Lifestyle

แพทย์แนะ 3 วิธีช่วยกระดูกแข็งแรง ลดความเสี่ยง "โรคกระดูกพรุน" ในอนาคต

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

แพทย์เฉพาะทางแนะนำ ผู้ปกครองควรสร้างและสะสมมวลกระดูกของบุตรหลาน ตั้งแต่วัยเด็ก เพื่อลดความเสี่ยง "โรคกระดูกพรุน" ในอนาคตได้

โรคกระดูกพรุน และ ภาวะกระดูกบาง คือ ภาวะที่ร่างกายมีความหนาแน่นของกระดูก และคุณภาพของกระดูก ที่ลดลง ส่งผลให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลง ทำให้กระดูกหักง่ายขึ้น แม้เกิดอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย นำมาซึ่งภาวะทุพพลภาพทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจนเสียชีวิตได้

แพทย์แนะ 3 วิธีช่วยกระดูกแข็งแรง ลดความเสี่ยง "โรคกระดูกพรุน" ในอนาคต

 

จากสถิติขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่า โรคกระดูกพรุน เป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขในลำดับที่ 2 ของโลก รองจากโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด โดยสอดคล้องกับข้อมูลของมูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติพบว่า ประชากรไทยที่มีความเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุน 80 – 90% ยังไม่ได้รับการประเมินและรักษา โรคกระดูกพรุนถือเป็นภัยเงียบที่ไม่มีสัญญาณเตือนเมื่อเกิดร่วมกับกระดูกสะโพกหักจะมีอัตราการเสียชีวิตในปีแรกถึง 17 % และมีสัดส่วน 80% ที่ไม่สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้เหมือนเดิม

 

นพ.ศรัณย์ จินดาหรา

 

นพ.ศรัณย์ จินดาหรา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ  เผยว่า โรคกระดูกพรุน เกิดได้จาก 2 สาเหตุหลักใหญ่ คือ ปริมาณมวลกระดูกที่สะสม ไว้มีน้อยกว่าที่ควรจะเป็น หรือ มีการสลายของกระดูกมากกว่าปกติ โดยปกติแล้วมวลกระดูกนั้นจะเพิ่มสูงสุดอยู่ในระหว่างช่วงอายุ 30 - 34 ปี หลังจากนั้นจะมีการสูญเสียของมวลกระดูกอย่างค่อยเป็นค่อยไป ในสตรีเมื่อถึงวัยหมดประจำเดือนจะมีการสูญเสียมวลกระดูกอย่างรวดเร็วในระยะ 5 ปีแรกและลดลงอย่างต่อเนื่อง

 

แพทย์แนะ 3 วิธีช่วยกระดูกแข็งแรง ลดความเสี่ยง "โรคกระดูกพรุน" ในอนาคต

 

อย่างไรก็ตามกระดูกของเด็กในวัยนี้จะแข็งแรงหรือไม่ ขึ้นอยู่กับอาหารเป็นสำคัญ เพราะจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกายรวมถึงมวลกระดูก โดยเฉพาะปริมาณของแคลเซียมที่รับประทานเข้าไปมีความสำคัญมากต่อมวลกระดูกและการเจริญเติบโตของกระดูก

 

แพทย์แนะ 3 วิธีช่วยกระดูกแข็งแรง ลดความเสี่ยง "โรคกระดูกพรุน" ในอนาคต

 

ปริมาณแคลเซียมที่ควรได้รับในแต่ละวัย ดังนี้

 

  • เด็ก 6 เดือนแรก ควรได้รับปริมาณแคลเซียม 400 มิลลิกรัมต่อวัน
  • เด็กอายุ 6 เดือน -1 ปี ควรได้รับปริมาณแคลเซียม 600 มิลลิกรัมต่อวัน
  • เด็กอายุ 1-3 ปี ควรได้รับปริมาณแคลเซียม 700 มิลลิกรัมต่อวัน
  • เด็กอายุ 4-8 ปี ควรได้รับปริมาณแคลเซียม 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน และเด็กอายุ 9-18 ปี ควรได้รับปริมาณแคลเซียม 1,300 มิลลิกรัมต่อวัน

 

แพทย์แนะ 3 วิธีช่วยกระดูกแข็งแรง ลดความเสี่ยง "โรคกระดูกพรุน" ในอนาคต

 

ทั้งนี้อาหารที่มีปริมาณแคลเซียมมากและดูดซึมได้ดี คือ นมหรือผลิตภัณฑ์จากนม (นม 1 กล่อง ปริมาณ 250 ซีซี ให้แคลเซียม 300 มิลลิกรัม) อาหารอื่นๆ ที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ กุ้งแห้ง ปลาเล็กปลาน้อย เต้าหู้ ผักที่มีแคลเซียมสูง เช่น คะน้า ตำลึง ผักกระเฉด ขี้เหล็ก ดอกแค สะเดา

 

3 วิธีช่วยให้กระดูกแข็งแรง

 

การเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงสามารถทำได้ทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนอายุ 30 ปี เป็นการป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุนที่ดีที่สุด

 

1.ออกกำลังกายแบบลงน้ำหนัก และแบบเพิ่มแรงต้านอย่างสม่ำเสมอ โดยใช้เท้าและขา หรือมือและแขน ในการรับน้ำหนักของตัวเอง เช่น การเต้นแอโรบิก ฟุตบอล บาสเกตบอล แบดมินตัน วิ่ง หรือการเดิน

2.การได้รับปริมาณแคลเซียมอย่างเพียงพอและเหมาะสม ตามคำแนะนำของมูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2564 มีดังนี้

  • สำหรับผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี และหญิงวัยหมดประจำเดือน ควรได้รับปริมาณแคลเซียม 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน โดยเน้นการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง
  • ไม่แนะนำให้รับประทานแคลเซียมมากกว่า 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งรวมทั้งแคลเซียมจากอาหารและแคลเซียมเสริม สำหรับผู้ป่วยที่มีประวัตินิ่วในไต ควรได้รับการประเมินสาเหตุของการเกิดนิ่ว ส่วนประกอบของนิ่วก่อนให้แคลเซียมเสริม

3. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มกาแฟ หรือแอลกอฮอล์ ที่มีผลให้มวลกระดูกลดลง

 

นพ.ศรัณย์ ยังกล่าวอีกด้วยว่าภาวะกระดูกสันหลังหักจาก โรคกระดูกพรุน อาจจะมีอาการปวดเรื้อรังเพียงเล็กน้อย ตัวเตี้ยลง หลังค่อม หลังคด ท้องอืด เบื่ออาหาร เนื่องจากความจุในช่องท้องลดลง ไปจนถึงผู้ป่วยมีอาการปวดมากจนไม่สามารถลุกเดินได้

 

ในกรณีที่สงสัยว่ากระดูกสันหลังของคุณเกิดการยุบตัวจากภาวะกระดูกพรุน สามารถตรวจได้ด้วยการทำเอ็กซ์เรย์ ร่วมกับ เอ็มอาร์ไป จะช่วยให้การวินิจฉัยภาวะผิดปกตินี้ได้ สามารถเข้ามาปรึกษาที่ โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังและระบบประสาท เพื่อแพทย์จะได้ทำการวินิจฉัยได้อย่างตรงจุด

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ