Lifestyle

รู้จักอาการ "ไทรอยด์เป็นพิษ" หลังคร่าชีวิต "ซันนี่ยูโฟร์"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

จากกรณีของ "ซันนี่ยูโฟร์" หรือ "ญาณวรุตม์ สุทธิวาส" อดีตนักร้องบอยแบนด์ชื่อดัง เสียชีวิตด้วยอาการไทรอยด์กำเริบ โดย "คมชัดลึก" เปิดเช็คอาการของภาวะ "ไทรอยด์เป็นพิษ"

หลังจาก ข่าวช็อกวงการบันเทิง หลังสูญเสีย อดีต นักร้อง ชื่อดัง "ซันนี่ ยูโฟร์" หรือ "ญาณวรุตม์ สุทธิวาส" ด้วยโรคประจำตัว  "ไทรอยด์เป็นพิษ" ซึ่งเกิดอาการขึ้นกับ อดีตนักร้อง เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ที่ผ่านมา  โดยจากสาเหตุดังกล่าวถูกสันนิษฐานว่า "ซันนี่ยูโฟร์" ป่วยเรื้อรังด้วยโรคไทรอยด์เป็นพิษ ร่วมหลายเดือนแล้ว ทั้งนี้สภาพร่างกายซูบผอมและเป็นผู้ป่วยติดเตียง แต่ไม่อยากเป็นข่าว ด้านนิติอาคารจึงเข้าไปดูแลช่วยเหลือมาตลอด

 

ทั้งนี้ "คมชัดลึก" พาทำความรู้จัก "ไทรอยด์เป็นพิษ" ปมเหตุคร่า​ชีวิต อดีตนักร้องบอยแบนด์ชื่อดัง  "ซันนี่ ยูโฟร์" หรือ "ญาณวรุตม์ สุทธิวาส" 

รู้จักอาการ "ไทรอยด์เป็นพิษ" หลังคร่าชีวิต "ซันนี่ยูโฟร์"

 

โดย  "ไทรอยด์เป็นพิษ"  หรือ  Hyperthyroidism , Overactive Thyroid   ต่อมไทรอยด์ เป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบของต่อมไร้ท่อ ลักษณะก็จะคล้าย ๆ กับปีกผีเสื้อที่กางออกแล้วครอบอยู่บริเวณด้านบนของหลอดลม ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนที่ควบคุมการเผาผลาญพลังงานภายในร่างกาย ระบบย่อยอาหาร ระดับไขมันในเลือด การทำงานของกล้ามเนื้อ ควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย ไปจนถึงควบคุมเรื่องอารมณ์และความรู้สึก 

 

 

โรคไทรอยด์เป็นพิษ มักมี อาการ คือ คอพอก เป็นอาการที่ต่อมไทรอยด์โตขึ้นและจะพบก้อนขนาดใหญ่ที่บริเวณคอ ส่วนในบางรายจะมีอาการตาโปนร่วมด้วย และพบได้บ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย หากผู้ป่วยมีภาวะไทรอยด์เป็นพิษที่ไม่รุนแรง อาจไม่มีอาการแสดงใด ๆ ในผู้สูงอายุจะไม่ค่อยแสดงอาการอย่างชัดเจนมากนัก

 

ซึ่ง "ไทรอยด์เป็นพิษ" ที่อันตรายและส่งผลเสียต่อร่างกายข่อนข้างรุนแรงอย่างมาก และไม่สามารถป้องกันได้จะมีเพียงอาการที่เป็นสัญญาณเตือนเท่านั้นที่จะบอกถึงโรคนี้  เพราะฉะนั้นแล้ว ควรต้องสังเกตอาการตัวเองอยู่เสมอว่ามีความเสี่ยงกับการเกิดไทรอยด์เป็นพิษแล้ว หรือยัง หากมีสัญญาณเตือนดังกล่าวควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กอย่างละเอียดจะดีที่สุด

 

 

 

 

10 สัญญาณเตือน "ไทรอยด์เป็นพิษ"

 

1. อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น ผู้ป่วยที่มีภาวะไทรอยด์เป็นพิษจะส่งผลกระทบไปถึงการทำงานของหัวใจ จะทำให้รู้สึกใจสั่นง่าย อ่อนเพลีย ไม่กระฉับกระเฉง

2. ผมร่วงผิดปกติ ภาวะไทรอยด์เป็นพิษจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเส้นผม ทำให้ผมเส้นบางและเล็กลง หลังจากนั้นจะร่วงง่าย

3. น้ำหนักเพิ่มขึ้น หรือ ลดลง แบบผิดปกติ เพราะต่อมไทรอยด์ผิดปกติในลักษณะหลั่งฮอร์โมนออกมามากจะกระตุ้นระบบเมตาบอลิซึมให้ขยันเกินไป ในภาวะไทรอยด์เป็นพิษจะพบว่าน้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว ส่วนในไทรอยด์ทำงานต่ำจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นง่าย เนื่องจากการเผาผลาญต่ำลง

4. นอนไม่ค่อยหลับ ต่อมไทรอยด์ทำงานหนักเกินไป ไทรอยด์ฮอร์โมนที่มีมากจะกระตุ้นการทำงานของระบบปราสาทส่วนกลาง ทำให้รบกวนการนอนได้

5. รู้สึกง่วงตลอดเวลา หากต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ เกิดภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนจะส่งผลให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น รู้สึกง่วงตลอดเวลา คิดช้า และไม่มีสมาธิ

6. รู้สึกหนาวตลอดเวลาหรือขี้ร้อนมากขึ้น ต่อมไทรอยด์ไม่หลังฮอร์โมนออกมาในปริมาณเพียงพอ ทำให้ระบบเผาผลาญทำงานช้าลง ความร้อนในร่างกายก็จะลงน้อยลง ภาวะไทรอยด์เป็นพิษจะมีอาการขี้ร้อน เหงื่อออกมากกว่าปกติ ส่วนภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำจะมีอาการขี้หนาวมากขึ้น

7. ตาโปน ในคนไข้โรคไทรอยด์เป็นพิษอาจมีอาการระคายเคืองตา น้ำตาไหลง่าย ดูคล้ายว่าตาโปน แต่จริงๆแล้วอาจเป็นเพราะหนังตาปิดตาขาวได้น้อยกว่าปกติ

8. ขับถ่ายไม่เป็นปกติ ภาวะไทรอยด์เป็นพิษจะส่งผลให้ลำไส้ทำงานหนักมากขึ้น ลำไส้เคลื่อนไหวมากกว่าปกติ จึงขับถ่ายอุจจาระบ่อยกว่าปกติ ในขณะที่ภาวะไทรอยด์ต่ำจะส่งผลตรงข้ามกันคือทำให้มีอาการท้องผูก

9. ประจำเดือนมาผิดปกติ ในผู้หญิงที่มีภาวะไทรอยด์สูงกว่าปกติหรือต่ำกว่าปกติ จะส่งผลให้เกิดประจำเดือนขาดหรือมามากผิดปกติได้ แต่เมื่อรักษาให้ฮอร์โมนไทรอยด์คงที่แล้วประจำเดือนก็จะเริ่มกลับมาปกติอีกครั้ง

10. ผิวแห้ง ภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำจะมีระบบเผาผลาญทำงานได้ช้าลง ส่งผลให้ผิวแห้งมากขึ้นหรือเหงื่อลดน้อยลง

 

อย่างไรก็ตาม ต่อมไทรอยด์ มีความสำคัญต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกายอย่างมาก ดังนั้นเราควรดูแล ต่อมไทรอยด์ ด้วยการออกกำลังหายเป็นประจำ พักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารที่ปรุงสุกครบ 5 หมู่ และเข้ารับการตรวจสุขภาพและตรวจ ไทรอยด์ ฮอร์โมนอย่างสม่ำเสมอ หากพบความปกติหรือมีอาการ ให้รีบปรึกษา หรือพบ แพทย์ ทันทีเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาต่อไป 

 

คมชัดลึก ยังมีเนื้อหาสาระอื่นๆ ดูเพิ่มเติมได้ที่

Website - www.komchadluek.net
Twitter - https://twitter.com/Kom_chad_luek
Instagram - https://www.instagram.com/komchadluek_online/

ที่มา bpksamutprakan

CREDIT PHOTO : healthdigest

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ