สรรพคุณกระเจี๊ยบแดง
ตำรายาไทย: กลีบเลี้ยงหรือที่คนมักเข้าใจว่าคือดอก จะมีรสเปรี้ยว แก้อาการขัดเบา แก้เสมหะ ขับน้ำดี ลดไข้ แก้ไอ ขับนิ่วในไต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ แก้อ่อนเพลีย บำรุงธาตุ แก้กระหายน้ำ รักษาไตพิการ ขับเมือกมันให้ลงสู่รูทวารหนัก ละลายไขมันในเลือด
ตำรายาโบราณ: ใช้ทั้งต้นใส่หม้อต้มน้ำ 3 ส่วน เคี่ยวไฟให้งวดเหลือ 1 ส่วน ผสมกับน้ำผึ้งกึ่งหนึ่ง รับประทานวันละ 3 เวลา หรือจะรับประทานน้ำยาเปล่าๆก็ได้จนหมดน้ำยานั้น เป็นยาฆ่าพยาธิตัวจี๊ด
สูตรบรรเทาอาการเจ็บป่วย
1. ลดไข้ กินใบกระเจี๊ยบตอนที่เป็นไข้ จะช่วยให้ร่างกายดีขึ้น และยังช่วยละลายเสมหะในลำคออีกด้วย
2. แก้ไอ ละลายเสมหะ ใบกระเจี๊ยบมีฤทธิ์แก้ไอ ละลายเสมหะ ขับเมือกมันในลำคอให้ไหลลงสู่ทวารหนัก ทั้งยังช่วยแก้โรคพยาธิตัวจี๊ดได้อีกต่างหาก
ข่าวที่เกี่ยวข้องล่าสุด
- รู้จัก เจตมูลเพลิงแดง ต้านเนื้องอกลดเสี่ยง “มะเร็ง”
- กิน “สมุนไพร” บรรเทาเลือดจะไปลมจะมาในวัยทอง
- "บิ๊กแจ๊ส"ชูสมุนไพรไทยสร้างภูมิคุ้มกันโควิดเตรียมแจกชาวปทุมสองล้านเม็ด
3. ขับปัสสาวะ ใช้กลีบเลี้ยงกระเจี๊ยบแดงตากแห้ง บดเป็นผง 3 กรัม ชงน้ำเดือด 1 ถ้วย( 300 มล.)ดื่มวันละ 3 ครั้ง หรือนำกลีบเลี้ยงของกระเจี๊ยบแดงมาชงกับน้ำร้อนดื่มเป็นยาขับปัสสาวะได้
4. แก้กระหาย นำดอกกระเจี๊ยบที่ตากแห้ง มาต้มในน้ำเดือด ทำเป็นน้ำกระเจี๊ยบเย็นชื่นใจ ป้องกันการเกิดภาวะขาดน้ำในร่างกายได้ด้วย
5. ลดไขมันในเลือด นำเมล็ดกระเจี๊ยบตากแห้งมาบดให้เป็นผง จากนั้นนำมาชงกับน้ำร้อนหรือต้มน้ำดื่ม ช่วยลดไขมันในเลือด บำรุงเลือด ขับน้ำดี แก้ปัสสาวะขัด
6. ป้องกันโรคหัวใจ โดยนำกระเจี๊ยบแดงไปต้มกับพุทราจีน เพื่อบำรุงหัวใจ หรือจะกินน้ำกระเจี๊ยบ เนื่องจากสารแอนโธไซยานินในกระเจี๊ยบแดง เป็นสารที่จะช่วยทำให้เลือดไม่แข็งตัว และไม่ไปเกาะกับหลอดเลือดที่จะเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจ จึงทำให้ระบบไหลเวียนเลือดดีขึ้น
7. รักษาแผล นำใบสดของกระเจี๊ยบแดง ล้างให้สะอาด และตำให้ละเอียด จากนั้นนำมาประคบฝีหรือต้มใบแล้วนำน้ำต้มใบมาล้างแผล ก็จะช่วยบรรเทาอาการแผลให้หายเร็วขึ้น
8. ป้องกันโลหิตจาง การกินกระเจี๊ยบแดงจะช่วยป้องกันภาวะโลหิตจางได้ เนื่องจากมีธาตุเหล็กที่เป็นแร่ธาตุสำคัญต่อร่างกาย
9. ลดน้ำตาลในเลือด นำชากระเจี๊ยบแดง 3 กรัม ชงกับน้ำร้อน 150 มิลลิลิตร ทานติดต่อกันเป็นเวลา 1 เดือน
10. ลดความดันโลหิต ดื่มชากระเจี๊ยบแดง 1.25 กรัม ชงกับน้ำร้อน 240 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันเป็นเวลา 6 สัปดาห์
ข้อควรระวัง : ผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่อง คุณแม่ตั้งครรภ์และแม่ให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานตามสูตรต่างๆ เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก : http://clgc.agri.kps.ku.ac.th,https://thaiherb.online/blog, กองโภชนาการ กรมอนามัย, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, องค์การสวนพฤกษศาสตร์, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ข่าวที่เกี่ยวข้อง