ไลฟ์สไตล์

ไขความลับคิดเร็ว คิดช้า กับการทำงานของ"ระบบประสาท”

ไขความลับคิดเร็ว คิดช้า กับการทำงานของ"ระบบประสาท”

25 ส.ค. 2564

ชวนไขความลับพฤติกรรมการคิดและ“ตัดสินใจ”ของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการคิดเร็วคิดช้า ที่ล้วนเกิดจาก “ระบบประสาท” จากข้อมูลนักจิตวิทยารางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์มาบอกต่อ

รู้ไหมว่าทำไมมนุษย์จึงมี “ความบกพร่อง” ของระบบการตัดสินใจ แม้จะคิดอย่างถี่ถ้วนมีเหตุผลทุกอย่างแล้วแต่ก็ยังผิดพลาดได้ และทำไมบางครั้งจึงคิดเร็วคิดช้าโดยตัวเองก็ไม่ทันสังเกต ..เรื่องนี้มีคำเฉลยจากข้อมูลของ Daniel Kahneman “บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม”  นักจิตวิทยาเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ผู้เขียนหนังสือชื่อว่า Thinking  fast and slow ที่ได้อธิบายเรื่องยากๆ ของความคิดมนุษย์โดยสรุปจากการศึกษาวิจัยมา 40 ปีว่า

ระบบประสาทของมนุษย์สามารถแยกเป็น 2 ระบบ นั่นคือ

1.ระบบคิดเร็ว (System 1) เรียกว่าคิดแบบ Heuristic (Human) หมายถึง ระบบการคิดแก้ปัญหาหรือตัดสินใจ เป็นวิธีลัดทางความคิด โดยเพ่งความสนใจไปยังส่วนหนึ่งของปัญหาที่ซับซ้อนแล้วไม่ใส่ใจส่วนอื่นๆ จึงทำให้คนเรามักคิดอย่างรวดเร็ว รวบรัด อัตโนมัติ ขึ้นอยู่กับอารมณ์  จิตใต้สำนึก ทำให้ความน่าเชื่อถือต่ำ นำไปสู่ความผิดพลาด  ซึ่งอาจจะเป็นความผิดพลาดแบบที่เป็นไปได้ มีความสมเหตุสมผล  ซึ่งส่วนใหญ่การคิดเร็วที่ทำให้มีความผิดพลาด มักเกิดจากความลำเอียง(bias) หรือเรามีพฤติกรรมและความคิดที่เอนเอียงไปสิ่งที่เราเข้าใจว่าใช่ ว่าถูกต้อง เช่น เราจะเดินช้าลงอย่างไม่รู้สึกตัว เมื่อกำลังนึกถึงผู้สูงอายุ  เราสนใจและตัดสินใจซื้อสินค้าลดราคา 50% ได้ง่ายทันที ทั้งที่ราคาปกติคือราคาที่ตั้งเผื่อไว้ (ทั้งที่เราก็รู้หรือรู้ก็ยังรู้สึกเองว่าได้ของถูก)  ซึ่งระบบการคิดเร็ว เป็นระบบอัตโนมัติที่ไม่ต้องใช้พลังงานในการคิดใดๆ และมักจะไม่สามารถต่อต้านได้ เช่น เห็นหน้าคนแล้วมองว่าสวย เห็นตัวอักษรแล้วคิดเป็นคำ

 

 

ไขความลับคิดเร็ว คิดช้า กับการทำงานของ\"ระบบประสาท”

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

2. ระบบคิดช้า (System 2) เป็นการคิดที่ผ่าน Cognitive คือผ่านประสบการณ์ ความรู้ ความจำพร้อมใช้งาน (Working memory) การหาเหตุผล ความเข้าใจ  ใช้การคำนวณ และตระหนักรู้ถึงการตัดสินใจในแต่ละครั้ง ซึ่งขั้นตอนการคิดในระบบนี้ของมนุษย์ทำได้ทั้งในระดับจิตสำนึกและจิตใต้สำนึก ทั้งเรื่องที่เป็นรูปธรรม นามธรรม ทำให้เวลาเราคิดช้าเราจะประมวลสิ่งต่างๆร่วมกันนาน และใช้เวลาไตร่ตรอง  แต่แม้จะคิดนานคิดช้า แต่หากเคยมีความจำหรือประสบการณ์มา ก็ทำให้การคิดช้ามีปัญหาหรือผิดพลาดได้ เช่น  เราจะเชื่อว่าความคิดจากคนที่ดูน่าเชื่อถือหรือคนที่เราชอบมักมีน้ำหนักมากกว่าคนอื่น หรือ เราอาจเชื่อเรื่องที่โกหกได้ ถ้าได้ยินบ่อยๆ เป็นประจำ

ระบบการคิดช้า  เป็นระบบที่ต้องทำการจัดสรรพลังงานในการคิดต่างๆ เพื่อนำมาใช้นึก คิด วิเคราะห์ สังเกต ตัดสินใจ และสามารถโปรแกรมให้ควบคุมการคิดเร็วได้ด้วย เช่น คอยเตือนตัวเองให้มองซ้ายขวาก่อนข้ามถนน  หรือควบคุมให้พูดจาสุภาพต่อหน้าผู้ใหญ่  รวมถึงการทำงานที่ต้องคิดวิเคราะห์หรือคำนวณ ก็จำเป็นที่จะต้องพึงระบบการคิดช้ามาใช้  แต่การคิดช้าก็มีขีดจำกัดที่ไม่สามารถคิดละเอียดพร้อมกันหลายเรื่องได้ เช่น ไม่สามารถขับรถและคำนวณเลขยากๆ ในเวลาเดียวกัน เป็นต้น

 

ไขความลับคิดเร็ว คิดช้า กับการทำงานของ\"ระบบประสาท”

 

 

คนเรามัก “คิดเร็ว”มากกว่า “คิดช้า” ...นั่นเพราะสมองของเราถูกโปรแกรมมาให้ใช้พลังงานน้อยที่สุด เหนื่อยน้อยที่สุด กระบวนการคิดเร็วจึงถูกใช้งานมากกว่าการคิดช้า และส่วนใหญ่จะใช้งานระบบคิดเร็วตลอดเวลาทั้งการมอง การเดิน การได้ยิน การขับรถ  แต่การคิดเร็วก็ทำให้เกิดความผิดพลาดและตัดสินใจด้วยอคติได้  ในขณะที่คนเราจะใช้การคิดช้าเฉพาะเรื่องสำคัญ หรือมีหน้าที่คอยย้อนมาตรวจสอบว่าเวลาที่คิดเร็วๆ นั้นถูกต้องแล้วหรือไม่  นั่นจึงเป็นสาเหตุว่าเวลามีเหตุการณ์สำคัญอะไรมากๆ มีภาวะกดดันหรือเหนื่อย สมองและระบบประสาทเราจะทำงานให้คิดหรือตัดสินใจเร็วออกไปทันที ระบบการคิดช้าจึงไม่ได้ใช้งาน ทำให้เกิดความผิดพลาดหรือสิ่งที่ไม่ถูกต้องได้นอกจากนี้ยังพบว่าคนที่อารมณ์ดีมักจะปล่อยให้ระบบคิดเร็วได้ทำงานมากกว่าคนที่กำลังอารมณ์เสีย กำลังกลัวหรือกำลังเศร้าโศกอยู่  เพราะเวลาอารมณ์ดีเรามักจะไม่ระมัดระวัง ไม่คิดถี่ถ้วน แต่หากกำลังกลัวจะมีสัญชาตญาณของการอยู่รอดทำให้ระมัดระวังตัวมากกว่านั่นเอง

...ฉะนั้นมนุษย์เราจึงต้องเตือนตัวเองและมีสติให้มากๆ ไม่ว่าจะอยู่ในภาวะไหน ต้องคิดให้ดีๆ ก่อนที่จะตัดสินใจทำอะไรลงไป เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดในชีวิตได้นะจ๊ะ...    

ขอบคุณข้อมูลจาก กรมสุขภาพจิต, PANASM.com