Lifestyle

นศ.มอง 6 ทัศนคติที่เป็นปัญหาต่อการศึกษาไทย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

นิสิตนักศึกษาเสนอ 6 ทัศนคติที่เป็นปัญหาต่อการพัฒนาการศึกษาไทย ในโครงการ" รีดีไซนิ่ง ไทยแลนด์" ของทีดีอาร์ไอ

      สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ) จัดโครงการ Redesigning Thailand โดยจัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 ด้วยชื่องานว่า Redesigning Thailand #4 " เปิดแคมป์จับระบบการศึกษามาปรับทัศนคติ" เป็นการตั้งโจทย์มุ่งเชิญชวนนิสิตนักศึกษาคิดออกแบบนโยบายเพื่อการพัฒนาการศึกษาไทยด้วยคำถามว่า "ทัศนคติทางการศึกษาเรื่องใดที่เป็นปัญหาต่อการพัฒนาการศึกษาไทยและจะใช้มาตรการหรือนโยบายใด เพื่อการปรับทัศนคติทัศนคติการศึกษาไทยให้ดีขึ้น"

         มีทีมที่ผ่านเข้าสู่รอบตัดสินจำนวน 6 ทีมจากทั้งหมด 10 ทีม โดยทีมที่ชนะเลิศ ได้แก่ ทีมที่นำเสนอเรื่อง ทัศนคติ เด็กดีต้องเชื่อฟังครู ประกอบด้วยนายสิรภพ ลู่โรจน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายพงศรากร ปาแก้ว คณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และน.ส.วรลักษณ์ ภักตร์อำไพ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ

นศ.มอง 6 ทัศนคติที่เป็นปัญหาต่อการศึกษาไทย     

         สำหรับทัศนคติที่นิสิตนักศึกษามีการนำเสนอต้องการให้มีการปรับ ใน 6 เรื่องของทีมที่ผ่านเข้ารอบตัดสิน ได้แก่ 1.ทัศนคติ การศึกษาที่ดี มาจากอำนาจและการรวมศูนย์ ของนักศึกษาจากคณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สาขามีเดีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และคณะวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์กำลัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ      

         2.ทัศนคติการบริหารจัดการศึกษาที่ดีมาจากส่วนกลาง จากนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ และคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 3. ทัศนคติต่อการเรียนอาชีวะ ทีมจากคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

     4.ทัศนคติเรียนไปก็ไม่ได้ใช้ทีมจากคณะเศรษฐศาสตร์ และคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   5.ทัศนคติครูคือผู้นำของการเรียนรู้ในห้องเรียนทีมจากคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ6.ทัศนคติเด็กดีต้องเชื่อฟังครู ทีมจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย     

นศ.มอง 6 ทัศนคติที่เป็นปัญหาต่อการศึกษาไทย

        ทั้งนี้ โครงการได้สร้างแรงขับเคลื่อนและแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่ที่มุ่งมั่นมีส่วนช่วยแก้ไขและพัฒนาประเทศได้เห็นพลังความสามารถของตัวเอง อีกทั้ง ข้อคิดเห็นจากคณะกรรมการและคำปรึกษาจากนักวิจัยทีดีอาร์ไอ ก็มีส่วนได้ช่วยต่อยอดทางความรู้ด้านงานวิจัยและวิชาการที่นิสิต นักศึกษาจะนำไปปรับใช้ได้ในอนาคตต่อไป    

         นางปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร ผู้จัดการมูลนิธิสยามกัมมาจล หนึ่งในคณะกรรมการ กล่าวว่า ทีมที่ชนะเลิศเนื่องจากเป็นการนำเสนอที่พูดถึงกระบวนการเรียนรู้ที่ชัดเจน เห็นเป็นรูปธรรรมการดำเนินการ คือ นำรูปแบบของละครเพื่อการศึกษา หรือ drama in education มาใช้ให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และได้ผลในการสร้างทักษะและองค์ความรู้ให้กับเด็ก

      อีกทั้ง เสนอชัดเจนว่ากระทรวงศึกษาธิการต้องปรับอย่างไร ครูต้องปรับอย่างไร สถาบันอื่นต้องเชื่อมโยงอย่างไร และสามารถดำเนินการได้จริง เกิดขึ้นได้  เนื่องจากประเทศสิงคโปร์ใช้รูปแบบนี้เป็นแนวทางในการปฏิรูปการศึกษารอบที่ 2

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ