เด่นโซเชียล

ลูกจ้าง "ตกงาน" ว่างงาน ขอรับ "เงินชดเชย" ได้สูงสุด 70 % เช็คขั้นตอนที่นี่

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ประกันสังคม "จ่ายชดเชย" กรณีลูกจ้าง "ตกงาน" ว่างงานยื่นเรื่องรับเงินได้ สูงสุด 70 % นาน 200 วัน ตรวจสอบรายละเอียดและเงื่อนไขที่นี่

สำนักงานประกันสังคมอัปเดตสิทธิที่พนักงานและลูกจ้างพึงจะได้รับจากกรณีตกงาน ว่างงาน และถูกเลิกจ้างที่เป็นผลกระทบมาจากการระบาดของโควิด-19 สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 โดยมีรายละเอียดดังนี้

ผู้ที่จะได้สิทธิประกันสังคมหรือเงินชดเชย ประกันสังคมในกรณีลาออก หรือว่างงาน หรือ โดนเลิกจ้าง เพราะได้รับผลกระทบจากโควิด-19

1. ว่างงาน ด้วยเหตุสุดวิสัย

  • ไม่ได้ทำงาน หรือนายจ้างไม่ให้ทำงาน จ่าย 50% เป็นระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน
  • หน่วยงานภาครัฐ มีคำสั่งให้หยุดกิจการชั่วคราว จ่าย 50% เป็นระยะเวลาไม่เกิน 60 วัน

2. ว่างงาน จากการลาออกหรือเลิกจ้าง

  • ว่างงาน จากการลาออก จ่าย 45% เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน
  • ว่างงาน จากกรณีเลิกจ้าง จ่าย 70% เป็นระยะเวลาไม่เกิน 200 วัน

3. ลดภาระนายจ้างและผู้ประกันตน

  • ลดอัตราเงินสมทบนายจ้าง และผู้ประกันตน 4% เป็นระยะเวลา 6 เดือน

และยังมีมาตรการขยายเวลาส่งเงินสมทบของนายจ้าง และผู้ประกันตนมาตรา 33, 39 งวดค่าจ้างเดือน มี.ค. - พ.ค. 63 ออกไปอีก 3 เดือน

  • งวดค่าจ้างเดือน มี.ค. เลื่อนส่งได้ ภายใน 15 ก.ค. 63
  • งวดค่าจ้างเดือน เม.ย. เลื่อนส่งได้ ภายใน 15 ส.ค. 63
  • งวดค่าจ้างเดือน พ.ค. เลื่อนส่งได้ ภายใน 15 ก.ย. 63

ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนเพื่อการเบิกสิทธิประกันสังคมและผู้ประกันตนกรณีว่างงาน

ต้องจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 เดือน ในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน เช่น หากว่างงานในเดือนเมษายน 2563 ต้องนับระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงานคือ เดือนธันวาคม 2561 ถึง เดือนมีนาคม 2563 ซึ่งจะต้องมีการจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 เดือนขึ้นไปในช่วงเดือนธันวาคม 2561 ถึงเดือนมีนาคม 2563 จากนั้นสามารถไปขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงานเพื่อการเบิกสิทธิประกันสังคมได้ที่สำนักงานประกันสังคมใกล้บ้านภายใน 30 วัน เพื่อแสดงสิทธิ์ โดยไม่จำเป็นต้องรอหนังสือรับรองการออกจากงาน เพราะหากไปช้ากว่า 30 วัน จะไม่ได้รับสิทธิประกันสังคมทดแทนกรณีว่างงานนั่นเอง

แต่ในสถานการณ์ปัจจุบัน ด้วยความที่ควรหลีกเลี่ยงการออกจากบ้าน เพราะจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการติดโควิด-19 คุณสามารถขึ้นทะเบียนแบบออนไลน์ง่าย ๆ เพื่อการเบิกสิทธิประกันสังคมตามขั้นตอนดังต่อไปนี้เลย

  • เข้าเว็บไซต์ของกรมการจัดหางาน empui.doe.go.th 
  • “ลงทะเบียนเข้าใช้งาน” สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยขึ้นทะเบียนว่างงาน และยังไม่มีรหัสผ่านเข้าใช้ระบบ
  • ทำตาม 4 ขั้นตอนให้ครบถ้วนเพื่อเบิกสิทธิประกันสังคม
  • ผู้ประกันตนฯ จะได้รับหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน และวันที่นัดรายงานตัวของผู้ประกันตนสำหรับการเบิกสิทธิประกันสังคม ซึ่งสามารถพิมพ์ออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ได้

ลูกจ้าง "ตกงาน" ว่างงาน ขอรับ "เงินชดเชย" ได้สูงสุด 70 % เช็คขั้นตอนที่นี่

ลูกจ้าง "ตกงาน" ว่างงาน ขอรับ "เงินชดเชย" ได้สูงสุด 70 % เช็คขั้นตอนที่นี่

 

พิมพ์เอกสาร ดังนี้

  • ใบนัดรายงานตัว
  • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงาน (สปส.2-01/7)

ลูกจ้าง "ตกงาน" ว่างงาน ขอรับ "เงินชดเชย" ได้สูงสุด 70 % เช็คขั้นตอนที่นี่

นำเอกสารไปยื่นเพื่อการเบิกสิทธิประกันสังคมที่สำนักประกันสังคม ดังนี้

  • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงาน (สปส.2-01/7) ที่กรอกรายละเอียดครบถ้วน
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ประกันตน
  • สำเนาสมุดบัญชีธนาคารที่เป็นชื่อผู้ประกันตน

ทั้งนี้ การพิจารณาการได้สิทธิประกันสังคมทดแทนกรณีว่างงาน กรณีถูกเลิกจ้างหรือลาออก จะเป็นหน้าที่ของสำนักงานประกันสังคม โดยสำนักงานประกันสังคมจะทำการโอนเงินทดแทนการขาดรายได้ตามสิทธิประกันสังคมให้ผู้ประกันตน ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน เดือนละ 1 ครั้ง

 

 

ช่องทางในการยื่นเอกสารขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนเพื่อรับเงินชดเชยประกันสังคมกรณีลาออกหรือว่างงานมีดังนี้

  1. ยื่นด้วยตนเอง ณ สำนักงานประกันสังคมได้ทั่วประเทศ
  2. ส่งเอกสารทางไปรษณีย์ตอบรับ
  3. ส่งทางโทรสาร (FAX) ของสำนักงานประกันสังคมพื้นที่/จังหวัด/สาขา
  4. ส่งทาง e-mail หรือสำนักงานประกันสังคมพื้นที่จังหวัด/สาขากำหนด
  5. ส่งทางไลน์ที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่/จังหวัด/สาขากำหนด

และสามารถสอบถามข้อมูลสิทธิประกันสังคมได้ที่ https://www.sso.go.th หรือโทร. 1506 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ