"สินเชื่อออมสิน 2564" กู้ฉุกเฉินช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม สนใจรายละเอียดคลิก
รวมมาให้แล้ว 3 สินเชื่อ ธนาคาร "สินเชื่อออมสิน 2564" ช่วยเหลือผู้ประสบภัย น้ำท่วม จากพายุเตี้ยนหมู่ มีทั้งสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ - สินเชื่อเคหะแก่ผู้ประสบภัยพิบัติ - สินเชื่อเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของ SMEs ที่ประสบภัยพิบัติ
วันที่ 4 ตุลาคม 2564 ธนาคาร "ออมสิน" ออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประสบภัย "น้ำท่วม" จากพายุ "เตี้ยนหมู่" สำหรับประชาชนและกลุ่ม SMEs โดยรายละเอียด "สินเชื่อ" ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยทั้ง 3 สินเชื่อ สินเชื่อเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ , สินเชื่อเคหะแก่ผู้ประสบภัยพิบัติ และสินเชื่อเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของ SMEs ที่ประสบภัยพิบัติ มีดังนี้
1. สินเชื่อเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ
วงเงินกู้ : ไม่เกินรายละ 50,000 บาท
อัตราดอกเบี้ย
- ปีที่ 1 = 0% ต่อเดือน
- ปีที่ 2-5 = 0.85% ต่อเดือน
ปลอดชำระคืนเงินใน 3 งวดแรก ระยะเวลาผ่อนชำระ 3-5 ปี
คุณสมบัติ ผู้ขอสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ
- เป็นผู้ประสบปัญหาจากภัยพิบัติ เช่น อุทกภัย วาตภัย แผ่นดินไหว ภัยแล้ง ภัยหนาว และรวมถึงผู้ประสบอัคคีภัย
- มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และเมื่อรวมอายุผู้กู้กับระยะเวลาที่ชำระเงินกู้ต้องไม่เกิน 65 ปี
- เป็นผู้มีถิ่นที่อยู่แน่นอน สามารถติดต่อได้
- ไม่เป็นลูกจ้าง พนักงาน ผู้บริหาร หรือกรรมการของธนาคารออมสิน
หลักประกัน
"กรณีใช้บุคคลค้ำประกัน"
- มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และเมื่อรวมอายุผู้ค้ำประกันกับระยะเวลาที่ชำระเงินกู้ต้องไม่เกิน 65 ปี
- เป็นผู้มีถิ่นที่อยู่แน่นอน สามารถติดต่อได้
- ค้ำประกันผู้กู้ได้ ไม่เกิน 2 คน
- เป็นผู้มีอาชีพและรายได้แน่นอน ตั้งแต่เดือนละ 9,000 บาทขึ้นไป ไม่น้อยกว่า 1 คน
"หลักประกันประเภทอื่น" สามารถใช้หลักประกันที่เป็นของผู้กู้ หรือของบุคคลอื่นที่ยินยอมให้ใช้ค้ำประกันได้ ดังนี้
1.สมุดฝากเงินออมสินและหรือสลากออมสินพิเศษ
- ให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 95 ของจำนวนเงินฝากคงเหลือในสมุดฝากเงินออมสิน หรือให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 95 ของมูลค่าสลากออมสินพิเศษ
2.อสังหาริมทรัพย์ ตั้งอยู่ในแหล่งชุมชนที่มีความเจริญ มีไฟฟ้าสาธารณูปโภคอื่นๆ ตามความจำเป็น และมีทางสาธารณประโยชน์ซึ่งสามารถเข้า-ออกได้สะดวก โดยให้กู้ได้ ดังนี้
- ไม่เกินร้อยละ 80 ของราคาประเมินที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง
- ไม่เกินร้อยละ 70 ของราคาประเมินที่ดินว่างเปล่าหรือห้องชุด
- ไม่เกินร้อยละ 60 ของราคาประเมินที่ดินที่เป็นที่สวน ที่ไร่ ที่นา
บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)
โครงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการ Micro Entrepreneurs ค้ำประกัน โดยธนาคารเป็นผู้จ่ายค่าธรรมเนียมค้ำประกันในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี ของภาระค้ำประกันให้แก่ผู้กู้ตั้งแต่ปีที่ 2 เป็นต้นไป ตลอดอายุสัญญา
รายละเอียดคลิก www.gsb.or.th
2.สินเชื่อเคหะแก่ผู้ประสบภัยพิบัติ
วงเงินกู้ : ไม่เกินรายละ 1 ล้านบาท
อัตราดอกเบี้ย
- ปีที่ 1 = 0% ต่อปี
- ปีที่ 2-3 = 3.00% ต่อปี
- ปีที่ 4 = MRR-0.75% ต่อปี
ระยะเวลาผ่อนชำระ สูงสุดไม่เกิน 40 ปี
จำนวนเงินให้กู้ : ให้กู้ได้ร้อยละ 100 ของราคาประเมินอาคารในส่วนที่จะต่อเติมหรือซ่อมแซม และไม่เกิน 1,000,000 บาท ทั้งนี้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขการให้สินเชื่อเคหะ กรณีกู้เพื่อจัดหาที่อยู่อาศัย
คุณสมบัติ ผู้ขอสินเชื่อเคหะแก่ผู้ประสบภัยพิบัติ
- มีอายุครบ 20 ปีขึ้นไป เมื่อรวมอายุผู้กู้กับระยะเวลาที่ชำระเงินกู้ต้องไม่เกิน 65 ปี (ยกเว้น เจ้าของกิจการที่สามารถพิสูจน์รายได้ที่แน่นอน เมื่อรวมอายุผู้กู้กับระยะเวลาที่ชำระเงินกู้ต้องไม่เกิน 70 ปี)
- มีอาชีพและรายได้แน่นอน
- เป็นลูกค้ารายเดิมหรือลูกค้ารายใหม่ที่ได้รับความเดือดร้อนจากภัยพิบัติ
- กรณีลูกค้าสินเชื่อเคหะเดิมที่มีหนี้ค้างชำระ ให้ชำระยอดค้างทั้งหมดก่อนเข้าร่วมมาตรการ
หลักประกัน : ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามวัตถุประสงค์การขอกู้ ที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ประกาศภัยพิบัติ
การจ่ายเงินกู้ : จ่ายเงินกู้งวดเดียวเมื่อต่อเติมซ่อมแซมที่อยู่อาศัยแล้วเสร็จ หรือแบ่งจ่ายเป็นงวดตามผลการปลูกสร้างหรือต่อเติมซ่อมแซมก็ได้ตามความต้องการของผู้กู้
รายละเอียดคลิก www.gsb.or.th
3. สินเชื่อเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของ SMEs ที่ประสบภัยพิบัติ
วงเงินกู้ : สูงสุด 10% ของวงเงินกู้เดิม แต่ไม่เกิน 5 ล้านบาท
อัตราดอกเบี้ย
- ปีที่ 1 = 3.50% ต่อปี
- ปีที่ 2 เป็นต้นไป = MLR ต่อปี
ระยะเวลาชำระคืนเงินกู้
- ผ่อนชำระเป็นงวดรายเดือน สูงสุดไม่เกิน 5 ปี (60 งวด)
- ปลอดชำระเงินต้นได้ไม่เกิน 1 ปี และชำระดอกเบี้ยทุกเดือน
จำนวนเงินให้กู้ : พิจารณาตามความจำเป็นและความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้ โดยกำหนดวงเงินกู้ต่อรายสูงสุดร้อยละ 10 ของวงเงินกู้สินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจเดิมทุกประเภท สูงสุดไม่เกินรายละ 5,000,000 บาท
คุณสมบัติ ผู้กู้สินเชื่อเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของ SMEs ที่ประสบภัยพิบัติ
- เป็นลูกค้าสินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจเดิมของธนาคาร
-สินเชื่อระยะยาว ไม่มีหนี้ค้างชำระในวันที่ขอกู้เงิน
-สินเชื่อระยะสั้น ปฏิบัติตามเงื่อนไขของสัญญากู้เงิน
- สามารถยื่นกู้ได้ที่ธนาคารออมสินสาขา/หน่วยงานเจ้าของบัญชีสินเชื่อเดิม
- เป็นผู้ประกอบการในพื้นที่ประสบภัยพิบัติ และได้รับผลกระทบ
รายละเอียดคลิก www.gsb.or.th