Lifestyle

“เท้าแบน” อยู่หรือเปล่า ถ้าเป็นอย่าปล่อยไว้ รีบแก้ไขและรักษาตัว

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ลองเช็กดูสิว่าคุณมี “เท้าแบน” อยู่หรือไม่ หากเป็นแล้วต้องรีบรักษา เพราะจะพาให้นิ้วเท้าและข้อเท้าเสียและผิดรูปได้

     ใครเดินลงน้ำหนักไม่ได้ รู้สึกเจ็บปวดอุ้งเท้าและส้นเท้า ฝ่าเท้าด้านในบวม ต้องสังเกตด่วนแล้ว!! เพราะอาจเป็น “เท้าแบน” ภาวะผิดปกติที่อุ้งเท้า ซึ่งตรงกลางเท้าเสียความสูงจนแบนติดพื้น  เป็นภาวะที่ปล่อยไว้ไม่ได้เพราะนอกจากจะเจ็บปวดมาก การทำงานของเท้าและข้อเท้าสูญเสียไป และยังทำให้ข้อเท้าและนิ้วเท้าผิดรูปได้ด้วย

 

     เท้าแบน (Flat Feet, Flat Arch) เป็นภาวะที่พบได้ในทุกคน  ไม่ว่จะพบตั้งแต่แรกเกิด หรือเกิดภายหลังตอนเป็นผู้ใหญ่  ซึ่งการเป็นเท้าแบนในผู้ใหญ่มาจากหลายสาเหตุ  ทั้งการมีเส้นเอ็นพยุงอุ้งเท้าเสื่อม ภาวะข้อเสื่อม เส้นเอ็นเสื่อมที่เกิดจากภาวะโรคอักเสบข้อเรื้อรัง เช่น โรคทางรูมาติสซั่ม ข้ออุ้งเท้าเสื่อม รวมไปถึงการมีภาวะกล้ามเนื้อ่อนแรง เส้นประสาทกดทัยหมอรองกระดูก ทำให้เกิดความไม่สมดุลของกล้ามเนื้อในเท้าและข้อเท้า

 

 

ภาพเปรียบเทียบ เท้าแบน และเท้าปกติ

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้องล่าสุด

 

อาการเท้าแบน

  • ช่วงแรกอาจยังไม่มีอาการหรือรู้สึกเจ็บเท้า เฉพาะหลังเดินหรือยืนนานๆ  
  • เจ็บอุ้งเท้าและส้นเท้า แม้สวมใส่รองเท้าที่นุ่มสบาย รองรับเท้าได้ดี
  • ฝ่าเท้าด้านในบวม  ตามเส้นเอ็นรอบ ๆ ข้อเท้าอักเสบบวมแดง
  • เดินขึ้นลงบันไดลำบาก ทรงตัวยาก ยืนเขย่งขาไม่ได้
  • ใส่รองเท้าเดิมไม่ได้ เพราะอุ้งเท้าแบนมากยิ่งขึ้น
  • เจ็บข้อเท้าและอุ้งเท้ารุนแรงมากขึ้น
  • ชาที่ฝ่าเท้า เส้นเอ็นนิ้วเท้าอ่อนแรง ผิดรูปมากขึ้น

รูปเท้าปกติ และเท้าแบน

 

 

การรักษาเท้าแบน

      ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและสาเหตุของโรค ส่วนใหญ่ไม่ต้องถึงกับผ่าตัด โดยอาจใช้แผ่นรองเท้า กายอุปกรณ์ และอุปกรณ์พยุงข้อเท้าต่าง ๆ ทั้งนี้ ร่วมกับการทำกายภาพที่เน้นการยืดกล้ามเนื้อโดยเฉพาะเอ็นร้อยหวาย และการลดการอักเสบของเส้นเอ็นด้วยเครื่องเลเซอร์หรืออัลตราซาวนด์ ร่วมกับการรับประทานยาแก้อักเสบ ยกเว้นกรณีบางคนทำแล้วไม่หาย ก็จำเป็นต้องผ่าตัด เพื่อให้คนเท้าแบนมากๆ หรือมีเท้าผิดรูปได้กลับมาเดิน วิ่ง รวมถึงออกกำลังกายได้ตามปกติ

 

"เท้าแบน" ควรใส่รองเท้าส้นเตี้ย

 

คนเท้าแบน ดูแลตัวเองด้วยวิธีดังนี้

1. หากเป็นไม่มาก คุณหมออาจแนะนำให้ใส่รองเท้าส้นเตี้ย รองเท้าเพื่อสุขภาพ ไม่ใส่รองเท้าส้นสูง

2. พยายามควบคุมน้ำหนัก หลีกเลี่ยงการวิ่ง เดิน หรือยืนนานๆ

3. อาจใช้อุปกรณ์เสริมเพื่อรองพื้นในรองเท้า เช่น ซิลิโคนสำหรับคนเท้าแบนและอุ้งเท้าสูง หรือซิลิโคนรองเท้าแบบเต็มฝ่าเท้า

 

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก : ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล https://www.bangkokinternationalhospital.com, https://www.thaihealth.or.th, https://www.urgentlyorthoaz.com, https://www.afacc.net

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ