เด่นโซเชียล

"น้ำท่วม" 9 จังหวัดยังอ่วม ปภ. เตือนพื้นที่เฝ้าระวัง ท่วมฉับพลัน - น้ำป่าหลาก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"น้ำท่วม" 9 จังหวัดยังอ่วม ปภ. รายงานล่าสุด เตือนพื้นที่เฝ้าระวัง น้ำท่วมฉับพลัน - น้ำป่าหลาก - น้ำล้นตลิ่ง และพื้นที่ที่ยังคงมีฝนฟ้าคะนอง

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย "ปภ." รายงานสถานการณ์ ข้อมูลคาดการณ์และแจ้งเตือนภัย "น้ำท่วม" ประจำวันที่ 17 กันยายน 2564 เมื่อเวลา 09.00 น. พื้นที่เฝ้าระวัง น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และพื้นที่ที่มีฝนฟ้าคะนอง 

 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

พื้นที่เฝ้าระวัง น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก 

-ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ (อ.จอมทอง แม่แจ่ม) และตาก (อ.เมืองฯ แม่สอด สามเงา แม่ระมาด บ้านตาก วังเจ้า พบพระ)

 

พื้นที่เฝ้าระวัง น้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง

-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.เลย (อ.เมืองฯ) นครราชสีมา (อ.โชคชัย พิมาย) ชัยภูมิ (อ.เมืองฯ) และขอนแก่น (อ.ชุมแพ) 

-ภาคกลาง จ.พระนครศรีอยุธยา (อ.เสนา ผักไห่ บางบาล) และปราจีนบุรี (อ.กบินทร์บุรี)

 

พื้นที่ที่มีฝนฟ้าคะนอง

-ภาคเหนือ จ.แม่ฮ่องสอน เชียงราย น่าน นครสวรรค์ และอุทัยธานี 

-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.เลย ชัยภูมิ นครราชสีมา หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม และบุรีรัมย์ 

-ภาคกลาง จ.พระนครศรีอยุธยา ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง กาญจนบุรี ราชบุรี นครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

-ภาคใต้ จ.สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง ตรัง และสตูล 

 

ขอให้ประชาชนติดตามข้อมูลสภาวะอากาศและข่าวสารจากทางราชการ พื้นที่เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ฝนตกหนัก ปริมาณฝนสะสม โดยเฉพาะพื้นที่ชุมชนเมือง อาจได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมขังระยะสั้น ๆ พื้นที่ลุ่มต่ำ พื้นที่ลาดเชิงเขา อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก พื้นที่ริมลำน้ำ อาจได้รับผลกระทบจากน้ำล้นตลิ่งและน้ำท่วมในระดับสูง ระวังอันตรายจากสัตว์และแมลงมีพิษ อันตรายจากกระแสไฟฟ้า รวมทั้งการขับขี่พาหนะบริเวณน้ำไหลผ่านเส้นทาง 

 

"น้ำท่วม" 9 จังหวัดยังอ่วม ปภ. เตือนพื้นที่เฝ้าระวัง ท่วมฉับพลัน - น้ำป่าหลาก

 

 

ทั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย "ปภ." ยังรายงานสถานการณ์อุทกภัย "น้ำท่วม" รวม 29 จังหวัด โดยสถานการณ์ตอนนี้เริ่มคลี่คลายแล้ว แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังบางพื้นที่ พร้อมเร่งช่วยเหลือผู้ประสบภัย 

 

วันนี้(17 ก.ย.64) เมื่อเวลา 09.20 น. "ปภ." รายงานในช่วงวันที่ 7 - 17 ก.ย. 2564 เกิดอุทกภัยใน 29 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่, แม่ฮ่องสอน, แพร่, ลำพูน, ลำปาง, สุโขทัย, ตาก, พิษณุโลก, เพชรบูรณ์, กำแพงเพชร, พิจิตร, นครสวรรค์, เลย, ชัยภูมิ, นครราชสีมา, อุบลราชธานี, ปราจีนบุรี, สระแก้ว, ชลบุรี, จันทบุรี, ระยอง, ตราด, ลพบุรี, พระนครศรีอยุธยา, นครนายก, สมุทรปราการ, ระนอง, กระบี่, และตรัง รวม 110 อำเภอ 265 ตำบล 913 หมู่บ้าน 2 เขตเทศบาล ประชาชนได้รับผลกระทบ 16,725 ครัวเรือน 

 

และมีผู้เสียชีวิต 2 ราย สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 20 จังหวัด ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ใน 9 จังหวัด ภาพรวมสถานการณ์หลายพื้นที่เริ่มคลี่คลายแล้ว แต่ยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ ซึ่ง ปภ.ได้ร่วมกับจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่สำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือประชาชนต่อไป 

 

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย "ปภ." ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงานจากอิทธิพลร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุม ทะเลอันดามันและภาคใต้ฝั่งตะวันตก ทำให้บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ 

 

สำหรับคลื่นลมในทะเลอันดามันตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น และจากอิทธิพล "พายุโกนเซิน" ตั้งแต่วันที่ 7 ก.ย. 2564 - ปัจจุบัน (17 ก.ย.2564 เวลา 06.00 น.) ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินสไลด์ ในพื้นที่ 29 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่, แม่ฮ่องสอน, แพร่, ลำพูน, ลำปาง, สุโขทัย, ตาก, พิษณุโลก, เพชรบูรณ์, กำแพงเพชร, พิจิตร, นครสวรรค์, เลย, ชัยภูมิ, นครราชสีมา, อุบลราชธานี, ปราจีนบุรี, สระแก้ว, ชลบุรี, จันทบุรี, ระยอง, ตราด, ลพบุรี, พระนครศรีอยุธยา, นครนายก, สมุทรปราการ, ระนอง, กระบี่ และตรัง รวม 110 อำเภอ 265 ตำบล 913 หมู่บ้าน 2 เขตเทศบาล ประชาชนได้รับผลกระทบ 16,725 ครัวเรือน ผู้เสียชีวิต 2 ราย สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 20 จังหวัด 

 

ปัจจุบันยังคงมี "น้ำท่วม" ใน 9 จังหวัด รวม 37 อำเภอ 10 ตำบล/เทศบาลตำบล ได้แก่ 

 

-เลย น้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองเลย และอำเภอวังสะพุง รวม 2 ตำบล ระดับน้ำลดลง 

 

-ตาก น้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองตาก อำเภอบ้านตาก และอำเภอแม่สอด รวม 7 ตำบล ประชาชนได้รับผลกระทบ4,208 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง 

-พิษณุโลก น้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพรหมพิราม อำเภอวังทอง และอำเภอเนินมะปราง รวม 10 ตำบล ประชาชนได้รับผลกระทบ 234 ครัวเรือน ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ อำเภอเนินมะปราง 

 

-กำแพงเพชร น้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพรานกระต่าย อำเภอลานกระบือ และอำเภอเมืองกำแพงเพชร รวม 4 ตำบล ประชาชนได้รับผลกระทบ 71 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง 

 

-พิจิตร น้ำท่วมขังในพื้นที่ 10 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองพิจิตร อำเภอวังทรายพูน อำเภอวชิรบารมี อำเภอสามง่าม อำเภอทับคล้อ อำเภอโพทะเล อำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอดงเจริญ อำเภอสากเหล็ก และอำเภอบึงนาราง รวม 35 ตำบล 190 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 688 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง 

 

-ปราจีนบุรี น้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกบินทร์บุรี และอำเภอศรีมหาโพธิ รวม 6 ตำบล ประชาชนได้รับผลกระทบ 890 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลงเล็กน้อย 

 

-เพชรบูรณ์ เกิดน้ำไหลหลากและน้ำล้นตลิ่งในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอหล่มเก่า อำเภอหล่มสัก และอำเภอน้ำหนาว รวม 16 ตำบล ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,545 ครัวเรือนยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ อ.หล่มสัก ระดับน้ำลดลง 

 

-พระนครศรีอยุธยา น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอผักไห่ อำเภอเสนา และอำเภอบางบาล รวม 7 ตำบล ประชาชนได้รับผลกระทบ 602 ครัวเรือน ระดับน้ำยังเพิ่มขึ้น 

 

-นครราชสีมา น้ำท่วมขังในพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอด่านขุนทด อำเภอสูงเนิน อำเภอโนนสูง อำเภอปักธงชัย อำเภอโนนไทย อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอพิมาย และอำเภอโชคชัย รวม 13 ตำบล / เทศบาลตำบล ประชาชนได้รับผลกระทบ 499 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง 

 

ซึ่งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ประสานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยสำรวจและประเมินความเสียหาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลัง ฯ สำหรับประชาชนสามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ "ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784" โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ