Lifestyle

ลดความเสี่ยงมะเร็ง - ความเสื่อมของสมอง ประโยชน์จาก"น้ำมันมะกอก"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"น้ำมันมะกอก"   คือ น้ำมันธรรมชาติที่เกิดจากการนำเอาผลแก่ของต้นมะกอก มาสกัดเอาน้ำมันจัดอยู่ในกลุ่มของน้ำมันพืช  สำหรับผู้ที่รักสุขภาพแล้วนิยมน้ำมันมะกอกนำมาใช้ในการประกอบอาหาร เพราะมีผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และทางการแพทย์บ่งบอกว่าดีต่อสุขภาพ

“น้ำมันมะกอก”จะมีสีเขียวใส สีเหลืองใสหรือใสไม่มีสี ขึ้นอยู่กับวิธีการที่นำมาผลิตน้ำมันมะกอก  ทั้งนี้น้ำมันมะกอกเป็นน้ำมันที่ดีต่อสุขภาพ เมื่อรับประทานเข้าไปจะไม่ก่อโทษในร่างกาย สามารถนำน้ำมันมะกอกมาใช้ปรุงอาหารรับประทานได้ทุกประเภท

ประโยชน์ของ "น้ำมันมะกอก"ที่มีต่อร่างกาย  ควบคุมคอเลสเตอรอล  คุณสมบัติเด่นของน้ำมันมะกอก  คือ  มีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวซึ่งมีส่วนของกรดโอเลอิก  อยู่ในปริมาณที่สูงมาก ซึ่งกรดไขมันอิ่มตัวเชิงเดี่ยว มีคุณสมบัติพิเศษที่เพิ่มปริมาณคอเรสเตอรอลชนิดดี ( HDL ) และสามารถช่วยลดคอเรสเตอรอลชนิดไม่ดี ( LDL ) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน โรความดันโลหิตสูง

 

ลดความเสี่ยงเป็นมะเร็ง "น้ำมันมะกอก"มีส่วนประกอบของสารอัลฟาโตโคฟีรอล  ในรูปของวิตามินอี สารไลโคปีน และสารกลุ่มโพลีฟีนอลที่จัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชั้นยอด ช่วยป้องกันเซลล์จากการทำลายของอนุมูลอิสระที่เข้าสู่ร่างกาย โดยสารต้านอนุมูลอิสระจะเข้าไปจับตัวกับอนุมูลอิสระทำให้ อนุมูลอิสระไม่สามารถทำลายเซลล์ที่อยู่ใกล้เคียงได้ จึงช่วยลดความเสี่ยงที่เซลล์จะเกิดการกลายพันธุ์และเจริญเติบโตเป็นเซลล์มะเร็ง  ทั้ง มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปีกมดลูกและมะเร็งลำไส้ใหญ่

 

ลดความเสื่อมของสมอง น้ำมันมะกอกช่วยเพิ่มความแข็งแรงและป้องกันไม่ให้ผนังหลอดเลือดโดนทำลาย ลดการอุดตันของเส้นเลือด จึงทำให้เลือดหมุนเวียนได้ดี โดยเฉพาะหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองและหัวใจซึ่งเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย เมื่อเลือดไหลเวียนดีออกซิเจนก็จะเข้าสู่เซลล์สมองและหัวใจ ส่งผลให้เซลล์ตามอวัยวะต่างๆ แข็งแรงขึ้น ลดความเสื่อมของเซลล์สมอง ป้องกันโรคเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม 

 

เพิ่มการดูดซึมอาหาร น้ำมันมะกอกเป็นน้ำมันที่ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้อย่างรวดเร็ว เมื่อรับประทานเข้าไปแล้ววิตามินหรือสารอาหารที่ละลายได้ในน้ำมัน ก็จะละลายเข้าไปอยู่ในน้ำมันมะกอก ดังนั้นน้ำมันมะกอกจะพาสารอาหารและแร่ธาตุเข้าสู่ร่างกายไปด้วย ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารและวิตามินที่ละลายในน้ำมันมากขึ้น เช่น วิตามินดี วิตามินเค วิตามินเอ   เพิ่มการเผาผลาญ น้ำมันมะกอกจะเข้าไปกระตุ้นกระบวนการ   ให้สามารถทำงานได้อย่างทรงประสิทธิภาพ ทำให้สามารถสลายไขมันออกจากร่างกายได้เพิ่มขึ้น ลดการสะสมของไขมันในร่างกายและยังช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

 

ป้องกันการเกิดนิ่ว น้ำมันมะกอกช่วยป้องกันการก่อตัวและการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี  น้ำมันมะกอกจะเข้าไปช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของน้ำดีให้สามารถไหลหมุนเวียนได้ดีขึ้น ลดการสะสมหรือการตกตะกอนก่อตัวเป็นนิ่วในถุงน้ำดี และยังช่วยยับยั้งการหลั่งของน้ำดีที่ผลิตจากตับ จึงช่วยลดการสะสมของน้ำดีในถุงน้ำดี   

 

ลดความเสี่ยงมะเร็ง - ความเสื่อมของสมอง ประโยชน์จาก\"น้ำมันมะกอก\"

 

ลดความเสี่ยงมะเร็ง - ความเสื่อมของสมอง ประโยชน์จาก\"น้ำมันมะกอก\"

 

ลดการอักเสบของแผลในระบบทางเดินอาหาร  น้ำมันมะกอกจะช่วยเคลือบบริเวณที่เกิดแผลในระบบทางเดินอาหาร ทั้งในกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ จึงช่วยป้องกันไม่ให้น้ำย่อยหรือกรดในกระเพาะอาหารเข้ามาทำปฏิกิริยากับแผล จนเกิดการอักเสบซ้ำซ้อน และช่วยบรรเทาอาการอักเสบด้วย

 

บำรุงเส้นผม น้ำมันมะกอกมีปริมาณของวิตามินอีและวิตามินบี  ช่วยบำรุงเส้นผมให้แข็งแรง และโมเลกุลของน้ำมันมะกอกมีความคล้ายคลึงกับน้ำมันตามธรรมชาติซึ่งมีขนาดที่เล็กทำให้ซึมซาบเข้าสู่เส้นผมและผิวหนังได้อย่างรวดเร็ว น้ำมันมะกอกจึงช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้กับเส้นผมและผิวหนังทดแทนน้ำมันตามธรรมชาติของบนเส้นผมและผิวหนังได้

 

บำรุงหัวใจ น้ำมันมะกอกมีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวอยู่มาก ช่วยลดระดับของคอเลสเตอรอล ( LDL ) ได้ ควบคุมระดับ ( LDL ) ให้ต่ำลง ช่วยให้ไขมันในเลือดลดลง ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจหรือโรคหลอดเลือดหัวใจรั่ว เป็นผลดีต่อผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย ลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ( Atrial Fibrillation ) และทำให้หัวใจทำงานได้อย่างแข็งแรงยิ่งขึ้น

 

ลดความเสี่ยงมะเร็ง - ความเสื่อมของสมอง ประโยชน์จาก\"น้ำมันมะกอก\"

 

ประเภทของน้ำมันมะกอก

1.น้ำมันมะกอกที่มีความบริสุทธิ์สูง  คือ น้ำมันมะกอกที่ผ่านการสกัดด้วยวิธีบีบ ( Expelling ) หรือ การบีบเย็น ( Cold Press ) ซึ่งการสกัดด้วยวิธีนี้จะไม่ใช้ความร้อนในการสกัดน้ำมันมะกอก ทำให้ได้น้ำมันมะกอกที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงของคุณค่าทางโภชนาการน้อยมาก น้ำมันมะกอกชนิดนี้จึงมีรสและกลิ่นของผลมมะกอกเหมือนกับผลมะกอกจริง คุณค่าทางโภชนาการและสารอาหารเหมือนผลมะกอกเกือบ 100%

 

น้ำมันมะกอกชนิดนี้เป็นน้ำมันมะกอกชนิดที่ดีที่สุด น้ำมันมะกอกชนิดนี้มีจุด Smoke Point ที่ 100 องศาเซลเซียส จึงไม่เหมาะกับการนำมาปรุงอาหาร ด้วยความร้อนสูง เพราะที่ความร้อนสูงน้ำมันมะกอกชนิดนี้จะกลายเป็นอนุมูลอิสระ  ที่เป็นสารก่อมะเร็งอีกชนิดหนึ่งซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย จึงเหมาะนำไปปรุงอาหารที่ไม่ใช้ความร้อน เช่น ทำน้ำสลัด ราดบนเนื้อสัตว์ เป็นต้น

 

2.น้ำมันมะกอกแบบบริสุทธิ์   น้ำมันมะกอกชนิดนี้ สกัดด้วยความร้อนทำให้สารอาหารบางชนิดโดนทำลายไปบ้างเล็กน้อย มีค่าความเป็นกรดต่ำไม่เกิน 1.5% จึงมีคุณภาพน้อยกว่าน้ำมันมะกอกแบบบริสุทธิ์พิเศษ และการสกัดโดยใช้ความร้อนอาจจะทำให้กลิ่นและรสของน้ำมันมะกอกที่ได้เปลี่ยนแปลงจากธรรมชาติอีกด้วย น้ำมันมะกอกชนิดนี้ไม่เหมาะกับการนำไปปรุงอาหารที่ต้องผ่านความร้อน เช่นเดียวกับน้ำมันมะกอกชนิดบริสุทธิ์พิเศษ

 

3.น้ำมันมะกอกแบบบริสุทธิ์ดี    เป็นน้ำมันมะกอกที่สกัดในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นส่วนมาก กรรมวิธีในการผลิตจะใช้ทั้งสารเคมีและความร้อนในการสกัดน้ำมันออกมาจากผลมะกอก เหมาะกับการทำอาหารที่ผ่านความร้อนน้อยหรือผ่านในระยะเวลาสั้นๆ เช่น การผัด การทำซอส  ไม่เหมาะกับการนำไปทอดเป็นเวลานาน

 

4.น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ ( Pure Olive Oil ) คือ น้ำมันมะกอกที่นิยมนำมาปรุงอาหารรับประทาน ทั้งอาหารที่ต้องผ่านความร้อน อย่างผัด ทอด และอาหารที่ไม่ต้องผ่านความร้อนอย่างการทำน้ำสลัด  เหมาะกับการปรุงอาหารที่ใช้ความร้อนสูงหรือต้องผ่านความร้อนเป็นเวลานานโดยเฉพาะการทอด แต่ไม่เหมาะกับการนำมาทำอาหารเพื่อรับประทานโดยตรง เช่น การกินกับสลัด การผสมซอส เป็นต้น

 

น้ำมันมะกอกจัดเป็นน้ำมันที่ดีต่อสุขภาพ  การบริโภคควรบริโภคให้เหมาะสมเพราะถ้ารับประทานมากเกิน 2 ช้อนโต๊ะ ต่อ วัน หรือ  2 ลิตร/สัปดาห์  อาจจะเกิดการสะสมเป็นไขมันส่วนเกินในร่างกาย ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อสุขภาพ  

***เรียบเรียงข้อมูลจาก  https://amprohealth.com/

 

 

ลดความเสี่ยงมะเร็ง - ความเสื่อมของสมอง ประโยชน์จาก\"น้ำมันมะกอก\"

 

ลดความเสี่ยงมะเร็ง - ความเสื่อมของสมอง ประโยชน์จาก\"น้ำมันมะกอก\"

 

ลดความเสี่ยงมะเร็ง - ความเสื่อมของสมอง ประโยชน์จาก\"น้ำมันมะกอก\"

 

ลดความเสี่ยงมะเร็ง - ความเสื่อมของสมอง ประโยชน์จาก\"น้ำมันมะกอก\"

ขอขอบคุณภาพจาก https://pixabay.com/th

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ