Lifestyle

รู้จัก "ออฟฟิศซินโดรม" โรคยอดฮิตของคนออฟฟิศ ต้องป้องกันยังไงถึงจะไม่เป็น

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

รู้จัก "ออฟฟิศซินโดรม" โรคยอดฮิตของคนออฟฟิศ ต้องป้องกันยังไง นั่งทำงานแบบไหนถึงจะไม่เป็น พร้อมวิธีรักษาเพื่อลดอาการปวด

"ออฟฟิศซินโดรม" หรือกลุ่มอาการ ปวดกล้ามเนื้อ และเยื่อพังผืด (Myofascial pain syndrome) คือ อาการปวดจากการใช้งานของกล้ามเนื้อมัดเดิมๆ ซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ตัวอย่างเช่น การนั่งทำงานต่อเนื่องกับ คอมพิวเตอร์ โดยไม่ได้ปรับเปลี่ยนท่าทางหรืออริยาบท จนทำให้เกิดอาการปวดสะสมและกลายเป็นปวดเรื้อรังในที่สุด ซึ่งอาจพบร่วมกับ อาการชาบริเวณแขน, มือ และปลายนิ้ว เนื่องอาจเกิดจากการที่เส้นประสาทส่วนปลายในแต่ละตำแหน่งถูกกดทับอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง และการดูแลสุขภาพของตนเอง จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิด "ออฟฟิศซินโดรม" ได้

 

อาการของ "ออฟฟิศซินโดรม"

 

1. ปวดกล้ามเนื้อ บริเวณส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น คอ, บ่า, ไหล่ สะบัก และ หลัง ส่วนใหญ่มักพบอาการปวดเป็นบริเวณกว้าง หรือบางครั้งไม่สามารถบอกตำแหน่งที่มีอาการปวดได้อย่างชัดเจน โดยผู้ป่วยบางรายอาจพบอาการปวดร้าวไปยังตำแหน่งต่างๆ ของร่างกายได้ อาการปวดอาจมีน้อยไปหามากซึ่งมักจะทำให้เกิดความรำคานต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หรือในขณะปฏิบัติงาน

 

2. อาการทาง ระบบประสาท ที่ถูกกดทับ เช่น อาการชาบริเวณแขนและมือ รวมถึงอาการอ่อนแรง หากมีการกดทับเส้นประสาทนานจนเกินไป

 

การป้องกันเพื่อลดปัญหา "ออฟฟิศซินโดรม"

 

การป้องกันเพื่อหลีกเลี่ยงอาการ "ออฟฟิศซินโดรม" ประกอบด้วยหลายปัจจัย และทุกสาเหตุมีความสำคัญที่นำมาซึ่งอาการปวด ดังนั้นการป้องกันแต่ละวิธีจะมีส่วนช่วยให้ท่านมีความสุขกับการทำงานที่ปราศจากอาการปวด โดยการป้องกันนี้เป็นตัวอย่างที่จะแนะนำเพื่อลดการเกิดปัญหา "ออฟฟิศซินโดรม"

 

1. การปรับเปลี่ยนท่าทางอริยาบทเพื่อให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมในการทำงาน

2. ไม่ทำงานในท่าทางอริยาบทเดิมนานเกิน 50 นาที หากมีความจำเป็นต้องทำต่อเนื่องควรหยุดพักสัก 10-15 นาที

3. ปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ในการทำงานที่จำเป็นเพื่อลดการบาดเจ็บในระหว่างปฏิบัติงาน

4. เตรียมร่างกายให้พร้อม เช่น การ ออกกำลังกาย เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อบริเวณที่ต้องใช้งานหนัก, การยืดกล้ามเนื้อก่อน ระหว่าง และหลังจากการทำงานในแต่ละวัน

อาการปวดหลัง

 

การรักษาอาการ "ออฟฟิศซินโดรม"

 

ปัจจุบันการรักษาอาการ "ออฟฟิศซินโดรม" มีอย่างแพร่หลาย รวมทั้งมีความจำเป็น เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยกลับไปทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยจะทำการรักษาเพื่อลดอาการปวดอักเสบ หรือลดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อส่วนต่างๆ เนื่องจากมักพบผู้ป่วยที่มารับการตรวจรักษาเป็นระยะปวดเรื้อรัง ดังนั้นการวางแผนการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ร่วมกับการทำกายภาพบำบัดจึงมีความจำเป็นเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งวิธีในการรักษาคือ

 

การรักษาเพื่อลดอาการปวดและอาการชา ด้วยการ กระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็ก Peripheral Magnetic Stimulation (PMS) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้รักษาอาการปวด โดยใช้พลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่สามารถกระตุ้นทะลุผ่านเสื้อผ้าลงไปถึงเนื้อเยื่อ และกระดูก ประมาณ 10 เซนติเมตร คลื่นไฟฟ้าดังกล่าวจะกระตุ้นเส้นประสาทโดยตรง ทำให้เกิดกระบวนการ Depolarization กระตุ้นเนื้อเยื่อบริเวณที่ปวด และช่วยกระตุ้นให้เกิดการไหลเวียนของโลหิตบริเวณกล้ามเนื้อดียิ่งขึ้น 

 

โดยสามารถบำบัดได้ทั้งบริเวณ คอ บ่า ไหล่ ข้อศอก แขน มือ เอว หลัง ไหล่ ขา เข่า หรือแม้กระทั่งข้อเท้า หรือแม้แต่กล้ามเนื้อเอ็นกระดูกไขข้อ ล้วนแล้วแต่สามารถบำบัดได้ด้วยเครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า โดยไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่ออวัยวะโดยรอบ และรู้สึกผ่อนคลายในขณะที่ทำการรักษา โดยไม่สร้างความเจ็บปวดให้เกิดแก่ผู้ป่วยแต่อย่างใด เห็นผลทันทีหลังการรักษา และยังสามารถบำบัดอาการที่ปวดจาก ระบบเส้นประสาท และไม่ใช่ เส้นประสาท เช่น กล้ามเนื้อ และกระดูก

 

ข้อดีของการรักษา

 

1. ขณะทำการรักษาผู้ป่วยอาจพบอาการกระตุกของกล้ามเนื้อ แต่ไม่สร้างความเจ็บปวดให้เกิดแก่ผู้ป่วยแต่อย่างใด และสามารถทำเป็นครั้งๆ โดยไม่ต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล

2. เห็นผลการบำบัดทันทีหลังการรักษา

3. ใช้เวลาในการรักษาน้อยมาก ประมาณ 5 – 10 นาที ต่อ 1 จุดในการรักษา

4. รักษาได้ผลทั้งในระยะเฉียบพลัน กึ่งเฉียบพลัน และเรื้อรัง

 

ข้อควรระวัง

 

เครื่อง กระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า มีความปลอดภัยมากและผลข้างเคียงต่ำ แต่ไม่สามารถทำได้ในผู้ป่วย

 

1. มีอาการชักมาก่อน

2. มีโลหะฝังอยู่ที่บริเวณสมอง เช่น คลิปหนีบเส้นเลือดโป่งพองในสมอง เป็นต้น

3. ฝังอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ต่างๆ เช่นเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ เป็นต้น

โรคออฟฟิศซินโดรม

คำแนะนำหลังการรักษา

 

ข้อควรระวังเกี่ยวกับความแรงที่เกิดขึ้นนอกจากตะคริวแล้ว กล้ามเนื้อที่ถูกกระตุ้นให้เกิดการใช้งาน ซึ่งแต่เดิมไม่เคยได้ออกแรงหรือใช้งาน ในวันรุ่งขึ้นบางรายอาจเกิดการระบมเหมือนออกกำลังกายมากเกินไป เนื่องจากเกิดการระบมในตำแหน่งที่ทำการรักษาซึ่งไม่มีผลเสียอะไร พอได้พักผ่อนหลังจากเข้ารับการรักษาประมาณ 2-3 วันแล้วก็จะกลับมาเป็นปกติ

 

นอกจากการรักษา โรคออฟฟิศซินโดรม ด้วยเครื่อง Peripheral Magnetic Stimulation (PMS)  แล้ว ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูยังมีหลากหลายเครื่องมือ หรือการรักษาเพื่อช่วยในการรักษาอาการปวดเรื้อรังจากโรคออฟฟิศซินโดรมให้คุณมีคุณภาพชีวิตได้ดีขึ้น อาทิ

 

1. การรักษาเพื่อลดอาการปวดและอาการชา ด้วยการกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็ก Peripheral Magnetic Stimulation (PMS) 

2. การรักษาด้วยคลื่นกระแทกเพื่อกระตุ้นให้กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อมีการซ่อมแซมในบริเวณที่มีการบาดเจ็บ Shock Wave Therapy ทั้งชนิด Focus และ Radial

3. การรักษาเพื่อลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ เอ็นกล้ามเนื้อ และเส้นประสาท โดยการใช้ High Laser Therapy

4. การยืดกล้ามเนื้อโดยนักกายภาพบำบัด ซึ่งมีประโยชน์ทั้งการรักษาและป้องกันการบาดเจ็บซ้ำได้

5. การฝังเข็มโดยแพทย์ผู้เชียวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู

6. การรับประทานยา

ออฟฟิศซินโดรม

 

ขอบคุณข้อมูล : โรงพยาบาลสุขุมวิท

 

ติดตาม คมชัดลึก ที่นี่
Facebook : https://www.facebook.com/komchadluek/
YouTube : https://www.youtube.com/channel/UCnniqWGq9lOqYd5sGWxVi7w


เช็กรายชื่อศิลปินเข้าชิง "คมชัดลึก ลูกทุ่ง Awards 2565" ใครคือ 6 Candidate กับ 8 สาขา Popular Vote ได้ที่นี่


(https://awards.komchadluek.net/#)

 

logoline