เด่นโซเชียล

เปิดงานวิจัย "เข็มกระตุ้น" ฉีดเข้าชั้นผิวหนัง ภูมิคุ้มกันดี ผลข้างเคียงต่ำ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กรมวิทย์ฯร่วมกับ มอ. เปิดผลศึกษาการฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็ม 3 ฉีดเข้าชั้นผิวหนังสร้างภูมิคุ้มกันได้ดี พอกับฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ด้านผลข้างเคียงทางร่างกายต่ำ ด้านผิวหนัง พบหายได้เองใน 7วัน

นพ.ศุภกิจ  ศิริลักษณ์  อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวในการแถลงข่าวผลการวิจัยภูมิคุ้มกันและความปลอดภัยจากการได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นเข้าใต้ผิวหนังว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) ด้วยการสนับสนุนของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ผ่านบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ศึกษาการทดสอบภูมิคุ้มกันและความปลอดภัยจากการได้รับวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 ทำการศึกษาในกลุ่มประชากรที่ได้รับการฉีดวัคซีนซิโนแวคแล้ว 2 เข็ม และกระตุ้นเข็ม 3 เป็นวัคซีนแอสตร้าเซนเนกา อายุระหว่าง 18 – 60 ปี จำนวน 95 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกฉีดวัคซีนแอสตราเซนเนกา 1 โดส (0.5 ml.)เข้ากล้ามเนื้อ จำนวน 30 คน กลุ่มที่ 2 ฉีดวัคซีนแอสตราเซนเนกา 1/5 โดส (0.1 ml.) ฉีดเข้าในผิวหนัง จำนวน 31 คน(ระยะศึกษา 4-8 สัปดาห์) และกลุ่ม 3 ฉีดวัคซีนแอสตราเซนเนกา 1/5 โดส (0.1 ml.)ฉีดเข้าในผิวหนัง  จำนวน 34 คน (ระยะศึกษา 8-12 สัปดาห์)โดยทำการศึกษาจากการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกัน (Antibody responses) และการตอบสนองของทีเซลล์ (T cell responses) 

เปิดงานวิจัย "เข็มกระตุ้น" ฉีดเข้าชั้นผิวหนัง ภูมิคุ้มกันดี ผลข้างเคียงต่ำ

 

โดยผลการศึกษา 14 วันหลังจากได้รับการกระตุ้นวัคซีนเข็มที่ 3 พบว่า กลุ่มที่ 1 ฉีดวัคซีนแอสตราเซนเนกา 1 โดส เข้ากล้ามเนื้อ ระดับภูมิคุ้มกันเพิ่มสูงขึ้นเป็น 1,652 AU (Arbitrary Unit ) ส่วนกลุ่มที่ 2 และ 3 ฉีดวัคซีนแอสตราเซนเนกา 1/5 โดส ฉีดเข้าในผิวหนัง ระดับภูมิคุ้มกันเพิ่มสูงขึ้นเป็น 1,300.5 AU (Arbitrary Unit )  จากเดิมหลังฉีดวัคซีนซิโนแวค 2 เข็มระดับภูมิคุ้มกันอยู่ที่ 128.7 AU (Arbitrary Unit ) 

เปิดงานวิจัย "เข็มกระตุ้น" ฉีดเข้าชั้นผิวหนัง ภูมิคุ้มกันดี ผลข้างเคียงต่ำ

 

 

นอกจากนี้ระดับภูมิคุ้มกันในการยับยั้งการเข้าสู่เซลล์ของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา การกระตุ้นเข็ม 3 ด้วยวัคซีนแอสตราเซนเนกาฉีดเข้าในผิวหนังสามารถยับยั้งได้ถึง 234.4 AU (Arbitrary Unit )  จากเดิมที่ฉีดซิโนแวค 2 เข็ม ยับยั้งได้ 16.3 AU (Arbitrary Unit ) ส่วนการตอบสนองของเซลล์เม็ดเลือดขาวหรือทีเซลล์ต่อโปรตีนหนามแหลมของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งมีหน้าที่สู้กับไวรัสเมื่อไวรัสเข้าสู่เซลล์แล้ว พบว่า ทั้งสามกลุ่มมีการทำงานของทีเซลล์ต่อโปรตีนหนามแหลมที่ดีขึ้นกว่าเดิมที่ฉีดซิโนแวค 2 เข็ม

เปิดงานวิจัย "เข็มกระตุ้น" ฉีดเข้าชั้นผิวหนัง ภูมิคุ้มกันดี ผลข้างเคียงต่ำ

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวด้วยว่า สำหรับอาการข้างเคียง 7 วันหลังการได้รับวัคซีนเข็มที่ 3 พบว่า การฉีดในผิวหนังจะมีอาการแดง บวมและคัน มากกว่าการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ส่วนการฉีดเข้ากล้ามเนื้อจะมีอาการปวดเมื่อย ปวดศรีษะ อ่อนเพลียและหนาวสั่นมากกว่าการฉีดในผิวหนัง ข้อดีของการฉีดวัคซีนเข้าในผิวหนังคือ มีคนที่ได้รับวัคซีนเป็นไข้ในอัตราส่วนที่ลดลงเมื่อเทียบกับการฉีดวัคซีนเข้ากล้าม โดยที่ยังกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีพอๆกัน เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงวัคซีนเพราะใช้วัคซีนปริมาณน้อยกว่าการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

เปิดงานวิจัย "เข็มกระตุ้น" ฉีดเข้าชั้นผิวหนัง ภูมิคุ้มกันดี ผลข้างเคียงต่ำ

นายแพทย์ สุรัคเมธ มหาสิริมงคล ผู้อำนวยการสถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวด้วยว่า สำหรับผลข้างเคียงที่ทำให้เกิดไข้ในกลุ่มที่ฉีดเข้ากล้ามจะพบอยู่ในปริมาณ 30%ซึ่งการฉีดเข้าในชั้นผิวหนังพบอาการไข้เพียง 5% ซึ่งน้อยกว่ามากถ้าในอนาคตกันอันใกล้มีการพิสูจน์ได้ว่าการฉีดในคนที่มากขึ้นในหลักหมื่นไม่พบผลข้างเคียงรุนแรงที่

เฉพาะที่การฉีดเข้าในชั้นผิวหนังก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีในแง่ของความปลอดภัยด้วย

 

 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ