ข่าว

 จัดเวทีถก“ร่างพ.ร.บ.น้ำ”ครั้งสุดท้าย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

 จัดเวทีถก“ร่างพ.ร.บ.น้ำ”ครั้งสุดท้าย 25เม.ย.คลอดกม.“ปฏิรูปน้ำ”ทั้งระบบ

           เป็นการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนหรือ“ประชาพิจารณ์”ครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 25561 ณ ห้องประชุมอาคาร 99 ปีหม่อมหลวงชูชาติ กำภู กรมชลประทาน สามเสน สำหรับร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำพ.ศ....สำหรับร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำพ.ศ....ที่ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ที่มีพลเอกอกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์ เป็นประธาน หลังก่อนหน้านี้ได้เดินสายตระเวนรับฟังความคิดเห็นในต่างจังหวัดมาแล้ว 6 ครั้งใน 50 จังหวัด พร้อมทั้งได้มอบหมายให้ผู้ว่าราชการแต่ละจังหวัดเปิดเวปไซต์รับฟังความคิดเห็นทางสื่อออนไลน์ด้วยเพื่อจะได้ข้อมูลครอบคลุมในทุกมิติมากที่สุด ก่อนนำมาประมวลสรุปแก้ไขเพื่อส่งให้คณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณา จากนั้นก็จะส่งกลับมายังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)พิจารณาในวาระ 2 และ 3 ซึ่งหากสนช.ลงมติเห็นชอบก็จะนำเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อสู่กระบวนการโปรดเกล้าต่อไป โดยร่างพร.บ.ฉบับนี้มีทั้งหมด 101 มาตรา รวม 9 หมวด
          "ในส่วนชั้นกรรมาธิการฯหลังจากนี้ไม่เกิน 15 วันก็น่าจะแล้วเสร็จ ก่อนนำเข้าสู่ครม.พิจารณา ขั้นตอนนี้ไม่อาจล่วงรู้ได้ว่าใช้เวลานานเท่าไหร่ แต่คิดว่าคงไม่นาน เพราะท่านนายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญในเรื่องนี้มาก จากนั้นก็ส่งกลับมายังสนช.พิจารณาในวาระ2 และ 3 ลงมติเห็นชอบ ซึ่งคาดว่าในทุกขั้นตอนจะแล้วเสร็จไม่เกินวันที่ 25 เมษายน ก่อนเสนอนายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าต่อไป"

           พลเอกอกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำพ.ศ....สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)เผยกับ“คมชัดลึก”ถึงความคืบหน้าการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำพ.ศ....ซึ่งขณะนี้เข้าสู่ช่วงสุดท้ายใกล้จะมีผลบังคับใช้เต็มทีและถือเป็นกฎหมายที่ใช้เวลาพิจารณายาวนานที่สุด ซึ่งจะครบ 1 ปีเต็มในวันที่ 2 มีนาคม 2561 นี้หลังสนช.รับหลักการในวาระแรกเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2560 ก่อนเข้าสู่การพิจารณาในชั้นกรรมาธิการฯ เหตุที่ใช้เวลานาน เพราะเป็นกฎหมายที่ต้องพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบและเป็นธรรม เนื่องจากเนื้อหาของร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้มีความเกี่ยวข้องกับการทำงานของ 42 หน่วยงาน มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องจำนวน 38 ฉบับ อนุบัญญัติจำนวน 2,418 ฉบับ ระเบียบจำนวน 105 ฉบับ ประกาศอีก 855 ฉบับ ซึ่งกฎหมายแต่ละฉบับมีความทับซ้อน ไม่เชื่อมโยง มีช่องว่างและม่ครอบคลุมการปฏิบัติภารกิจที่จำเป็นทั้งหมดในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ

          อีกทั้งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)ก็ได้มีคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการบิรหารจัดการทรัพยากรน้ำออกมาจำนวน 3 ฉบับด้วย คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ จึงต้องปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาในร่างพร.บ.ฉบับนี้ให้สอดคล้องกับคำสั่งดังกล่าวด้วย โดยขณะนี้ได้ดำเนินการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำแห่งชาตืพ.ศ...ในวาระ2 ชั้นกรรมาธิการเสร็จเรียบร้อยแลทั้งฉบับ ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 101 มาตรา รวม 9 หมวดใหญ่ ๆ 

          ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญฯเผยต่อว่าร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ถือเป็นกฎหมายฉบับแรกปฏิรูปประเทศเรื่องน้ำตามบัญญัติในรัฐธรรมนูญมาตรา258 ทั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากการจัดทำแผนยุทธศาสตร์น้ำ 20 ปี(2558-69)หรือที่เรียกกันว่าฉบับท่านพลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ ซึ่งเกิดขึ้นครั้งแรก จากนั้นก็เกิดองค์กรใหม่ขึ้นมา โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)ใช้อำนาจตาคำสั่งม.44 ออกคำสั่งที่46 จัดตั้งสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(สทนช.) ซึ่งมีดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เป็นเลขาธิการคนแรกเป็นหน่วยงานมาดูแลกำกับให้เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าว อีกเรื่องที่กำลังจะเกิดในลำดับถัดไปเรากำลังมีกฎหมายบริหารจัดการน้ำเกิดขึ้น ซึ่งหากกฎหมายฉบับนี้มีผลบังคัใช้ก็จะครบทั้ง 3 องค์ประกอบทันทีคือมีกฎหมาย มีแผนยุทธศาสตร์และมีหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลภาพรวมทั้งหมด เกิดแล้วสองและกำลังจะเกิดอีกหนึ่ง จึงเป็นที่มาของการสัมมนาในวันนี้ 

          “การพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยที่ผ่านมาได้เดินทางไปรับฟังความคิดเห็นจากผู้แทนส่วนราชการ ผู้แทนคณะกรรมการลุ่มน้ำและเครือข่ายภาคประชาชนรวม 6 ครั้ง จำนวน 50 จังหวัด 17 ลุ่มน้ำ มีผู้เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นทั้งหมด 1,582 คน ซึ่งในแต่ละครั้งลงพื้นที่จะได้รับความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ข้อห่วงใยที่เป็นประโยชน์และได้นำข้อมูลเหล่านั้นมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขในร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้มาโดยตลอด ก่อนจะมีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเป็นครั้งสุดท้ายในวันนี้”พลเอกอกนิษฐ์กล่าวรายงานต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)“ศ.พิเศษ พรเพชร วิชิตชลชัย”ซึ่งได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธิเปิดสัมมนารับฟังความคิดเห็นร่างพ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำพ.ศ...เป็นครั้งสุดท้าย

          ศ.พิเศษ พรเพชรกล่าวระหว่างเป็นประธานในพิธีเปิดสัมมนาฯตอนหนึ่งว่าพ.ร.บ.ฉบับนี้จะเป็นกฎหมายกลางในการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นกว่าในอดีต   สามารถตอบรับการใช้ทรัพยากรน้ำของภาคประชาชนและภาคอุตสาหกดรรมในอนาคตได้อันเป้นก้าวสำคัญในการพัฒนาน้ำอย่างยั่งยืนและร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้จะนำไปสู่การบริหารจัดการพัฒนา และฟื้นฟูทรัพยากนอย่างเป็นระบบ  ทำให้กฎหมายดังกล่าวมีโทษทางอาญาและให้อำนาจเจ้าหน้าที่ของรัฐในบางกรณี แต่มีไว้เฉพาะเพื่อให้เข้าหนา้ที่สามารถดำเนินการกับผู้ที่มีเจตนาที่ก่อให้เกิดปัญหากับการบิรหารจัดการพัฒนาและฟื้นฟูทรัพยากรน้ำเท่านั้น

           พลเรือเอกศักดิ์สิทธิ์ เชิดบุญเรือง รองประธานคณะกรรมาธิการฯคนที่1 กล่าวในรายละเอียดที่น่าสนใจของร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ โดยระบุว่าเรื่องน้ำสนช.ให้ความสำคัญอย่างมาก มีการตั้งคณะกรรมการศึกษาถึง 2 ครั้งในทุกมิติ ก่อนจะมาเป็นร่างในฉบับปัจจุบันเพื่อความรอบคอบและเป็นธรรม แต่ก็ยังไม่เป็นที่ยุติจนกว่าจะนำข้อมูลจากการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนทั้งหมดมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขอีกครั้ง สิ่งสำคัญพ.ร.บ.ฉบับนี้เ)้นพ.ร.บ.ใหม่และเป้นพ.ร.บ.กลาง อาจจะเขียนไว้กว้าง ๆ เพื่อให้มีความครอบคลุมการใช้ประดยชน์กับประชาชนทั้งระบบ โดยการบูรณาการจากทุกภาคส่วน ส่วนราชการทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับน้ำ ภาคประชาชน ภาคสังคมและภาคองค์กรต่าง ๆ ต้องมีส่วนในการรับรู้และทำงานร่วมกันเป็นเอกภาพเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
           “ท่านประธาน(พลเอกอกนิษฐ์)ท่านพูดเสมอว่า แม่เกิดหลังลูก ฉะนั้นต้องแต่งตัวแม่ให้คล้ายลูก มันค่อนข้างจะทำงานยากนิดนึง นอกจากทำงานยากแล้วต้องรอบคอบด้วย การจะรอบคอบเกิดผลประโยชน์เกิดความชัดเจนเกิดผลที่ดีจึงขึ้นอยู่กับทุกท่านที่เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นด้วย เพราะฉะนั้นทำไมรัฐบาลจึงให้ความสำคัญเป็นกฎหมายกลาง ซึ่งเป็นกฎหมายแม่ที่เกิดทีหลัง เพราะนโยบายปฏิรูปประเทศของรัฐบาลจะต้องมีเรื่องน้ำเพื่อความยั่งยืนของลูกหลานเรานั่นเอง”รองประธานกรรมาธิการฯคนที่1กล่าวทิ้งท้าย
 ยก“จีน”ยิ่งใช้ยิ่งเก็บ “ไทย”เน้นบทลงโทษ

             อิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการกลุ่มมิตรผล และประธานที่ปรึกษา สภาหอการค้าไทย ในฐานะกรรมาธฺิการวิสามัญฯยกร่างพ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำพ.ศ...กล่าวกับ“คมชัดลึก”ถึงจุดเด่นของพ.ร.บ.ฉบับนี้ โดยระบุว่าเป็นการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบและเป็นนโยบายใหญ่ของประเทศ ซึ่งจะครอบคลุมภารกิจด้านน้ำทั้งหมดประกอบด้วยน้ำบนดิน น้ำใต้ดินและน้ำในอากาศ  ทำให้เกิดความยุ่งยากที่ว่าอำนาจเดิมที่เขามีอยู่แล้ว  แต่กฎหมายฉบับนี้จะเป็นการบูรณาการทั้งหมด จึงเป็นเหตุให้นายกรัฐมนตรีต้องมานั่งเป็นประธานและมีรัฐมนตรีกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกำกับดูแลนโยบายนั่งเป็นกรรมการแต่จะไม่มีข้าราชการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมานั่งในตำแหน่งดังกล่าว เนื่องจากเป็นหน่วยงานผู้ปฏิบัติที่มีส่วนได้ส่วนเสียในนโยบายหรือกิจกรรมนั้น ๆ 

         "ถามว่าในภาคธุรกิจจะมีผลกระทบหรือไม่จากพ.ร.บ.ฉบับนี้ ยอมรับว่ามีแต่ไม่มาก เพราะในภาคธรุกิจเดิมก็จะต้องเสียค่าใช้น้ำอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นน้ำาดาลหรือมาจากแหล่งน้ำไหนก็แล้วแต่ น้ำที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมจะต้องเสียค่าน้ำตามหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอยู่แล้ว แต่มันอาจจะมีผลกระทบหากการใช้มันสูงเกินไป เพราะน้ำมันมีต้นทุน ซึ่งต้นทุนตรงนี้ก็มีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ส่วนค่าใช้จ่ายจะต้องมีอัตราส่วนเป็นเท่าไหร่จะต้องไปดูในกฎหมายลูกอีกทีและเป็นการอุดช่องโหว่การลักลอบใช้น้ำที่กฎหมายเอื้อมมาไม่ถึง"

      ประธานที่ปรึกษาสภาหอการค้าไทยอมรับว่ากฎหมายฉบับนี้จะไม่มีผลกระทบกับชาวบ้านทั่วไปที่ใช้น้ำเพื่ิออุปโภคบริโภคในครัวเรือนหรือทำการเกษตรเพื่อยังชีพ ในส่วนนี้รัฐบาลจะเข้ามาดูแล ส่วนประเภทที่ 2 ทำธุรกิจขนาดเล็กไม่ว่าจะเป็นโรงแรม ร้านค้าต่าง ๆ โรงน้ำแข็งขนาดเล็กเพื่อการพาณิชย์ก็จะมีการเก็บค่าน้ำ ซึ่งปัจจับันเขาก็จะเสียค่าน้ำอยู่แล้ว ส่วนประเภทที่3 น้ำเพื่ออุตสาหกรรมก็จะต้องเสียในอัตราที่สูงขึ้น 

     "อย่างโรงงานน้ำตาลของผม ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มันก็ต้องเสียในอัตราที่สูงขึ้น ซึ่งประเทศอื่นอย่างจีนการใช้น้ำต้นทุนจะไม่แพง แต่ถ้าใช้น้ำมากขึ้น ๆ ก็จะแพงขึ้นเรื่อย ๆ แต่ที่แพงมากเป็นพิเศษคือน้ำทิ้งน้ำเสียจากภาคอุตสาหกรรมก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม อันนี้จะเก็บเบิ้ลเป็นสองเท่า เพราะฉะนั้นเราก็เต้องไปปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีทิ้งน้อยที่สุด ใช้ประหยัดที่สุดเพื่อมันจะไม่เสียเงินเยอะ อย่างที่จีนยิ่งค่าบีโอดีสูงเกิน30 ก็จะยิ่งเก็บค่าน้ำเป็นอัตราก้าวหน้า ซึ่งอันนี้เป็นสิ่งที่ดี แต่ของเรายังไม่มี ของเราจะเน้นที่บททำโทษมากกว่า"อิสระกล่าวย้ำ 

  

                

         


 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ