ไลฟ์สไตล์

พาไปรู้จัก “ชฎา” และความประณีตของชฎาต่างๆ ในประเทศไทย

11 ก.ย. 2564

จากกระแสความดังใน MV ของ “ลิซ่า” เราจึงมาเปิดข้อมูลให้รู้จักว่า “ชฎา” คืออะไร และชฎาของไทยมีแบบไหน? ใช้ในโอกาสใดกันบ้าง

          แม้หลายคนจะรู้แล้วว่าใน MV ที่กำลังโด่งดังของ “Lisa” นักร้องสาวคนไทยหนึ่งเดี่ยวของวง Balckpink ที่ใส่ร้องและเต้นในเพลงนั้นไม่ใช่ "ชฎา" แต่มีผู้เชี่ยวชาญได้ออกมาบอกว่าเป็น “รัดเกล้ายอด” แต่หลายคนก็สงสัยว่าแล้วแบบไหนคือชฎา ชฎามีแบบไหนแล้วแตกต่างกันอย่างไรบ้าง เราจึงไปหาคำตอบมาฝากกันค่ะ

 

         สำนักงานราชบัณฑิตยสภาให้ข้อมูลไว้ว่า “ชฎา” เป็นเครื่องสวมศีรษะที่ประดิษฐ์ขึ้นด้วยเครื่องทองหรือเงิน ประดับอัญมณีและพวงดอกไม้โลหะ ชฎาที่เป็นเครื่องราชศิราภรณ์ส่วนใหญ่เรียกว่า “พระชฎา” หรือ “มงกุฎรอง”

         ส่วนข้อมูลของผู้เชี่ยวชาญด้านการแต่งกายชุดไทยออกมาบอกว่า “ชฎา” จะมีเส้นรอบวงที่มีขนาดใหญ่สุด มียอดแหลมสูงสุด และตัวชฎาจะมีกรอบหน้าและมีกรรเจียก หรือจอนที่หู ใส่ประกบ 2 ข้างเสมอ  ในขณะที่ “รัดเกล้ายอด” จะมีเส้นรอบวงขนาดกลางๆ ลงมา สามารถวางพอดีรอบกระโหลก มียอดแหลม ไม่มีกรอบหน้า ที่ขอบด้านล่างจะเรียบ เวลาใส่ จะมีจอนหู หรือไม่มีก็ได้ แล้วแต่การออกบแบบสร้างสรรค์

 

รัดเกล้ายอด

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

พาไปรู้จัก “ชฎา” และความประณีตของชฎาต่างๆ ในประเทศไทย

พระชฎาและชฎา ในสมัยรัตนโกสินทร์มีดังนี้

  •  พระชฎา ๕ ยอด หรือพระชฎามหากฐิน ปัจจุบันมี ๔ องค์ คือ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ รัชกาลที่ ๕ รัชกาลที่ ๖ และรัชกาลที่ ๗ พระชฎามหากฐิน ๔ องค์นี้ทำด้วยทองคำลงยาประดับเพชร มีส่วนประกอบ คือ มาลา เกี้ยว ส่วนยอดเป็น ๕ แฉก ยอดกลางสูง อีก ๔ ยอดเล็กและต่ำกว่า  พระชฎา ๕ ยอดใช้สำหรับทรงในการพระราชพิธีสำคัญ เช่นการเสด็จพระราชดำเนินกระบวนพยุหยาตราเลียบพระนครหรือเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานผ้าพระกฐิน พระชฎา ๕ ยอด เป็นเครื่องราชศิราภรณ์สำหรับพระมหากษัตริย์และมีเครื่องต้นประกอบ
  • ชฎาพระกลีบ สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทำด้วยทองคำลงยาประดับเพชรมีส่วนประกอบคือ มาลาไม่มีเกี้ยว ส่วนยอดค่อนข้างแบนจำหลักเป็นกลีบ  เป็นเครื่องราชศิราภรณ์สำหรับพระมหากษัตริย์และมีเครื่องต้นประกอบ

 

  • พระชฎาเดินหน สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นเครื่องราชศิราภรณ์ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์และมีเครื่องต้นประกอบ ทำด้วยทองคำลงยาประดับเพชร พระชฎาเดินหนนี้ปรากฏว่าเคยพระราชทานให้เจ้านายบางพระองค์ทรงด้วย

 

พาไปรู้จัก “ชฎา” และความประณีตของชฎาต่างๆ ในประเทศไทย

 

 

  • ชฎาพอก ทำด้วยผ้าหรือกระดาษรูปลักษณะอย่างลอมพอกแต่มีเกี้ยว ประดับดอกไม้ไหวทำด้วยทองคำหรือเงินตามระดับฐานะ ชฎาพอกนี้ใช้สวมพระศพเจ้านายตลอดลงมาถึงขุนนางที่ได้รับเกียรติบรรจุโกศ ส่วนพระบรมศพของพระมหากษัตริย์ใช้พระชฎามหากฐินของรัชกาลนั้น ทรงตามพระราชประเพณี หากพระมหากษัตริย์พระองค์ใดเสด็จสวรรคตก่อน โดยที่ยังมิได้สร้างพระชฎามหากฐินไว้เป็นเครื่องทรงประจำพระองค์ เมื่อจะอัญเชิญพระบรมศพลงพระโกศ ก็ทรงพระชฎามหากฐินของพระมหากษัตริย์พระองค์อื่นสวมถวาย

 

พาไปรู้จัก “ชฎา” และความประณีตของชฎาต่างๆ ในประเทศไทย

 

  • ชฎาแปลง ชฎารูปร่างคล้ายชฎกลีบ แต่ไม่มีลวดลายจำหลักหรือลายเขียน
  • ชฎาดอกลำโพง มีลักษณะอย่างเดียวกับมงกุฎจีบแต่มักเรียกกันโดยทั่วไปว่า ชฎาดอกลำโพง
  • ชฎามนุษย์ ชฎายอดพันผ้าใช้ในราชการ มีลักษณะอย่างลอมพอก
  • ชฎายักษ์ เป็นชฎาที่มีรูปทรงสำหรับยักษ์ในลักษณะต่างๆ กันหลายแบบ

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก https://venngage.net, https://www.silpa-mag.com,

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา http://legacy.orst.go.th, https://m.facebook.com/288484338545677/photos/a.288498288544282/316778925716218/?type=3&source=48, https://www.baanrukhuakhon.com, https://m.facebook.com/sirapornbykunkornyasothon/posts/668168560246894/