.ส.  สร้างพลังรองรับรัฐบาลเสียงปริ่มน้ำ ต้องมี ส.ส. 270 เสียง

     3บกวิเคราะห์ เสาค้ำยันรัฐบาลลุงตู่-ตัดตอนบารมีลุงป้อมหรือไม่

       นอกจาก “บิ๊กป้อม”จะมีมือเจรจาอันทรงพลังของ ร.อ.ธรรมมนัส พรมเผ่า รมช.เกษตร แล้ว “บิ๊กป้อม” ยังมีนายสุชาติ ชมกลิ่น ซึ่งก้าวขึ้นมาคุมส.ส.ภาคกลาง และเปิดปฏิบัติการ “ไดโว่” ดูดนายพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ และนายปรพล อดิเรกสาร การลดหน้าที่ของ “บิ๊กป้อม” อาจเป็นการลดภาระงานในครม.แต่มอบหมายเข้าไปรับผิดชอบงานการเมือง เพื่อค้ำยันรัฐบาลในระยะยาว 
            “บิ๊กตู่” เสาสำคัญ คุมหัวโต๊ะครม.เศรษฐกิจ

      3บกวิเคราะห์ เสาค้ำยันรัฐบาลลุงตู่-ตัดตอนบารมีลุงป้อมหรือไม่
         การจัดองคาพยพเศรษฐกิจแบบใหม่ ในรูปแบบคล้ายคลึงกับยุครัฐบาลพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ และนายทักษิณ ชินวัตร กำหนดให้มี ครม.เศรษฐกิจที่มีนายกฯเป็นประธาน  เพื่อแก้ปัญหาครม.ในรัฐบาลผสม

         นอกจากนี้ภาวะเศรษฐกิจที่มีแต่ขาลงและถดถอย การส่งออกลดลง หนี้ครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น เงินที่ทุ่มลงไปผ่านบัตรประชารัฐที่จ่ายเงินแบบพร้อมเพย์ ส่งตรงถึงมือประชาชน ก็ยังกระตุ้นเศรษฐกิจได้ไม่เป็นผลสำเร็จ  หากการขับเคลื่อนครม.เศรษฐกิจไม่มีประสิทธิภาพ ปัญหาเศรษฐกิจจะกลายมาเป็นหอกทิ่มแทง และกำหนดอายุรัฐบาลว่าจะอยู่สั้นหรืออยู่ยาว  มากกว่าปัญหางานด้านความมั่นคง ดังนั้น นายกฯ จึงต้องนั่งหัวโต๊ะการประชุมครม.เศรษฐกิจให้มากที่สุด เพื่อดึงความร่วมมือจากพรรคร่วมรัฐบาล 
 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ